การดูแลสตรีที่เป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
สตรีตั้งครรภ์, เบาหวานขณะตั้งครรภ์, การดูแลบทคัดย่อ
เบาหวานในระยะตั้งครรภ์เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดของหญิงตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น ภาวะนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก ค่าน้ำตาลในเลือดที่สูงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ซึ่งอาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้ สตรีตั้งครรภ์อาจเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด คลอดติดขัด ตกเลือดหลังคลอด และติดเชื้อหลังคลอด ส่วนทารกอาจมีภาวะตัวโตกว่าปกติ น้ำตาลในเลือดต่ำ เลือดข้น บิลลิรูบินในเลือดสูงและตายในครรภ์ ดังนั้นสตรีตั้งครรภ์ทุกคนควรได้รับการคัดกรองเบาหวาน ด้วยการซักประวัติ การประเมินปัจจัยเสี่ยงทางคลินิก และการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งนี้สตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงควรได้รับการคัดกรองเบาหวานตั้งแต่ครั้งแรกของการมาฝากครรภ์ หรือเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หากผลการคัดกรองเบาหวานครั้งแรกปกติควรได้รับการคัดกรองเบาหวานอีกครั้งเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์ สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรดูแลตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสมในเรื่องโภชนาการ การควบคุมระดับน้ำตาล การออกกำลังกาย การใช้ยาควบคุมเบาหวาน และติดตามการตรวจรักษา เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดและระยะหลังคลอดควรเฝ้าระวังอาการน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูง ป้องกันการติดเชื้อ และสังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีสุขภาพดีด้วยการลดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น จุดประสงค์ของบทความวิชาการนี้ คือเพื่อนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ และแนวทางการดูแลสตรีตั้งครรภ์กลุ่มนี้
References
ชญาดา เนตรกระจ่าง. (2560). การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการภาวะเบาหวานของหญิงตั้งครรภ์. วารสารศูนย์การแพทย์ศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 36(2), 168-177.
นันทพร แสนศิริพันธ์. (2561). การพยาบาลสตรีที่มีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม. ใน นันทพร แสนศิริพันธ์, และฉวี เบาทรวง (บรรณาธิการ), การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน (พิมพ์ครั้งที่ 2, น. 71-83). เชียงใหม่: สมาร์ท โคตรติ้ง แอน เซอร์วิส.
ประภัทร วานิชพงษ์พันธ์, กุศล รัศมีเจริญ, และตรีภพ เลิศบรรณาพงษ์. (2560). ตำราสูติศาสตร์. กรุงเทพฯ: พี. เอ. ลีพวิ่ง.
ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์, จงลักษณ์ ทวีแก้ว, และกรศศิร์ ชิดดี. (2563). แนวทางการให้ความรู้ก่อนการถือศีลอดแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวาน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(3), 361-375.
ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, อภิธาน พวงศรีเจริญ, และอรพรรณ พินิจเลิศสกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test ผิดปกติ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(2), 58-69.
ปิยะพร ศิษย์กุลอนันต์, และพรสวรรค์ คำทิพย์. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองและการติดตามด้วยแอปพลิเคชั่น LINE ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายแกว่งแขน และระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์.วารสารสภาการพยาบาล, 35(2), 52-69.
ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี. (2562). การพยาบาลสตรีที่มีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม. ใน บังอร ศุภวิฑิตพัฒนา, และปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี (บรรณาธิการ), การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน (พิมพ์ครั้งที่ 1, น. 101-215). เชียงใหม่: สมาร์ท โคตรติ้ง แอน เซอร์วิส.
พรธรรมรส โพธิ, จรัสศรี ธีระกุลชัย, จันทิมา ขนบดี, และพัญญู พันธ์บูรณะ. (2559). ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้แรงต้านต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน. วชิรสารการพยาบาล, 18(2), 12-24.
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2555). การตรวจคัดกรองเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์. RTCOG Clinical Practice Guideline Diabetes Mellitus Screening in Pregnancy, 29(2), 170-184.
วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี, มลิวัลย์ บุตรดำ, และอุทุมพร ดุลยเกษม. (2563). การออกกำลังกายกับเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 396-409.
วิทยา ถิฐาพันธ์ (บรรณาธิการ). (2561). ภาวะเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ & โภชนาการในช่วงแรกของชีวิต : ปัญหาและความท้าทาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี [สบท.]. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560: Clinical practice guideline for diabetes 2017 (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย.
สุชยา ลือวรรณ. (2558). โรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์. สืบค้นจาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/medical-student-5/3695/
American Diabetes Association [ADA]. (2019). Classification and diagnosis of diabetes: Standards of medical care in diabetes-2019. Diabetes Care, 42(Suppl.1), S13-S28. https://doi.org/10.2337/dc19-S002
Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Bloom, S. L., Spong, C. Y., Dashe, J. S., Hoffman, B. L., . . . Sheffield, J. S. (2018). Williams obstetrics (25th ed.). New york: McGraw-Hill.
Demirel, G., Yilmaz, F. T., & Kumsar, A. K. (2020). Prevalence of gestational diabetes mellitus and associated risk factors during pregnancy in Turkey. International Journal of Caring Sciences, 13(1), 692-697.
International Diabetes Federation [IDF]. (2017). Care & prevent gestational diabetes. Retrieved from https://www.idf.org/our-activities/careprevention/gdm.html
Marquesim, N. A. Q., Lima, S. A. M., Costa, R. A. A., Rodriques, M. R. K., Ferraz, G. A. R., Cassetari, B. F. N., & Calderron, I. M. P. (2016). Health related quality of life in pregnancy women with diabetes or mild hyperglycemia. International Archives of Medicine, 7(3), 255-262.
Mokhlesi, S., Simbar, M., Tehrani, F. R., Kariman, N., & Majd, H. A. (2019). Quality of life and gestational diabetes mellitus: A review study. International Journal of Women’s Health and Reproduction Sciences, 7(3), 255-262.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว