การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองผ่านโปรแกรมแอปพลิเคชันไลน์

ผู้แต่ง

  • อัศวเดช สละอวยพร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นฤมล จันทร์สุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • มณี ดีประสิทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

คุณธรรมจริยธรรม, นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต, การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, แอปพลิเคชันไลน์

บทคัดย่อ

ปัญหาคุณธรรมจริยธรรมในสังคมมีแนวโน้มสูงขึ้น  การขาดคุณธรรมจริยธรรมทั้งในส่วนบุคคลและในวิชาชีพอาจมีผลร้ายต่อตนเอง  สังคม และวงการวิชาชีพ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ก่อนและหลังการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองผ่านโปรแกรมแอปพลิเคชันไลน์ ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ผู้ปกครองของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบันฑิต  จำนวน 36 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่  โปรแกรมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองผ่านโปรแกรมแอปพลิเคชันไลน์ ประกอบด้วยการทำกิจกรรม 8 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที  เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน 8 สัปดาห์  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่  แบบสอบถามพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาล   เก็บรวบรวมข้อมูลแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เชิงพรรณนา และการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน  ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 หลังการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองผ่านโปรแกรมแอปพลิเคชันไลน์ (M = 103.60, SD = .81) สูงกว่าก่อนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองผ่านโปรแกรมแอปพลิเคชันไลน์ (M = 58.73, SD = .96), t(35) = 13.47, p <.05, d = 0.52 ข้อเสนอแนะ ควรมีการนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับนักศึกษาพยาบาลทุกชั้นปี เพื่อเป็นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

References

กลุ่มยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (รายงานการวิจัย). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร.

กฤษณี เสือใหญ่. (2558). พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันไลน์ ความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ของคนในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพ.

ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลของแอปพลิเคชันไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปะการจัดการ, 1(2), 75-88.

ณัฐกร อินทุยศ. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นารี น้อยจินดา. (2556). คุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 7(2), 54-62.

บุษบา ทาธง, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, และบุษกร แก้วเขียว. (2562). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตในรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(1), 155-168.

เบญญพร มหาพิรุณ, เรณู จันทะวงศา, และสุริยะ พุ่มเฉลิม. (2560). ตัวชี้วัดคุณธรรมจริยธรรมของบัณฑิต. วารสารเซาธ์อีสท์บางกอก, 3(2), 127-140.

ประณต เค้าฉิม. (2551). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยนันท์ นามสกุล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 8(2), 27-38.

พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์, และวรรณพล พิมพะสาลี. (2563). แนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 9(2), 63-80.

พระมหาอนันต์ องฺกุรสิริ. (2561). คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(2), 81-90.

วัลทณี นาคศรีสังข์, สุพัตรา ไตรอุดมศรี, และตริตราภรณ์ สร้อยสังวาล. (2560). การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(ฉบับพิเศษ), 32-45.

วิริยาภรณ์ แสนสมรส, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, นิศากร เยาวรัตน์, อมรรัตน์ สว่างเกตุ, และนพวรรณ ดวงจันทร์. (2560). คุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล กรณีศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(4), 144-159.

ศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน). (2560). เอกสารประกอบการประชุมงานสมัชชาคุณธรรมภาคเหนือ. รวมพลังประชารัฐขับเคลื่อนสังคมคุณธรรม: พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา. ณ ศาลาสภาบริหารคณะสงฆ์, พิจิตร.

สถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562. (2562, 5 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 43 ก. 40 – 65.

สายจิตรา นิสาย, มัลลิกา การกสิขวิธี, และนารท ศรีสะโพธิ์. (2563). คุณธรรมจำเป็นสำหรับโรงเรียนชายขอบทางภาคเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยทางสังคมศาสตร์, 15(2), 1-14.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการประเมินคุณธรรมของผู้เรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561ไตรมาสที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุริยา อนัญเฉวียง. (2559). ผลการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดศรีพโลทัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

อมรนารี ปินปันคง. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ด้วย Application LINE โดยการใช้สื่อวิดิทัศน์(VDO) ในรายวิชาการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อสุขภาพและสังคม (ลีลาศ) ของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ (รายงานการวิจัย). โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15, เชียงราย.

LINE ประเทศไทย. (2564). LINE เผยมียอดผู้ใช้บริการครบ 50 ล้านราย ครองอันดับ 1 แอปฯ ที่คนไทยชอบ. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/business/market/2186708

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis of the behavioral sciences. New York: Lawrence Erlbaum Associates.

Sulkowski, N. B., & Deakin, M. K. (2009). Does understanding culture help enhance students’ earning experience. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 21(2), 154-166.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30