บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงตั้งแต่ในโรงพยาบาลสู่การดูแลที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • กัญญาณัฐ เกิดชื่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข
  • ยุพาพร จิตตะสุสุทโธ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข
  • ชุติมา ปัญญาประดิษฐ์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง, การพยาบาลระยะวิกฤต, การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

บทคัดย่อ

การบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุการจราจรและการถูกทำร้ายร่างกาย ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อส่วนประกอบของศีรษะและภายในกะโหลกศีรษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสมอง การบาดเจ็บของสมองจะส่งผลต่อการมีชีวิตและพฤติกรรมของบุคคลเมื่อพ้นระยะวิกฤตไป เมื่อศีรษะได้รับบาดเจ็บรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยและเป็นอันตรายคือ ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ซึ่งจะนำไปสู่การเสียชีวิตหรือทุพพลภาพของผู้ป่วยได้  ดังนั้นพยาบาลจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงและสามารถปฏิบัติบทบาทในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยและลดภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับไปมีคุณภาพชีวิตตามอัตภาพที่ควรจะเป็น  ผู้แต่งได้เขียนบทความนี้ขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทพยาบาลที่จำเพาะในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรงในระยะวิกฤตและการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

References

กลุ่มยุทธศาสตร์และพัฒนาองค์กร กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานประจำปี 2564 กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

จารุยา ชปารังสี. (2560). สมรรถนะพยาบาลทางประสาทศัลยศาสตร์. วารสารกองการพยาบาล, 44(1), 41-61.

ฉัตรกมล ประจวบลาภ. (2561). ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่สมอง: มิติของการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารสภาการพยาบาล, 33(2), 15-28.

ไชยพร ยุกเซ็น, ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา, วรณี กรีเทพ, ประยุทธ สุขอุ้ม, ธีรภัทร์ จันทวงศ์, ฐิตาภรณ์ มีมงคล, . . . เจนจิรา ใยเทศ. (2560). การประเมินเครื่องมือการทำนายภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ (MIBI score) ในผู้บาดเจ็บที่ศีรษะชนิดที่ไม่รุนแรง. สืบค้นจาก https://www.niems.go.th/1/upload/migrate/file/256009200914573314_FZpDjZn35F6c0xK9.pdf

ธันยา ปิติยะกูลชร, บริบูรณ์ เชนธนากิจ, ธนัฐ วานิยะพงศ์, และกรองกาญจน์ สุธรรม. (2562). ภาวะแทรกซ้อนของการมีกระดูกฐานกะโหลกศีรษะแตกร้าวในกลุ่มผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะแบบไม่รุนแรง. วารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, 1(1), 17-25.

นครชัย เผื่อนปฐม, และธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ (Clinical practice guidelines for traumatic brain injury). กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส จำกัด.

ปณัชญา เชื้อวงษ์, สาวิตรี เกตุแก้ว, และสุภาพ เหมือนชู. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ 72 ชั่วโมงแรก: การจัดการภาวะไข้ที่มีประสิทธิภาพ. วารสารกองการพยาบาล, 44(3), 115-124.

เพ็ญนภา จายวรรณ์, พิกุล นันทชัยพันธ์, และฉวีวรรณ ธงชัย. (2559). ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง. พยาบาลสาร, 43(1), 95-106.

ภัทรวิทย์ รักษ์กุล. (2561). โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular diseases). สืบค้นจาก http://med.tu.ac.th/department/surgery/wp-content/uploads/sites/3/2018/11/CVA.pdf

ภารณี เทพส่องแสง, วรรณลี ยอดรักษ์, และสุดศิริ หิรัญชุณหะ. (2561). การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะรุนแรง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(3), 192-197.

มาฆะ กิตติธรกุล. (2558). การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรงที่มีการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 32(2), 173-188.

ยุทธชัย ไชยสิทธิ์, ขวัญประภัสร จันทร์บุลวัชร์, และอภิญญา กุลทะเล. (2560). การบำบัดด้วยการลดอุณหภูมิของร่างกายในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่สมอง: บทบาทพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล, 44(1), 116-125.

ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมประสาทศัลยศาสตร์แห่งประเทศไทย. (2564). แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทางศัลยกรรม. สืบค้นจาก http://www.rcst.or.th/webupload/filecenter/CPG/Head%20Injury.html

รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ, และชดช้อย วัฒนะ. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมองแบบองค์รวม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 129-139.

ฤทัยรัตน์ ไชยรินทร์. (2556). การจัดการภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเนื้องอกของต่อมใต้สมองที่ได้รับการผ่าตัด: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารสภาการพยาบาล, 28(4), 16-30.

สุรีรัตน์ สุวัชรังกูร. (2558). การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่มีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง. วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย, 14(2), 94-101.

โสพรรณ โพทะยะ. (2562). การป้องกันและลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บสมองทุติยภูมิ .วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย, 13(3), 22-31.

อรชร บุติพันดา. (2560). การจัดการอาการปวดศีรษะในผู้ป่วยหลังการบาดเจ็บศีรษะเล็กน้อย. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(1), 108-116.

อรัฐา รังผึ้ง, พิมพ์ภา เตชะกมลสุข, และอนงค์ แสงจันทร์ทิพย์. (2556). การบาดเจ็บรุนแรงจากการใช้รถจักรยานยนต์ ปี พ.ศ. 2555. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, 44(31), 481-484.

อัญชลี โสภณ, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์, ไพรวัลย์ พรมที, สุรกรานต์ ยุทธเกษมสันต์, และอรไท โพธิ์ไชยแสน. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรง โดยใช้การจัดการรายกรณี. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 29(3), 126-138.

อาคม อารยาวิชานนท์. (2558). เยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลัน. สรรพสิทธิเวชสาร, 36(2), 89-104.

อำพร มะลิวัลย์. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะร่วมกับมีภาวะเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก: กรณีศึกษา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(1), 80-86.

Gosnell, C. (2019). Adult health nursing (8th ed.). St. Louis, Missouri: Elsevier, Inc.

Lewis, S., Bucher, L., Heitkemper, M., & Harding, M. (2017). Medical-surgical nursing: Assessment and management of clinical problems (10th ed.). St. Louis, Missouri: Elsevier, Inc.

Timby, B. K., & Smith, N. E. (2014). Introductory medical-surgical nursing (11st ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27