ระดับความรู้และความต้องการข้อมูลเรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของประชาชน

ผู้แต่ง

  • ศุภิสรา สุวรรณชาติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ธิดารัตน์ นิ่มกระโทก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาย จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความรู้, มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง, การคัดกรอง

บทคัดย่อ

วิธีการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ การแนะนำประชาชนให้หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและการเข้ารับการคัดกรองโรคมะเร็ง ดังนั้นการศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคมะเร็งของประชาชนและลักษณะข้อมูลที่ประชาชนต้องการจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนป้องกันโรคในอนาคต การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และความต้องการข้อมูลเรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ประชาชนจำนวน 138 คน ที่เคยเข้าร่วมโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง เครื่องมือประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ข้อสอบจำนวน 25 ข้อ และคำถามปลายเปิด ข้อสอบผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรคูเดอร์ริชาร์ดสัน (KR 20) ได้เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าร่วมการวิจัยมีอายุเฉลี่ย  60.89 ปี (SD = 6.61) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.7) จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ร้อยละ 42.8) ไม่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็ง (ร้อยละ 55.8) และได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (ร้อยละ 52.9) ผู้เข้าร่วมการวิจัยส่วนมาก มีความรู้เกี่ยวกับอาการของโรคในระดับสูง (ร้อยละ 86.2)  มีความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองในระดับปานกลาง (ร้อยละ 63.0) แต่มีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ (ร้อยละ 74.0) และการป้องกันโรค (ร้อยละ 55.1) อยู่ในระดับปานกลางไปจนถึงต่ำ สิ่งที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยส่วนมากต้องการ คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันโรค (ร้อยละ 67.4)  และสื่อวีดิทัศน์สำหรับทบทวนความรู้ (ร้อยละ 82.6 )  ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องควรจัดโปรแกรมการให้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง 

References

คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ National Cancer Control Programme (พ.ศ.2561-2565). สืบค้นจาก https://bit.ly/3NMK6W5

คณยศ ชัยอาจ, ชนัญญา จิระพรกุล, และเนาวรัตน์ มณีนิล. (2561). ความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของประชากรกลุ่มเสี่ยง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(3), 37-44. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/188337/144988

ณฐนนท บริสุทธิ์. (2563). การศึกษาสถานการณ์และทิศทางการพัฒนา อสม.ในยุคประเทศไทย 4.0. สืบค้นจาก http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/the_study_of_situation_and_village_health_volunteer_development_2.pdf

ธิติพน โยธาพันธุ์. (2563). สสส. ข่าวสุขภาพ: เนื้อแดง อาหารแปรรูป เสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/52565

นิภาพร ทิพย์มะณี, สุคนธ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี, จีรยุทธ ไชยจารุวณิช, นิสา ชวพันธุ์, ธเนศ ชิตาพนารักษ์, และอิ่มใจ ชิตาพนารักษ์. (2554). การระบุยีนมะเร็งลำไส้ตรงโดยการวิเคราะห์ไมโครอะเรย์. มะเร็งวิวัฒน์ วารสารสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย, 17(1), 71-78. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jtaro/article/view/203489/141926

บัลลังก์ มุ้ยเผือก. (2553). มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 17(1), 29-42. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/61252/50464

ปัทมา พลอยสว่าง, อมรรัตน์ จู้สวัสดิ์, ปภาวิน แจ่มศรี, ปริณดา แพ่งเมือง, และศุลีพร แสงกระจ่าง. (2564). การประเมินความรู้ด้านโรคมะเร็งของเจ้าหน้าที่กรมการแพทย์. วารสารโรคมะเร็ง, 41(1), 12-23. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TCJ/article/view/249093/168872

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของทาโร ยามาเนและเครทซี มอร์แกน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(1), 11-28. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/243621/164915

วิทวัส จันทน์คราญ. (2562). แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการเกิดมะเร็ง. วารสารราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย, 1(1), 29-39. สืบค้นจาก https://www.asianarchpath.com/storage/1549378638-097BD-08EF7/1549378653-52C1C-78AF7.pdf

วีรพล โคตรหานาม, พงษ์เดช สารการ, และนิคม ถนอมเสียง. (2562). การตรวจสอบแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการเข้าร่วมตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่/ไส้ตรงในประชากรไทยอายุ 45-75 ปี อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นด้วยโมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(3), 92-108. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/212378

ศุภศิษฏ์ อรุณรุ่งสวัสดิ์, และจารุวรรณ จันทร์กอง. (2564). การควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งโดยทีเซลล์และจุลินทรีย์ในลำไส้. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 27(3), 111-123. สืบค้นจาก https://www.asianarchpath.com/storage/1549378638-097BD-08EF7/1549378653-52C1C-78AF7.pdf

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้. สืบค้นจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/th/colorectal

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์. (2561). แนวทางการดำเนินงานและการบันทึกข้อมูล โครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงด้วยวิธี FIT Test. สืบค้นจาก https://www.nci.go.th/th/File_download/D_index/ptu/update1761

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์. (2565). จำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ ปี 2564. สืบค้นจาก http://tcb.nci.go.th/CWEB/cwebBase.do?mode=initialApplication

สุทธิมาศ สุขอัมพร, และวลัยนารี พรมลา. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงของบุคลากรในโรงพยาบาล. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(38), 632-644. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/252066/172534

สุภาพร สุภารักษ์, กนกวรรณ เงื่อนจันทร์ทอง, ตะวันฉาย แสงเจริญ, บุษราวรรณ ศรีวรรธนะ, และสมชาย แสงกิจพร. (2562). การตรวจติดตามการเพิ่มจำนวนในสภาพจริงของเซลล์มะเร็งลำไส้ SW620 หลังการเพาะเลี้ยงร่วมกับลิมโฟซัยต์ที่ถูกกระตุ้นด้วย PHA และการแสดงออกของ CD44 หลังจากเหนี่ยวนำให้เกิดความเป็นพิษและการตายแบบอะพอพโทซิส. วารสารเทคนิคการแพทย์, 47(1), 6867-6881. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/153594/138826

อำพิกา คันทาใจ, เดชา ทำดี, และศิวพร อึ้งวัฒนา. (2564). ผลการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้ การปฏิบัติการคัดกรองและการให้คำแนะนำในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 1(1), 83-95. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/250649/170371

Alaqel, M. A., Alshammari, S. A., Alahmari, S. M., Alkhayal, N. K., Bin Traiki, T. A., Alhassan, N. S., . . . Alkhayal, K. A. (2021). Community knowledge and awareness of colorectal cancer and screening tools: Community-based survey of 1,912 residents of Riyadh. Annals of Medicine and Surgery, 72(2021), 103046. doi: 10.1016/j.amsu.2021.103046

Al-Hajeili, M., Abdulwassi, H. K., Alshadadi, F., Alqurashi, L., Idriss, M., & Halawani, L. (2019). Assessing knowledge on preventive colorectal cancer screening in Saudi Arabia: A cross-sectional study. Journal of Family Medicine and Primary Care, 8(10), 3140-3146. doi:10.4103/jfmpc.jfmpc_508_19

AlSulaim, L., AlOdhaybi, G., AlSalamah, M., AlHemedani, M., AlMutairi, A., AlKhamis, R., & AlAyed, G. (2021). Awareness and knowledge of colorectal cancer in Qassim Region, Saudi Arabia. Asian Pacific Journal of Cancer Care, 6(4), 397-405. doi: 10.31557/APJCC.2021.6.4.397-405

Centers for Disease Control and Prevention. (2022). What are the risk factors for colorectal cancer? Retrived from https://www.cdc.gov/cancer/colorectal/basic_info/risk_factors.htm

Hamza, A., Argaw, Z., & Gela, D. (2021). Awareness of colorectal cancer and associated factors among adult patients in Jimma, South-West Ethiopia: An institution-based cross-sectional study. Cancer Control, 28, 1–8. doi: 10.1177/10732748211033550

International Agency for Research on Cancer. (2020). Cancer today. Retrived from https://gco.iarc.fr/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-14