ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, การมีส่วนร่วม, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, อาสาสมัครสาธารณสุขบทคัดย่อ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะประสบความสำเร็จหากได้รับการสนับสนุนจากคนในครอบครัว ชุมชน รวมถึงบุคลากรทีมสุขภาพ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่มีบทบาทดูแลสุขภาพของคนในชุมชนรวมถึงการดูแลมารดาหลังคลอด การวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ของความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของ อสม. ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. จำนวน 288 คนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 3 ชุด คือ แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามทัศนคติ และแบบสอบถามการมีส่วนร่วม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นคูเดอร์ – ริชาร์ดสัน เท่ากับ .69 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .81 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า อสม. มีความรู้ระดับปานกลาง (ร้อยละ 72.86) มีทัศนคติระดับมาก (M = 4.12, SD = 0.57) ซึ่งแสดงถึงการมีทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นด้านบวก และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับมาก (M = 3.82, SD = 0.74) และพบว่าความรู้กับทัศนคติมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r(286) = .47, p < .01) แต่ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะแสดงว่าทั้งสองตัวแปรมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อเพิ่มทัศนคติทางบวกแก่ อสม. จนสามารถประเมิน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และการส่งต่อเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ร้อยละของเด็กแรกเกิด - ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว. สืบค้นจาก http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/breastfeed/index?year=2019
กฤษรุจ พิมพะไชย, และไชยา ยิ้มวิไล. (2564). ปัจจัยสมรรถนะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ สุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ. 2554 – 2563 ของกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร, 9(5), 2171-2183.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2557). ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พร้อมด้วยกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการ กระทรวงสาธารณสุข.
กุลชญา ลอยหา, เด่นดวงดี ศรีสุระ, มณฑิชา รักศิลป์, ชนฏ์พงศ์ เคลือศิริ, ภัทรภร เจริญบุตร, รมณียากร มูลสิน, . . . จำลอง วงศ์ประเสริฐ. (2560). การเสริมสร้างศักยภาพบทบาทของนักจัดการสุขภาพชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(1), 2-12.
ขนิษฐา เมฆกมล. (2561). การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: แนวปฏิบัติในชุมชน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(3), 247-256.
จักรี ปัถพี, และนวลฉวี ประเสริฐสุข. (2559). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลป), 9(3), 1-16.
จิตรานันท์ กุลทนันท์, โสเพ็ญ ชูนวล, สรณ สุวรรณเรืองศรี, และธารินันท์ ลีลาทิวานนท์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมงานอนามัยแม่และเด็กของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: เขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 42(1), 73-84.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, ชัญญาวีร์ ไชยวงศ์, และอัจฉรา คํามะทิตย์. (2559). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิเขตอีสานตอนบน. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา, 17(3), 133-144.
ชฎารัตน์ แก้วเวียงเดช, พัดชา หิรัญวัฒนกุลสม, และเสาวนุช จมูศรี. (2560). ผลของการส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ และทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 89-97.
ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล, นัฏฐิกา เจริญตะคุ, และสิวะโชติ ศรีสุทธิยากร. (2563). ประสิทธิภาพของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สเปียร์แมน และเคนดอลล์ เมื่อข้อมูลแจกแจงแบบไม่ปกติ.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 15(2), 1-16.
ณัฏฐ์นรี คำอุไร, นันทพร แสนศิริพันธ์, และกรรณิการ์ กันธะรักษา. (2562). ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของบิดาในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา. วารสารพยาบาลสาร, 46(1), 42-51.
เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2552). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องานวิจัย. สืบค้นจาก https://www.ms.src.ku.ac.th/schedule/Files/2553/Oct/1217086.doc
ลักขณา ไชยนอก. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วนิดา พงษ์ศักดิ์ชาติ. (2563). การคำนวณหาขนาดตัวอย่างเพื่องานวิจัย. สืบค้นจาก http://thaimed.buu.ac.th/public/backend/upload/thaimed.buu.ac.th/document/file/document161717461088510200.pdf
วรรณี เจตะวัฒนะ. (2564). ทัศนคติของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูบ้านต่อระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน กรณีศึกษา : อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร, 4(2), 41-52.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563).โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562: รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. (2563). รายงานประจำปี 2563. สืบค้นจาก https://udo.moph.go.th/thepost/upload/fDAGpewyXpJ4pQYaLbUftR7p6i/oEYZuHniCHbgh3TxvEaVbti1Dm.pdf
สุพรรณิการ์ ปานบางพระ, และพรรณรัตน์ แสงเพิ่ม. (2555). ความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลเอกชน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 31(1), 70-79.
สุรีย์พร กฤษเจริญ, โสเพ็ญ ชูนวล, ศศิกานต์ กาละ, วรางคณา ชัชเวช, และกัญจนี พลอินทร. (2560). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลต่อการส่งเสริมสนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในภาคใต้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(2), 67-76.
Assael, H. (1993). Consumer behavior and marketing action. Cincinnati: South-Western College.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.
Burgoon, M. (1974). Approaching speech/ communication. New York: Holt, Rinehart and Winston.
Cohen, J. (1992). Quantitative methods in psychology: A power primer. Psychol Bull, 112(1), 155-159.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural development participation: Concept and measure for project design implementation and evaluation: Rural development committee center for international studies. New York: Cornell University Press.
Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. In M., Fishbeic (Ed.), Attitude theory and measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
Nelson, D. L., & Quick, J. C. (1997). Organization behavior (2nd ed.). New York: Harper and Row.
United Nations Children’s Fund (UNICEF). (2021). Infant and young child feeding. Retrieved from https://data.unicef.org/topic/nutrition/infant-and-young-child-feeding/
World Health Organization (WHO). (2014). Global nutrition targets 2025: Breastfeeding policy brief. Retrieved from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/149022/WHO_NMH_NHD_14.7_eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว