การตระหนักรู้ตนเอง การเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และสุขภาวะจิตวิญญาณ ของนักศึกษาวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
การตระหนักรู้ตนเอง, การเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น, สุขภาวะจิตวิญญาณบทคัดย่อ
การตระหนักรู้ตนเอง การเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และการมีสุขภาวะจิตวิญญาณที่ดี เป็นส่วนที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและสาธารณสุขมีพฤติกรรมการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการตระหนักรู้ตนเอง การเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และสุขภาวะจิตวิญญาณของนักศึกษาระหว่างชั้นปี กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ของวิทยาลัยพยาบาล 6 แห่ง และวิทยาลัยการสาธารณสุข 1 แห่ง ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 383 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามการตระหนักรู้ตนเอง แบบวัดความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และแบบสอบถามสุขภาวะจิตวิญญาณ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .67-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ .80, .82 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีการตระหนักรู้ตนเอง การเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และสุขภาวะจิตวิญญาณ อยู่ในระดับดี นักศึกษาแต่ละชั้นปีมีการตระหนักรู้ตนเอง (F(3, 380) = 4.10, p = .007) และการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น (F(3, 380) = 3.50, p = .016) แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนสุขภาวะจิตวิญญาณของนักศึกษาระหว่างชั้นปีไม่แตกต่างกัน (F(3, 380) = 0.55, p = .65) ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นผู้ให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ต่อไป
References
กานต์ จำรูญโรจน์, และสมบัติ ศาสตร์รุ่งภัค. (2555). การพัฒนาเครื่องมือ Jefferson scale of physician empathy-student version (ฉบับภาษาไทย). วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 57(2), 213-224.
ทัศนีย์ ทองประทีป. (2552). จิตวิญญาณมิติหนึ่งของการพยาบาล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ สุริยะไชย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในตนเองกับการร่วมรู้สึกในวัยรุ่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
นพรุจน์ อุทัยทวีป. (2560). ผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวคิดของโรเจอร์สที่มีต่อการเข้าถึงใจของนักศึกษามหาวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ปาริชาต ชูประดิษฐ์. (2556). การพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณสำหรับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
ภาวดี เหมทานนท์, และอมาวสี อัมพันศิริรัตน์. (2563). ผลของรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการสะท้อนคิดต่อการตระหนักรู้ในตนเองในนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 275-288.
เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์. (2558). การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา: การสังเคราะห์งานวิจัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(2), 328-342.
ละเอียด แจ่มจันทร์, รวิภา บุญชูช่วย, และสุนีย์ อินทรสิงห์. (2558). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง: ถอดบทเรียนจากการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(3), 1-14.
วรวรรณ จันทวีเมือง, และทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ. (2559). นักศึกษาพยาบาลกับการพัฒนา สุขภาวะทางจิตวิญญาณ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 208-219.
วราพร วันไชยธนวงศ์, วราภรณ์ ยศทวี, และจุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์. (2560). การพัฒนาความตระหนักในคุณค่าของชีวิตสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(2), 112-127.
สถาบันพระบรมราชชนก. (2556). อัตลักษณ์ของสถาบัน. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
สายฝน เอกวรางกูร. (2562). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต: ศาสตร์และศิลป์สู่การปฏิบัติ 1. กรุงเทพฯ: ไทม์ พริ้นติ้ง.
สุภิชญา ทองแก้ว. (2561). ความตระหนักต่อความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพใหม่ในโรงพยาบาลทั่วไป. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 64-65.
อติพร ทองหล่อ. (2564). ผลของการใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ต่อการตระหนักรู้ในตนเอง และการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นของนักศึกษาพยาบาล. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์, 11(1), 91-106.
อรวรรณ นาเพ็ชร, กชกร พละบุตร, กชวรรณ เหลาทอง, กมล เหมอ่อน, กนกพร มิรัตนไพร, กนกอร นิพขันธุ์, และทศา ชัยวรรณวรรต. (2561). การตระหนักรู้ในตนเองและการรับรู้ประโยชน์ของการตระหนักรู้ในตนเองของ นักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(2), 60-73.
อรัญญา บุญธรรม, มงคล ส่องสว่างธรรม, กมลณิชา อนันต์, ยุรี เชาวน์พิพัฒน์, และธันยาพร บัวเหลือง. (2561). การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 35(3), 296-303.
Chiang, Y. C., Lee, H. C., Chu, T. L., Han, C. Y., & Hsiao, Y. C. (2016). The impact of nurses' spiritual health on their attitudes toward spiritual care, professional commitment, and caring. Nursing Outlook, 64(3), 215-224. https://doi.org/10.1016/j.outlook.2015.11.012
Hojat, M., Gonnella, J. S., Nasca, T. J., Mangione, S., Veloksi, J. J., & Magee, M. (2002). The Jefferson Scale of Physician Empathy: further psychometric data and differences by gender and specialty at item level. Academic Medicine, 77(10), S58-S60. https://doi.org/10.1097/00001888-200210001-00019
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว