การรับรู้การเข้าถึงบริการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยในเขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • วิมลพรรณ สังข์สกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • จรูญศรี มีหนองหว้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การรับรู้, ผู้ปกครอง, การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย, พัฒนาการไม่สมวัย

บทคัดย่อ

เด็กปฐมวัยบางส่วนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 ยังมีพัฒนาการไม่สมวัย การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การเข้าถึงบริการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย  พื้นที่ศึกษาคือเขตสุขภาพที่ 10 โดยผู้ให้ข้อมูลได้รับคัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นผู้ปกครองเด็กที่พัฒนาการไม่สมวัย จำนวน 18 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวนรวม 36 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง แนวคำถามสำหรับสนทนากลุ่ม และแบบสังเกตกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ซึ่งผ่านการตรวจสอบเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กและครอบครัว จำนวน 3 คน มีค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ .67 และ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าข้อค้นพบเรื่องการรับรู้การเข้าถึงบริการมี 3 ประเด็น คือผู้ปกครอง 1) รับรู้ว่าบุตรหลานมีพัฒนาการปกติ โดยเปรียบเทียบจากพัฒนาการของบิดามารดาหรือคนรู้จักกันตอนวัยเด็ก 2) รับรู้ว่าได้รับข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการของลูกไม่เพียงพอ 3) รับรู้ว่าเป็นบทบาทของครูศูนย์เด็กและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ส่วนการรับรู้ปัญหาและอุปสรรค มี 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ได้รับข้อมูลพัฒนาการเด็กไม่เพียงพอ 2) การตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองยังไม่เพียงพอ 3) ไม่สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้เนื่องจากผู้ปกครองติดภารกิจ และ 4) สื่อให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการไม่เหมาะสมกับผู้ปกครองที่มีความแตกต่างกัน จากผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยด้วยการให้ความรู้ด้านพัฒนาการเด็กแก่ผู้ปกครองอย่างเพียงพอในขณะให้บริการ  รวมทั้งสร้างหรือแนะนำช่องทางการเข้าถึงสื่อที่เหมาะสมด้วยตนเอง และส่งเสริมการสร้างระบบการสนับสนุนทางสังคม

 

References

กรมอนามัย. (2563). รายงานประจำปีกรมอนามัย 2563. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร, และวันนิสาห์ แก้วแข็งขัน. (2561). รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก https://www.cgtoolbook.com/books003/4/

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ฐิติมา ชูใหม่. (2559). การเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 1(2), 18-33.

ปรียา สมพืช, และนิษฐา หรุ่นเกษม. (2563). การพัฒนาสื่อที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนริมคลองลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 11(1), 124-140.

พนม คลี่ฉายา. (2555). ความต้องการข่าวสารการใช้สื่อและนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 31(2). 1-26.

ยุทธนา ศิลปรัสมี, สิตา ฤทธิ์ธาธรรม, วีณา ธิติประเสริฐ, และเสาวลักษณ์ วงศ์นาถ. (2562). การศึกษาพัฒนาการไม่สมวัยของเด็กปฐมวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นจาก https://race.nstru.ac.th/home_ex/e-portfolio//pic/academy/24913974.pdf?1605807160

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center [HDC]). (2562). Dashboard ตัวชี้วัดกระทรวง 2562. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

ศุภลักษณ์ อยู่ยอด, พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น, อุษณีย์ จินตะเวช, เรืองรอง เย็นใจมา, และณัฐนรี อนุกูลวรรธกะ. (2564). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อให้ความรู้ เรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในบริบทของชาติพันธุ์อาข่า. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 13(2), 251-264.

สุกัญญา นิยมวัน, ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์, และประสาน มาลากุล ณ อยุธยา. (2560). การพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีการศึกษาเชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างบทบาทการเป็นมารดาของมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรแรกเกิดอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ มกราคม-เมษายน), 239-250.

สุธรรม นันทมงคลชัย. (2559). ครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู และพัฒนาการเด็กปฐมวัยในประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 46(3), 205-210. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/74042

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. (2563). โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562: รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐ (ฉบับย่อ). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

อัญชิสา อยู่สบาย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลจังหวัดอ่างทอง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

Ayob, Z., Christopher, C., & Naidoo, D. (2021). Exploring caregivers’ perceptions on their role in promoting early childhood development. Early Child Development and Care, 191. Retrieved from https://doi.org/10.1080/03004430.2021.1888943

Ertem, I. O., Atay, G., Dogan, D. G., Bayhan, A., Bingoler, B. E., Gok, C. G., . . . Isikli, S. (2007). Mothers' knowledge of young child development in a developing country. Child Care Health Dev, 33(6), 728-737. doi: 10.1111/j.1365-2214.2007.00751. x. PMID: 17944782

Esther, O., Chung, E. O., Fernald, L. C. H., Galasso, E., Ratsifandrihamanana, L., & Weber, A. M. (2019). Caregiver perceptions of child development in rural Madagascar: A cross-sectional study. BMC Public Health, 19, 1256. doi:10.1186/s12889-019-7578-3

Glascoe, F. G., & Dworkin, P. H. (1995). The role of parents in the detection of developmental and behavioral problems. Pediatrics, 95(6), 829–836. Retrieved from https://publications.aap.org/pediatrics/article-abstract/95/6/829/59349/The-Role-of-Parents-in-the-Detection-of?redirectedFrom=fulltext

Henrich, J. C. (2014). Parents’ employment and children’s wellbeing. The Future of Children, 24(1). Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1029033.pdf

Jeyaseelan, D. C., & Sawyer, M. G. (2017). Developmental literacy: A universal intervention to help children with developmental disorders. Journal of Pediatrics and Child Health, 53(2), 101-104. doi: 10.1111/jpc.13456

Karmacharya, C., Cunningham, K., Choufani, J., & Kadiyala, S. (2017). Grandmothers’ knowledge positively influences maternal knowledge and infant and young child feeding practices. Public Health Nutrition, 20(12), 2114-2123. doi:10.1017/S1368980017000969

Morrison, A. K., Glick, A., & Yin, H. S. (2019). Health Literacy: Implications for child health. Pediatrics in Review, 40(6), 263-277. doi: 10.1542/pir.2018-0027

UNICEF. (2019). The state of the world's children 2019 children, food and nutrition growing well in changing world, executive summary. Retrieved from https://www.unicef.cn/media/11976/file/SOWC%202019%20Executive%20Summary.pdf

WHO/ UNICEF. (2017). Care for child development a framework for monitoring and evaluating the WHO/UNICEF intervention. Retrieved from https://www.unicef.org/lac/media/8586/file/Framework%20for%20M&E%20Intervention.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-17