ปัจจัยทำนายและปัจจัยป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรม: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลัง

ผู้แต่ง

  • กัลยา ชาญเฉลิม กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมสาย 1 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • สาดี แฮมิลตัน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ลีต้า อาษาวิเศษ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมสาย 1 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • สมเกียรติยศ วรเดช สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, แผลกดทับ, ผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรม

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรมมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ การวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายและปัจจัยป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรม โดยศึกษาข้อมูลในปี พ.ศ. 2558-2563 ของผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรม จำนวน 285 ราย ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ คือ เป็นผู้ที่มีแผลกดทับ จำนวน 95 ราย และไม่มีแผลกดทับ จำนวน 190 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกปัจจัยที่เกี่ยวกับการเกิดแผลกดทับซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ  1.0  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศชาย (ร้อยละ 61.8)  มีอายุเฉลี่ย 65.83 ปี (SD = 14.53) ปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับ คือ ดัชนีมวลกาย (Body mass index [BMI]) ที่เกินมาตรฐาน โดยผู้ป่วยที่มี BMI เกินมาตรฐานมีความเสี่ยงที่จะเป็นแผลกดทับมากกว่าผู้ป่วยที่มี BMI ปกติ 1.37 เท่า (OR = 1.37, 95 % Cl [1.06, 1.77])  และพบว่า ความเปียกชื้นของผิวหนัง (OR = 0.51, 95 % Cl [0.27,0.98]) การเคลื่อนไหว (OR = 0.11, 95 % Cl [ 0.04, 0.25]) และแรงเสียดทานหรือแรงดึงรั้ง (OR = 0.42, 95 % Cl [0.19, 0.91]) เป็นปัจจัยป้องกันการเกิดแผลกดทับ โดยเมื่อคะแนนของตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งใน 3 ตัวนี้ เพิ่มขึ้น 1 คะแนน โอกาสเกิดแผลกดทับจะลดลง ดังนั้นควรดูแลผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรมที่มี BMI มาก มีระดับความรู้สึกลดลง ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้  และมีผิวหนังที่เปียกชื้นและรับความรู้สึกได้ไม่ดี อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ

References

ผกามาศ พีธรากร. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์: บทบาทพยาบาล. หัวหินเวชสาร, 1(1), 33-48.

ช่อผกา สิทธิพงศ์, และศิริอร สินธุ. (2554). ปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคเบาหวานร่วมด้วย. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(Suppl2), 113-123.

ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช. (2556). แบบประเมินของบราเดน (The Braden Scale for Predicting Pressure Sore Risk). Retrieved from https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_qd/admin/news_files/51_72_2.pdf

ประภาพร ดองโพธิ์. (2562). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับ. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 19(2), 315-323.

วาสนา ฬาวิน, พรทิพย์ อยู่ญาติมาก, และรภัสศา แพรภัทรประสิทธิ์. (2563). ภาวะโภชนาการและความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับใหม่ในผู้ป่วยที่รับย้ายจากหอผู้ป่วย ในเข้ารักษาต่อในหอผู้ป่วยวิกฤต. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 4(33), 161-171.

สุชาดา นิลบรรพต, อัมพรพรรณ ธีราบุตร, และปณิตา ลิมปะวัฒนะ. (2562). ปัจจัยทำนายการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤติ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 42(3), 1-10.

Akbari Sari, A., Doshmanghir, L., Neghahban, Z., Ghiasipour, M., & Beheshtizavareh, Z. (2014). Rate of pressure ulcers in intensive units and general wards of Iranian hospitals and methods for their detection. Iranian Journal of Public Health, 43, 787–792.

Alderden, J., Rondinelli, J., Pepper, G., Cummins, M., & Whitney, J. (2017). Risk factors for pressure injuries among critical care patients: A systematic review. International Journal of Nursing Studies, 71, 97–114. https://doi.org/10.1016/j.ijnurstu.2017.03.012

Alderden, J., Drake, K. P., Wilson, A., Dimas, J., Cummins, M. R., & Yap, T. L. (2021). Hospital acquired pressure injury prediction in surgical critical care patients. BMC Medical Informatics and Decision Making, 21(1), 12. https://doi.org/10.1186/s12911-020-01371-z

Coleman, S., Nixon, J., Keen, J., Wilson, L., McGinnis, E., Dealey, C., . . . Nelson, E. A. (2014). A new pressure ulcer conceptual framework. Journal of Advance Nursing, 70(10), 2222–2234. https://doi.org/10.1111/jan.12405

Cox, J. (2011). Predictors of pressure ulcers in adult critical care patients. American Journal of Critical Care, 20(5), 364-375.

Dorsey, I. E. (2021). Evidence based repositioning strategies to improve pressure injury rates. Master's Projects and Capstones. 1287. https://repository.usfca.edu/capstone/1287

Grada, A., & Phillips, T. J. (2021). Pressure injuries. Retrieved from https://www.msdmanuals.com/professional/dermatologic-disorders/pressure-injury/pressure-injuries

Mervis, J. S., & Phillips, T. J. (2019). Pressure ulcers: Pathophysiology, epidemiology, risk factors, and presentation. Journal of the American Academy of Dermatology, 81(4), 881–890. https://doi.org/10.1016/j.jaad.2018.12.069

Schlesselman, J. J. (1982). Case-control studies: Design, conduct, analysis. New York: Oxford University Press.

Ulker, E. E., & Yapucu, G. U. (2013). A prospective, descriptive study of risk factors related to pressure ulcer development among patients in intensive care units. Ostomy/Wound Management, 59(7), 22–27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30