การพัฒนาและประสิทธิผลของนวัตกรรมอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ยุพาวดี ขันทบัลลัง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อนัญญา ถาวรรัตน์ โรงพยาบาลกะเปอร์ จังหวัดระนอง
  • อมลธีรา คชเวช โรงพยาบาลเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • อิศรา จุนเด็น โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • อภิชัย พรรณรังษี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางหิน จังหวัดระนอง
  • อมิตา แผ้วชนะ โรงพยาบาลเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • โสภิตา เมฆจันทร์ โรงพยาบาลละอุ่น จังหวัดระนอง
  • สุธิมา แสวงสุข โรงพยาบาลมาบอำมฤต จังหวัดชุมพร
  • ไกรสร ปุ่นย่อง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การเคลื่อนย้าย, ผู้สูงอายุ, อุปกรณ์เคลื่อนย้าย

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการทรงตัวมักเกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นหรือมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว ซึ่งอาจส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการหกล้มได้ การพัฒนาอุปกรณ์เคลื่อนย้ายที่สามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งจำเป็น การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรมอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้สูงอายุโดยใช้กรอบแนวคิดของ ADDIE Model ในการพัฒนานวัตกรรมและประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรม โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุและผู้ดูแลในชุมชนจำนวน 15 คู่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) วิดีโอสาธิตวิธีการใช้นวัตกรรม 2) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 3) แบบบันทึกระยะเวลาในการใช้นวัตกรรม และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมซึ่งผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน โดยได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคําถามกับวัตถุประสงค์มากกว่า .5 ทุกข้อ  และมีความเที่ยง คือ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .82  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระยะเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุภายในบ้านและขึ้น-ลงรถยนต์ลดลง 1 นาที 90 วินาที และ 1 นาที 20 วินาที ตามลำดับ 2) ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.03, SD = 0.73) นวัตกรรมสามารถใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ ลดภาระของผู้ดูแล และสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุไทยต่อไป

References

ชาติรส การะเวก, นัฏศรา เซ็มแม้นหมัด, และปรียานุช วิลาหวาน. (2564). การพัฒนากระเป๋าเสริมรถนั่งคนพิการ. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(2), 5-16.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประวิทย์ ประมาน, เสาวลักษณ์ ประมาน, และชนกานต์ ขาวสำลี. (2558). การศึกษาระดับสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและความต้องการในการออกกำลังกายของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 2(3), 1-7.

พรศิริ จงกล. (2556). ความต้องการที่จับยึดเพื่อช่วยในการลุกและนั่งของผู้สูงอายุ [รายงานการวิจัย ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช, และพนา จินดาศร. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 3-12.

ภูริน หล้าเตจา, และสุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย. (2554). สถาปัตยกรรมมนุษย์ล้อ. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 8(1), 89-96.

มุกดา เดชประพนธ์, และปิยวดี ทองยศ. (2557). ปัญหาทางตาที่พบบ่อยและการสร้างเสริมสุขภาพตาในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(1), 1-9.

ยุพดี ฟู่สกุล. (2560). เครื่องช่วยเดิน. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 61(2), 139-153.

วรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร, และบรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ. (2561). การออกแบบอุปกรณ์ช่วยเดิน ที่มีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วนสำหรับผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวด้านการเดิน รุ่นที่ 2.0. วิศวกรรมสาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 31(105), 1-10.

วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ. (2562). สังคมผู้สูงอายุ: ปัจจัยการตลาดที่เปลี่ยนไป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 38-54.

สุคนธ์ อาจฤทธิ์, สุภลักษณ์ ศรีน้อย, ณภัทร อินทนนท์, และมานิตย์ ธิมาทา. (2560). อุปกรณ์ช่วยยืนสําหรับผู้สูงอายุ Stand-up aid equipment for elders. SAU Journal of Science & Technology, 3(2), 10-17.

อภิชัย ไพรสินธุ์, อัษฎาวรรณ กายนต์, และลลิลทิพย์ รุ่งเรือง. (2563). การออกแบบที่พักอาศัยสําหรับผู้สูงอายุ และคนพิการด้านการเคลื่อนไหวตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 298-313.

Appeadu, M. K., & Bordoni, B. (2022). Falls and fall prevention in the elderly. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK560761/

Crimmins, E. M. (2004). Trends in the health of the elderly. Annual Review of Public Health. 25, 79-98. Retrieved from https://doi.org/10.1146/annurev.publhealth.25.102802.124401

Jaul, E., & Barron, J. (2017). Age-related diseases and clinical and public health implications for the 85 years old and over population. Frontiers in Public Health, 5(335), 1-7. Retrieved from https://doi.org/10.3389/fpubh.2017.00335

Hignett, S., Otter, M. E., & Keen, C. (2016). Safety risks associated with physical interactions between patients and caregivers during treatment and care delivery in Home Care settings: A systematic review. International Journal of Nursing Studies, 59, 1-14.

Klompstra, L., Ekdahl, A. W., Krevers, B., Milberg, A., & Eckerblad, J. (2019). Factors related to health-related quality of life in older people with multimorbidity and high health care consumption over a two-year period. BMC Geriatrics, 19(187), 1-8. Retrieved from https://doi.org/10.1186/s12877-019-1194-z

Welty, G. (2007). The ‘design’ phase of the ADDIE model. Journal of GXP Compliance, 11(4), 40-52. Retrieved from https://www.ivtnetwork.com/sites/default/files/AddieModel_01.pdf

West, B. A., Bhat, G., Stevens, J., & Bergen, G. (2015). Assistive device use and mobility-related factors among adults aged ≥ 65years. Journal of Safety Research, 55, 147-150. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.jsr.2015.08.010

World Health Organization. (2021). Aging and health. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-24