การพัฒนารูปแบบการสอนงานพยาบาลใหม่ตามแนวทางพีพีซีอีเพื่อเสริมความรอบรู้ด้านยาสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ไพเราะ พ่อนุ้ย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ศศิธร ลายเมฆ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บทคัดย่อ

         

พยาบาลใหม่มีความรู้และประสบการณ์ด้านยาผู้สูงอายุไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการสอนงานที่ดี การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนงานพยาบาลใหม่ตามแนวทางการโค้ชพีพีซีอีเพื่อเสริมความรอบรู้ด้านยาสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ และเพื่อประเมินผลการสอนงาน เลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยแบบเจาะจง ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพอายุงานน้อยกว่า 3 ปี 20 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ 5 คน เก็บข้อมูลด้วย 1) แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง 2) แบบประเมินคู่มือ 3) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนงาน และ 5) แบบสอบถามความมั่นใจในการให้ความรู้ด้านยาสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .95, 1.00, .96, .87, และ 1.0 ตามลำดับ ส่วนเครื่องมือชุดที่ 4 (18 ข้อ) และ 5 (10 ข้อ) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอน
บากเท่ากับ .92 และ .68 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสอนงานพยาบาลใหม่แบ่งเป็น 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ 2) ระยะการพัฒนาคู่มือและแนวคิดที่ชื่อว่า ELDER MED model 3) ระยะปฏิบัติในการสอนงานตามแนวทางการโค้ชพีพีซีอี ได้แก่ ระยะเตรียมการ วางแผน ปฏิบัติการสอนงาน และประเมินผล และ 4) ระยะประเมินผลการสอนงาน ในภาพรวมพยาบาลใหม่มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนงานในระดับมาก (M = 4.49, SD = 0.55) และมีความมั่นใจในการให้ความรู้ด้านยาสำหรับผู้ป่วยสูงอายุสูงหลังการเข้าร่วมโครงการ (M = 4.22, SD = 0.55) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ (M = 3.65, SD = 0.76) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t (19)= 15.158, p < .001, d = .57) ดังนั้นผู้บริหารการพยาบาลสามารถนำแนวทางการโค้ชพีพีซีอี มาใช้ในการสอนงานพยาบาลใหม่ให้สามารถเพิ่มความรอบรู้ด้านยาสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ

References

กฤตยา แดงสุวรรณ, ชฏาพร ฟองสุวรรณ, และกฤษณี กมลมาตยกุล. (2558). การสอนงานพยาบาลใหม่ความท้าทายของงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 35-44.

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, และสำลี สาลีกุล. (2562). บทบาทพยาบาลในการป้องกันและการจัดการกับการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 31-39.

จิริยา กนิพันธุ์, หยาดหยด ปาริชาต, และลิลิต ศิริทรัพย์จนันท์. (2564). การส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงอายุ: แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 17-32.

ธัญพร ชื่นกลิ่น, และวัชรา เล่าเรียนดี. (2555). การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการ เรียนรู้ของอาจารย์พยาบาลที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 4(1), 112-129.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประกายรุ่ง ต้นทัพไทย, และขนิษฐา วรธงชัย. (2563). ผลของโปรแกรมการสอนงานพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติและลดอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนในการบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(1), 59-68.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2555). การพยาบาลปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ: การนำไปใช้. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

พิชญากร ศรีปะโคม. (2557). การพัฒนาวิชาชีพพยาบาล: การพัฒนาภาวะผู้นำทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 1-8.

ยุพิน เรืองพิสิฐ, และกรรณิการ์ สุวรรณโคต. (2558). การพัฒนาระบบการสอนงานของพยาบาลวิชาชีพใน โรงพยาบาลเฉพาะทางแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารเกื้อการุณย์, 22(2), 122-139.

วรพล วิแหลม. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการโค้ชและการดูแลให้คำปรึกษาสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารธรรมศาสตร์, 40(2), 98-115.

วรรณชนก จันทชุม, สมปรารถนา ดาผา, เหรียญทอง วงศ์สุดตา, และศุภลักษณ์ กระแสร์. (2563). การพัฒนารูปแบบการสอนงานในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลพี่เลี้ยง โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(1), 157-166.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2564). แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2565-2569. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สุมลา พรหมมา. (2559). รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้นำทางการพยาบาล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 353-368.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำาหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 57-65.

อนุชา ไทยวงษ์, และบุญพิชชา จิตตภักดี, (2564). พยาบาลวิชาชีพ Generation Z ในระบบสุขภาพประเทศไทย: กลวิธีที่ท้าทายในการบริหารสำหรับผู้บริหารการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 48(1), 199-209.

อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. (2560). ภาวะผู้นำและการจัดการทางการพยาบาล. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา.

Benner, P. (1984). From novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park, CA: Addison-Wesley.

Marquis, B., & Huston, C.J. (2017). Leadership roles and management functions in nursing: Theory & Application (5rded.). Philadelphia, P.A: Lippincott.

Robbins S. P., & Coulter M. (2005). Management (8th ed.). Upper Saddle River: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-03