การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวร ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมรรถนะเป็นฐานในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
คำสำคัญ:
โปรแกรมส่งเสริมความสามารถพยาบาลหัวหน้าเวร, พยาบาลหัวหน้าเวร, การเรียนรู้โดยใช้สมรรถนะเป็นฐานบทคัดย่อ
การส่งเสริมสมรรถนะให้พยาบาลมีความสามารถในการเป็นหัวหน้าเวรมีความสำคัญ เพราะหัวหน้าเวรเป็นผู้ปฏิบัติงานนอกเวลาแทนหัวหน้าหอผู้ป่วย งานวิจัยปฏิบัติการเชิงเทคนิคนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวรตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นวิเคราะห์สถานการณ์ ขั้นดำเนินการ และขั้นประเมินผล ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารฝ่ายบริการพยาบาล 4 คน และพยาบาลประจำการที่มีอายุงาน 4 ปีขึ้นไป และไม่มีประสบการณ์หัวหน้าเวร 30 คน โปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นได้จากข้อมูลการวิเคราะห์สถานการณ์และแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน ประกอบด้วย การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนงาน และการเรียนรู้ผ่านระบบสารสนเทศภายในหน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .96, 1.00, และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่าหลังจากเข้าร่วมโปรแกรม พยาบาลมีความสามารถในการปฏิบัติงานหัวหน้าเวรสูงที่สุดในด้านการควบคุมงานซึ่งอยู่ในระดับสูง (M = 2.70, SD = 0.50) มีสมรรถนะการตัดสินใจในการจัดการข้อร้องเรียนได้เหมาะสมที่สุดซึ่ง(M = 2.90, SD = 0.40)
References
กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาบนพื้นฐานอัตลักษณ์พื้นถิ่น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิทยาการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(6), 2554-2569. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ %20journal-peace/article/view/250586/170702
จิรัชยา เหล่าเขตร์กิจ. (2561). ปัจจัยทำนายความสามารถในการตัดสินใจของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลเอกชน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ชมพูนุท ทิพย์ฝั้น, บุญพิชชา จิตต์ภักดี, และผ่องศรี เกียรติเลิศนภา. (2557). การพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวร. วารสารพยาบาลสาร, 41(1), 145-157.
นันธิดา วัดยิ้ม, เสาวลักษณ์ หวังชม, และอภัสริน มะโน. (2560). การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลโดยใช้การเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(30), 147-151. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnbangkok/article/download/120119/91774/
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี มีหาญพงษ์, และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2561). การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล.วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 10-13. สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/ JRTAN/article/view/121885
ปราณี ธนพงศ์เดชะ. (2552). การพัฒนารูปแบบการเตรียมผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นโรงพยาบาล ชุมแพ จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น
ภัทรารัตน์ ตันนกิจ. (2562). การศึกษาสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าเวร ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลกลาง.วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 15(1), 18-20. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/JCP/ article/view/202837/141483
ยศวัฒน์ คำภู. (2562). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะโดยใช้โครงงานเป็นฐานวิทยาลัยการอาชีพพรรณานิคม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
วราภรณ์ เจริญบุญ, ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน, และกรรณิการ์ สุวรรณโคตร. (2559). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการเป็นพยาบาลหัวหน้าเวรในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 10(2), 111-124. สืบค้นจาก http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2559Vol10No2_666.pdf
วิภาวรรณ บัวสรวง, และสุชาดา รัชชุกูล. (2551). บทบาทหัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐที่พึงประสงค์ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2551-2560). วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2(พิเศษ), 29–40.
ศิริพร สิงหเนตร, จรวยพร ใจสิทธิ์, และวิชยา เห็นแก้ว. (2560). ภาวะผู้นำทางการพยาบาลในศตวรรษที่ 21.วารสารนเรศวรพะเยา, 10(1), 18-20. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/ article/view/85069/67757
ศึกษา เรืองดำ. (2564). การพัฒนาการอ่านเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองในยุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(1), 32-50. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/eduthu/article/ view/245652/168606
สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม. (2564). แนวทางการพัฒนาบุคลากรและแผนพัฒนารายบุคคล. สืบค้นจาก https://jor7.coj.go.th/th/file/get/file/20211109f6c86 cfcf18656e3224e2cb432 dac7fd150032.pdf
สหัสพร ยืนบุญ. (2561). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม
สหัสพร ยืนบุญ, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2562). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น ที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง.วารสารพยาบาลสาร, 46(2), 152-163. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/cmunursing/article/view/197354/137314
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์. (2559). การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรบนพื้นฐาน 70:20:10 Learning Model. กรุงเทพฯ: เอช อาร์เซ็นเตอร์
Benner, P. (1984). From novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park, CA: Addison-Wesley.
Bennis, W. (2003). Natural resource conservation service-social science team. New York: Harper & Row.
Shandler, D. (2000). Competency and the learning organization. Menlo Park, CA: Crisp Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว