การพัฒนารูปแบบการติดตามผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้ามาในจังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ ชูวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ดวงใจ สวัสดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พื้นที่ที่มีการระบาดของโรค, รูปแบบการติดตาม, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus disease 2019 [COVID-19]) มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพ การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการติดตามผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค COVID-19 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 146 คน ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด และระดับอำเภอ  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน  และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รวมจำนวน 46 คน และประชาชนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รายงานจำนวนผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง  แบบสอบถามความพึงพอใจ และแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เชิงบรรยาย  การทดสอบ Wilcoxon Matched Pairs Signed–Ranks Test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรม Trang Healthy Passport ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อติดตามผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค COVID-19 เข้ามาในจังหวัดตรัง ในขั้นตอนการลงทะเบียน การคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และการส่งข้อมูลให้หน่วยควบคุมโรค ผลการทดลองใช้ พบว่า จำนวนผู้เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค COVID-19  โดยใช้โปรแกรม Trang Healthy Passport สูงกว่าจำนวนผู้เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค COVID-19 โดยใช้โปรแกรม Thai Quarantine Monitor (Z = 2.80, p < .05) โปรแกรมนี้มีข้อดีคือสามารถให้บริการเบ็ดเสร็จในจุดเดียว  ลดจำนวนบุคลากรและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และส่งต่อข้อมูลได้ตามเวลาที่เป็นจริง โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ความตระหนักและความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้อง  การเสริมพลังใจให้ชุมชน และการสร้างการรับรู้ของประชาชนในการรับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง

References

กิตติ วงศ์ปทุมทิพย์. (2561). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(2), 59-67.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/info.php

เกศฉราภรณ์ สัตยาชัย. (2546). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย ไม่ได้ตีพิมพ์). กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่อง การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29-39.

พูลสินธุ์ พงษ์ประเทศ. (2550). การพัฒนาศักยภาพในการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษา: โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี (รายงานการวิจัย ไม่ได้ตีพิมพ์). ขอนแก่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. (2563). รายงานประจำวันสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นจาก http://www.tro.moph.go.th/index2.php

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). การดูแลสุขภาพตนเองให้พ้น จากไวรัสโคโรนา. สืบค้นจาก http://healthydee.moph.go.th/view article. php?id=685

Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed.). New Jersey: Prenticehall Inc.

Graneheim, H. U., & Lundman, B. (2004). Qualitative content analysis in nursing research: Concepts, procedures and measures to achieve trustworthiness. Nurse Education Today, 24, 105-112.

Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (1988). The Action research planner (3rd ed.). Victoria, editor. Australia: Deaken University Press.

Marcelino, I., Barroso, J., Cruz, J. B., & Pereira, A. (2008). Elder care architecture. Systems and networks communications, 2008 ICSNC 3rd International Conference.

Niuniu, S., Suling, S., & Hongyun, W. (2020). A qualitative study on the psychological experience of caregivers of COVID-19 patients. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7141468/

Vidal-Alaball, J., Acosta-Roja, R., Pastor Hernández, N., Sanchez Luque, U., Morrison, D., Narejos Pérez, S., . . . ópez Seguí, F. (2020). Telemedicine in the face of the COVID-19 pandemic. Atención Primaria, 52(6), 369-446. https://doi.org/10.1016/j.aprim.2020.04.003

World Health Organization, Thailand. (2020). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) รายงานสถานการณ์ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย. สืบค้นจาก https://covid19.who.int/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23