ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและกึ่งเมือง

ผู้แต่ง

  • อาภรณ์ คำก้อน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุพัตรา บัวที คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • อัจฉรา ชัยชาญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • บุญญภัสร์ ภูมิภู คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กัญจน์ณิชา เรืองชัยทวีสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ความดันโลหิตสูง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง  เปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและกึ่งเมือง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่คุณสมบัติตรงตามเกณฑ์คัดเข้า คือ ไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 70 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ข้อมูลทั่วไป (10 ข้อ) 2.ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (47 ข้อ) และ 3. พฤติกรรมสุขภาพ (26 ข้อ) โดยส่วนที่ 2 และ 3 มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .98 และ .81 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก ส่วนผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองอยู่ในระดับพอใช้ได้ โดยคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนเมือง (M = 4.02, SD = 0.63) สูงกว่าผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมือง (M = 3.45, SD = 0.79), t(68) = 3.32, p < .05 อย่างมีนัยสำคัญ ผู้สูงอายุจากทั้งสองชุมชนมีพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์กันทางบวกระดับต่ำ (Pearson’s r(68) = .32, p < .05)  ดังนั้นบุคลากรสุขภาพจึงควรจัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนกึ่งเมืองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

References

กรรณิกา อุ่นอ้าย, พนิดา ชัยวัง, พรภิมล กรกกฏกำจร, และดวงใจ ปันเจริญ. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมในชุมชนชนบท จังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(1), 200-212.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). ความฉลาดทางสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย (จำกัด).

จิราพร เกศพิชญวัฒนา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช, และชาตินัย หวานวาจา. (2563). ความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรม/ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารประชากรศาสตร์, 36(2), 40-57.

ณัฐฐพัชร์ จันทร์ฉาย, และวรรณี เดียวอิศเรศ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางสุขภาพในผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง: การทบทวนวรรณกรรมเชิงบูรณาการ.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1), 17-26.

ดวงเนตร ธรรมกุล, และธณิดา พุ่มท่าอิฐ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุเขตบางพลัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 15(1), 106-118.

ทศพร คำผลศิริ. (2561). การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของผุ้สูงอายุ. ใน ศิริรัตน์ ปานอุทัย (บรรณาธิการ), การพยาบาลผู้สูงอายุ เล่ม 1 (หน้า 89-105). เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์, และศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(1), 63-74.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปณิธาน หล่อเลิศวิทย์ (บรรณาธิการ). (2541). นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2541 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ประไพพิศ สิงหเสม, พอเพ็ญ ไกรนรา, และวรารัตน์ ทิพย์รัตน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส.ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตรุด จังหวัดตรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์, 11(1), 37-51.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

วาสนา ศรีหามาตร์, สุพัตรา บัวที, และสุรชาติ สิทธิปกรณ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวิกฤติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 21(2), 27-40.

วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ). (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิมล โรมา, สายชล คล้อยเอี่ยม, วรัญญา สุขวงศ์, ฐิติวัฒน์ แก้วอำดี, อัจฉรา ตันหนึ่ง, รุ่งนภา คำผาง, และรักมณี บุตรชน. (2562). รายงานการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2562. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ทริค ธิงค์.

แสงเดือน กิ่งแก้ว, และนุสรา ประเสริฐศรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 43-54.

อภิญญา อินทรรัตน์. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3), 174-178.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. กรุงเทพมหานคร: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

Carey, M. R., Muntner, P., Bosworth, H. B., & Whelton, P. K. (2019). Prevention and control of hypertension: JACC health promotion series. Journal of the American College of Cardiology, 72(11), 1278–1293. https://doi.org/10.1016/j.jacc.2018.07.008

Cui, G. H., Li, S. J., Yin, Y. T., Chen, L. J., Li, J. Q., Liang, F. Y., . . . Chen, L. (2021). The relationship among social capital, eHealth literacy and health behaviours in Chinese elderly people: A cross-sectional study. BMC Public Health, 21, 45. https://doi.org/10.1186/s12889-020-10037-4

Legese, N., & Tadiwos, Y. (2020). Epidemiology of hypertension in Ethiopia: A systematic review. Integrated Blood Pressure Control,13, 135–143. https://doi.org/10.2147/IBPC.S276089

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into health 21th century. Health Promotion International, 15(3), 259-267. https://doi.org/10.1093/heapro/15.3.259

Ostchega. Y., Fryar, C. D., Nwankwo, T., & Nguyen, D. T. (2020). Hypertension prevalence among adults aged 18 and over: United States 2017–2018 NCHS Data Brief, no 364. Hyattsville, MD: National Center for Health Statistics.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2010). Study guide for essentials of nursing research: Appraising evidence for nursing practice (7th ed.). Philadelphia, PA: Wolters Kluwer.

Rice, M. J. (2009). Effect size in psychiatric evidence-based practice care. Journal of the American Psychiatric Nurses Association, 15(2), 138-142. https://doi.org/10.1177/1078390309335007

Shukuri, A., Tewelde, T., & Shaweno, T. (2019). Prevalence of old age hypertension and associated factors among older adults in rural Ethiopia. Integrated Blood Pressure Control, 12, 23-31.

Tiller, D., Herzog, B., Kluttig, A., & Haerting, J. (2015). Health literacy in an urban elderly East-German population – results from the population-based CARLA study. BMC Public Health, 15, 883.

World Health Organization. (1988). Health Promotion Glossary. Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-02