ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • เพ็ญแข ดิษฐบรรจง วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นงณภัทร รุ่งเนย วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อัจฉรา สุขสำราญ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคโควิด-19, นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

อุบัติการณ์การติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ในเด็กวัยเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงเรียนจึงเป็นประเด็นสำคัญ การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 200 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ซึ่งมีค่าความยากเท่ากับ .21-.84 และค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ .20-.32 และแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .79 และ .83 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง ทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ทักษะการจัดการตนเอง และเกรดเฉลี่ยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายได้ร้อยละ 38.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (R2 = .383, p < .05) ตัวแปรที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ ทักษะการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง (Beta = 0.375, p < .05) รองลงมา คือ ทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ (Beta = 0.250, p < .05) หน่วยบริการสุขภาพและโรงเรียนควรร่วมกันพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้งด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง ทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และทักษะการจัดการตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาเพื่อให้นักเรียนสามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 ในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นในกรุงเทพมหานครและภูมิภาค. สืบค้นจาก https://www.dcy.go.th/content/1639921002131/1653552555281

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. นนทบุรี: บริษัท คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จํากัด.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). เครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย. สืบค้นจาก http://www.hed.go.th/

จินทภา เบญจมาศ, และนาฎนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 7(2), 98-115.

จิรนันท์ ช่วยศรีนวล, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, และสมเกียรติยศ วรเดช. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสุขภาพต่อการป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(1), 22-34.

จิรากานต์ อ่อนซาผิว, และสุชาดา นันนทะไชย. (2564). ปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โรงเรียนวัดด่านสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 49-66.

ดรัญชนก พันธ์สุมา, และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2564). ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(5), 597-604.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอําเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.

นงณภัทร รุ่งเนย, เพ็ญแข ดิษฐบรรจง, ภคพร กลิ่นหอม, ศิริพร ครุฑกาศ, และนภาภรณ์ เกตุทอง. (2565). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 14(2), 17-37.

นิศากร เยาวรัตน์, ศริณธร มังคะมณี, และพัชรินทร์ วิหคหาญ. (2565). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของมารดาหลังคลอด. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 28(1), e258069.

ปาจรา โพธิหัง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารมหาวิทยาลัยบูรพา, 29(3), 115-130

พิมสิริ ภู่ศิริ, นภัสวรรณ นามบุญศรี, และเต็มฤทัย ภู่ประดิษฐ์. (2565). การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท., 4(1), e2688.

วรัญญา ไชยโคตร, รัติติยา พานิพัฒน์, เกศิณี หาญจังสิทธิ์, ภคิน ไชยช่วย, และอุราวัช บูรณะคงคาตรี. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคซิฟิลิสนักเรียนอาชีวศึกษา. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 1(1), 17-31.

วราพรรณ วงษ์จันทร์, และปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเด็กวัยเรียน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 44(4), 121-133.

วิชัย เทียนถาวร, และณรงค์ ใจเที่ยง. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2), 126-137.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2564). สถิติผู้ป่วยโรคโคโรนาไวรัส. [เอกสารอัดสำเนา]

Alhazmi, A., Ali, M. H. M., Mohieldin, A., Aziz, F., Osman, O. B., & Ahmed, W. A. (2020). Knowledge, attitudes and practices among people in Saudi Arabia regarding COVID-19: A cross-sectional study. Journal of Public Health Research, 9(3), jphr-2020.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (2006). Research in education (10th ed.). Boston: Pearson Education.

Boopathiraj, C., & Chellamani, K. (2013). Analysis of test items on difficulty level and discrimination index in the test for research in education. International Journal of Social Science & Interdisciplinary Research, 2(2), 189-193.

Bröder, J., Okan, O., Bauer, U., Bruland, D., Schlupp, S., Bollweg, T. M., ... & Pinheiro, P. (2017). Health literacy in childhood and youth: a systematic review of definitions and models. BMC public health, 17(1), 1-25.

Chen, X., Ran, L., Liu, Q., Hu, Q., Du, X., & Tan, X. (2020). Hand hygiene, mask-wearing behaviors and its associated factors during the COVID-19 epidemic: A cross-sectional study among primary school students in Wuhan, China. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(8), 2893.

Ciotti, M., Ciccozzi, M., Terrinoni, A., Jiang, W. C., Wang, C. B., & Bernardini, S. (2020). The COVID-19 pandemic. Critical Reviews in Clinical Laboratory Sciences, 57(6), 365-388.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Gautam, V., Dileepan, S., Rustagi, N., Mittal, A., Patel, M., Shafi, S., . . . Raghav, P. (2021). Health literacy, preventive COVID 19 behaviour and adherence to chronic disease treatment during lockdown among patients registered at primary health facility in urban Jodhpur, Rajasthan. Diabetes & Metabolic Syndrome: Clinical Research & Reviews, 15(1), 205-211.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2019). Multivariate data analysis (8th ed.). Boston: Cengage.

Harkness, K., Arthur, H., & McKelvie, R. (2013). The measurement of uncertainty in caregivers of patients with heart failure. Journal of Nursing Measurement, 21(1), 23-42.

Hyde, Z. (2020). COVID‐19, children and schools: Overlooked and at risk. Medical Journal of Australia, 213(10), 444-446.

Jimola, F. E., & Ofodu, G. O. (2021). Sustaining learning during COVID-19 seismic shift: The need to develop flexible pedagogy. Interdisciplinary Journal of Education Research, 3(1), 14-26.

Kim, S., & Kim, S. (2020). Analysis of the impact of health beliefs and resource factors on preventive behaviors against the COVID-19 pandemic. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(22), 8666.

Mukhalalati, B. A., & Taylor, A. (2019). Adult learning theories in context: a quick guide for healthcare professional educators. Journal of medical education and curricular development, 6, 1-10.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science and Medicine, 67(12), 2072-2078.

Onyema, E. M., Eucheria, N. C., Obafemi, F. A., Sen, S., Atonye, F. G., Sharma, A., & Alsayed, A. O. (2020). Impact of Coronavirus pandemic on education. Journal of Education and Practice, 11(13), 108-121.

Phelps, C., & Sperry, L. L. (2020). Children and the COVID-19 pandemic. Psychological Trauma: Theory, Research, Practice, and Policy, 12(S1), S73.

Reuben, R. C., Danladi, M., Saleh, D. A., & Ejembi, P. E. (2021). Knowledge, attitudes and practices towards COVID-19: An epidemiological survey in North-Central Nigeria. Journal of Community Health, 46(3), 457-470.

Shen, F., Min, C., Lu, Y., & Chu, Y. (2021). The effect of cognition and affect on preventive behaviors during the COVID-19 pandemic: A cross-sectional study in China. BMC Public Health, 21(1), 1-8.

Yue, S., Zhang, J., Cao, M., & Chen, B. (2021). Knowledge, attitudes and practices of COVID-19 among urban and rural residents in China: A cross-sectional study. Journal of Community Health, 46(2), 286-291.

World Health Organization (WHO). (2020). Infection prevention and control during health care when novel coronavirus (nCoV) infection is suspected. Retrieved from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/332447/WHO-2019-nCoV-IPC-2020.1-eng.pdf

World Health Organization (WHO). (2022). WHO coronavirus (COVID-19) dashboard. Retrieved from https://covid19.who.int/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19 — Updated on 2022-12-19