ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียม ณ โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง

ผู้แต่ง

  • ภาณุศักดิ์ อินทสะโร โรงพยาบาลระนอง

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ผู้สูงอายุ, ฟันเทียม

บทคัดย่อ

ปัญหาหลักของสภาวะสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ คือ การสูญเสียฟันและมีฟันใช้งานน้อยจนต้องใส่ฟันเทียม  การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียมในโรงพยาบาลระนอง  ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 217 คน ที่มีฟันแท้น้อยกว่า 20 ซี่ หรือมีคู่สบฟันหลังน้อยกว่า 4 คู่ และได้รับบริการทำฟันเทียม เก็บข้อมูลโดยใช้ 1) แบบสอบถามด้วยการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 4 ตอน คือ 1.1 ข้อมูลส่วนบุคคล 1.2 คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก 1.3 ประสิทธิภาพการใช้งานฟันเทียม และ 1.4 การรับรู้ของผู้สูงอายุต่อการใช้ฟันเทียม (ตอนที่ 1.2-1.4 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก [α] เท่ากับ .85, .78 และ .79 ตามลำดับ 2) แบบตรวจคุณภาพฟันเทียม (α = .78) และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ (α  = .74) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่าผู้สูงอายุมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 2.72, SD = 0.26) ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ เจ้าหน้าที่หรือบุคลากร (M = 2.75, SD = 0.37) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านผลการให้บริการ (M = 2.67, SD = 0.44) คุณภาพฟันเทียมเหมาะสมทุกด้าน แต่พบความบกพร่อง ชำรุดไม่เหมาะสมมากกว่าด้านอื่น ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (χ2(1, n = 217)  = 5.577, p = 0.018)  ดังนั้นโรงพยาบาลควรพัฒนาระบบบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้ผู้รับบริการ และทันตแพทย์ควรมีความรู้ด้วยวิทยาการสมัยใหม่ และให้คำปรึกษาที่ดีโดยเฉพาะการดูแลฟันปลอม

References

กชกร แถวสุวรรณ. (2563). การตัดสินใจเลือกรับบริการทันตกรรมของผู้มีสิทธิประกันสังคมในเขตจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 8(1), 51-68.

กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลระนอง. (2565). รายงานผลการจัดบริการใส่ฟันเทียมโครงการฟันเทียมพระราชทาน โรงพยาบาลระนอง ปี 2565. [เอกสารอัดสำเนา]

เกศศินี วีระพันธ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลบ่อเกลือ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center [HDC]). (2564). กลุ่มผู้สูงอายุได้รับบริการทันตกรรม. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

จีระวัฒน์ บุตรโคตร. (2560). ความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ได้รับบริการใส่รากฟันเทียม จากโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอภูเวียง-หนองนาคา-เวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 28(1), 74-86.

นภาพร ศรีบุญเรือง. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ฟันเทียมพระราชทานและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการฟันเทียมพระราชทาน อำเภอเมืองลำปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์. (2558). ตำราการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์นันทกานต์.

พิมวิภา เศรษฐวรพันธ์, ทรงชัย ฐิตโสมกุล, และไพฑูรย์ ดาวสดใส. (2557). คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากและความสัมพันธ์กับคุณภาพฟันเทียมและประสิทธิภาพการบดเคี้ยวที่ประเมินด้วยดัชนี OHIP-EDENT ในรูปแบบภาษาไทย. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์, 64 (1), 26-46.

ยุภาพร ก่อกุศล. (2560). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง. ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง.

รัชนีวรรณ ภูมิสะอาด, และวรยา มณีลังกา. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียม ณ โรงพยาบาลซำสูง อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 32(1), 89-109.

วิภารัตน์ ยวดยิ่ง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพฟันเทียม ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากกับความสุขในการใช้ฟันเทียมของผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปาก. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 6(2), 58-75.

ศศิกร นาคมณี. (2561). คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุต่อการใส่ฟันเทียมพระราชทานที่ โรงพยาบาลบางปะกง. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 35(1), 30- 39.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2564). รายงานผลการจัดบริการใส่ฟันเทียมโครงการฟันเทียมพระราชทาน ปี 2564. สืบค้นจาก https://sealantdental.anamai.moph.go.th/elderly/

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). New Jersey: Prentice hall.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19