ผลกระทบของพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์การเรียนออนไลน์ในช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อปัญหาทางตาของผู้เรียนระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • อำพร ศรียาภัย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
  • สุพิตร สมาหิโต คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
  • นันทวัน เทียนแก้ว คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
  • สรายุทธ์ น้อยเกษม คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
  • ชนานันต์ สมาหิโต คณะบริหารธุรกิจ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

เรียนออนไลน์, ผู้เรียนระดับปริญญาตรี, ปัญหาทางตา, การระบาดของโควิด-19

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้การเรียนในชั้นเรียน เปลี่ยนรูปแบบเป็นออนไลน์ทันที โดยที่ผู้เรียนไม่มีเวลาเตรียมตัวและมีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่มากพอ และเป็นการใช้ดวงตาที่หนักหน่วง เสี่ยงเกิดปัญหาทางตา งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ ผลกระทบของพฤติกรรมใช้อุปกรณ์การเรียนออนไลน์และความสัมพันธ์กับปัญหาทางตาของผู้เรียนระดับปริญญาตรีในช่วงแพร่ระบาดของโควิด-19 และเพื่อศึกษาวิธีการดูแลสุขภาพตาและการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตาจากการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนในกลุ่มตัวอย่างผู้เรียนระดับปริญญาตรีสาขาสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา จากมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เรียนด้วยระบบออนไลน์ จำนวน 709 คน โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ด้วยค่าสถิติเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาใช้โทรศัพท์มือถือเรียนออนไลน์มากที่สุด ใช้เวลาเรียนเฉลี่ยมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อครั้ง มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน และ 5-6 วันต่อสัปดาห์ การเรียนออนไลน์และการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลทำให้เกิดปัญหาทางตาร้อยละ 74.5 ปัญหาที่พบมาก คือ ตาล้า ปวดตา และแสบตา พฤติกรรมใช้อุปกรณ์เรียนออนไลน์ที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาทางตา เช่น การเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ การมองหน้าจอที่มีตัวอักษรและภาพเคลื่อนไหวเร็วต่อเนื่องนาน แสงสว่างของจอ และระยะเวลาในการเรียน เป็นต้น การมีแนวทางดูแลสุขภาพและแนวปฏิบัติในการเรียนออนไลน์ จะช่วยลดปัญหาทางตาจากการใช้อุปกรณ์เรียนออนไลน์ได้

References

ชลธิศ ดาราวงษ์. (2563). ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความพึงพอใจและผลการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรออนไลน์ในสถาบันระดับอุดมศึกษา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(3), 158-166.

ปาจรา โพธิหัง, พรพรรณ ศรีโสภา, และอโนชา ทัศนาธนชัย. (2559). ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์ของบุคลากรสายการสอนในมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 9(2), 104-119.

เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 169-176.

วาสนา ฬาวิน, สสิธร เทพตระการพร, และสันทณี เครือขอน. (2558). คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม: กรณีศึกษาในเด็ก 1 ราย. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 15(1), 136-142.

อัจฉริยา วงษ์อินทร์จันทร์, จุฬาภรณ์ ตั้งภักดี, ศุภศักดิ์ วงษ์อินทร์จันทร์, สุรีพร เกียรติวงศ์ครู, และสุจิตรา คงกันกง. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่อออนไลน์กับปัญหาสุขภาพองค์รวมของเด็กวัยเรียนในยุคไทย แลนด์ 4.0. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 42(1), 61-72.

Ahmed, S., Akter, R., Pokhrel, N., & Samuel, A. J. (2021). Prevalence of text neck syndrome and SMS thumb among smartphone users in college-going students: A cross-sectional survey study. Journal of Public Health, 29(2), 411-416. https://doi.org/10.1007/s10389-019-01139-4

Akinbinu, T. R., & Mashalla, Y. J. (2014). Impact of computer technology on health: Computer Vision Syndrome (CVS). Medical Practice and Reviews, 5(3), 20-30. https://doi.org/10.5897/MPR.2014.0121

Al-Kumaim, N. H., Alhazmi, A. K., Mohammed, F., Gazem, N. A., Shabbir, M. S., & Fazea, Y. (2021). Exploring the impact of the COVID-19 pandemic on university students’ learning life: An integrated conceptual motivational model for sustainable and healthy online learning. Sustainability, 13(5), 2546. https://doi.org/10.3390/su13052546

Bali, J., Neeraj, N., & Bali, R. T. (2014). Computer vision syndrome: A review. Journal of Clinical Ophthalmology and Research, 2(1), 61-68. http://dx.doi.org/10.4103/2320-3897.122661

Dessie, A., Adane, F., Nega, A., Wami, S. D., & Chercos, D. H. (2018). Computer vision syndrome and associated factors among computer users in Debre Tabor Town, Northwest Ethiopia. Journal of environmental and public health, 2018. https://doi.org/10.1155/2018/4107590

Dumford, A. D., & Miller, A. L. (2018). Online learning in higher education: exploring advantages and disadvantages for engagement. Journal of Computing in Higher Education, 30(3), 452-465. https://doi.org/10.1007/s12528-018-9179-z

Gowrisankaran, S., & Sheedy, J. E. (2015). Computer vision syndrome: A review. Work, 52(2), 303-314. https://doi.org/10.1155/2018/4107590

Jones, I., Gratton, C., & Jones, D.I. (2014). Research methods for sports studies (3rd ed.). Routledge. https://doi.org/10.4324/9781315796222

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Kumari, S., Kumar, R., & Sharma, D. (2021). Text neck syndrome: The pain of modern era. International Journal of Health Sciences and Research, 11(11). 161-165. https://doi.org/10.52403/ijhsr.20211121

Mohan, A., Sen, P., Shah, C., Jain, E., & Jain, S. (2021). Prevalence and risk factor assessment of digital eye strain among children using online e-learning during the COVID-19 pandemic: Digital eye strain among kids (DESK study-1). Indian journal of ophthalmology, 69(1), 140-144. https://doi.org/10.4103%2Fijo.IJO_2535_20

Molea, R., & Nastasa, A. (2020). How Romanian higher education institutions have adapted to online learning process in the COVID-19 context through a student’s eye. Revista Romaneasca pentru Educatie Multidimensionala, 12(2Sup1), 175-181. https://doi.org/10.18662/rrem/12.2Sup1/304

Pokhrel, S., & Chhetri, R. (2021). A literature review on impact of COVID-19 pandemic on teaching and learning. Higher Education for the Future, 8(1), 133-141. https://doi.org/10.1177/2347631120983481

Vate-U-Lan, P. (2015). Text neck epidemic: A growing problem for smart phone users in Thailand. Retrieved from https://repository.au.edu/handle/6623004553/21259

Zhan, Z., Wu, J., Mei, H., Fong, P. S., Huang, M., & Shao, F. (2019). Gender differences in eye movements during online reading. In International Conference on Technology in Education (pp. 235-243). Springer, Singapore.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31