ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางการพยาบาลในผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่สมอง
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่สมอง, แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผลลัพธ์ทางการพยาบาลบทคัดย่อ
การรักษาพยาบาลผู้ที่มีการบาดเจ็บที่สมองในระดับปานกลางถึงรุนแรงล่าช้าจะส่งผลให้เกิดภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่สมอง (Clinical Nursing Practice Guideline for Patients with Traumatic Brain Injury [CNPG-TBI]) และศึกษาประสิทธิผลของ CNPG-TBI ต่อผลลัพธ์การพยาบาล และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่สมองระดับปานกลางถึงรุนแรงจำนวน 100 คน (แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 50 คน) และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 67 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ 1) CNPG-TBI ซึ่งมีดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .89 2) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 3) แบบบันทึกผลลัพธ์การพยาบาล และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ Fisher’s exact test และ Mann–Whitney U test ผลวิจัยพบว่า CNPG-TBI มีแนวทางการดูแล 2 ระยะ คือ การดูแลก่อนถึงโรงพยาบาล และการดูแลในโรงพยาบาล และเป็นแนวปฏิบัติที่มีคุณภาพสูงกว่าร้อยละ 60 ทุกด้าน ซึ่งอยู่ในระดับเป็นที่ยอมรับ หลังการใช้แนวปฏิบัติพบว่าวันนอนโรงพยาบาล และระยะเวลาในแผนกฉุกเฉินของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = -2.01, p = .04 และ Z = -2.72, p = .007, ตามลำดับ) และพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 3.21, SD = 0.60) โดยด้าน เนื้อหามีความชัดเจน (M = 3.13, SD = 0.67) มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด จากผลการวิจัยดังกล่าวจึงควรดูแลผู้ที่มีการบาดเจ็บที่สมองด้วย CNPG-TBI ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง และควรปรับปรุงเนื้อหาให้มีความชัดเจนมากขึ้น
References
ทิพวรรณ บุญสนอง, หทัยรัตน์ แสงจันทร์, และประณีต ส่งวัฒนา. (2555). การพัฒนาและประเมินผลความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ได้รับยาระงับปวดทางช่องเหนือเยื่อดูรา. วารสารสภาการพยาบาล, 26(2), 115-115.
นครชัย เผื่อนปฐม, และธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ. กรุงเทพฯ: พรอสเพอรัสพลัส.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2563). ขนาดอิทธิพลการวิเคราะห์อำนาจการคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนิตนันท์ หนูชัยปลอด, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร, และหทัยรัตน์ แสงจันทร์. (2557). การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติในการจัดการความปวดจากแผลอุบัติเหตุ ณ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน. พยาบาลสาร, 41(5), 88-98.
รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (2564ก). ข้อมูลบุคลากร กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. นครราชสีมา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (2564ข). สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. นครราชสีมา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (ม.ป.ป.). Maharat Modified Early Warning Score. [เอกสารอัดสำเนา]
วิบูลย์ เตชะโกศล. (2557). ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบทางด่วนพิเศษในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. ศรีนครรินทร์เวชสาร, 29(6), 524-529.
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. (2556). เครื่องมือการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล. สืบค้นจาก https://www.agreetrust.org/wp-content/uploads/2013/09/Thai-AGREE-II.pdf
สริยา ทวีกุล. (2561). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 14(3), 46-56.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง. (2563). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2563-06/25630601-RoadAccidentAna2562_Final.pdf
สุดาสวรรค์ เจี่ยมสกุล, และกัญญดา ประจุศิลป์. (2560). การศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพด้านผลลัพธ์การพยาบาล สำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ), 147-154.
เสาวลักษณ์ ภูนวกุล, นพรัตน์ เรืองศรี, อรพรรณ มันตะรักษ์, และจารุภา คงรส. (2560). การพัฒนาแนวฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองที่ได้รับการผ่าตัดสมองโรงพยาบาลพิจิตร.วารสารกรมการแพทย์, 42(6), 102-107.
อัมพร คำหล้า, วรรลดา วงศ์วัฒนฤกษ์, ศรัญญา จุฬารี, จันทร์ทิรา เจียรณัย, และกิตติพงษ์ แก้วตา. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตำแหน่งผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 34-44.
แอน ไทยอุดม, และนที ลุ่มนอก. (2561). การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับผู้ป่วยสมองบาดเจ็บระดับปานกลางถึงรุนแรง. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(3), 107-116.
Awad, S. M., Ahmed, H. H., & Kandeel, N. (2022). Integration of evidence-based care bundle in traumatic brain injury patients’ care. American Journal of Nursing Research, 10(1), 34-40.
Cordoba, A., Frache, B., & Roldan, J. M. D. (2022). European aspects of guidelines used in traumatic brain injury. In R., Rajendram, V., Preedy, & C., Martin (Eds.), Diagnosis and Treatment of Traumatic Brain Injury (pp. 357-366). Philadelphia: Elsevier.
Hollon, S. D., Areán, P. A., Craske, M. G., Crawford, K. A., Kivlahan, D. R., Magnavita, J. J., ... & Kurtzman, H. (2014). Development of clinical practice guidelines. Annual Review of Clinical Psychology, 10(1), 213-241.
Joanna Briggs Institute. (2015). The Joanna Briggs Institute Reviewers’ Manual 2015: Methodology for JBI Scoping Reviews. Retrieved from http://joannabriggs.org/assets/docs/sumari/Reviewers-Manual_Methodology-for-JBI-Scoping-Reviews_2015_v2.Pdf
Menon, D. K., Schwab, K., Wright, D. W., & Maas, A. I. (2010). Position statement: definition of traumatic brain injury. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation, 91(11), 1637-1640.
National Health and Medical Research Council (NHMRC). (1998). A guideline to the development, implementation and evaluation of clinical practice guideline. Retrieved from https://www.health.qld.gov.au/__data/assets/pdf_file/0029/143696/nhmrc_clinprgde.pdf
Wagner, A. K., Franzese, K., Weppner, J. L., Kwasnica, C., Galang, G. N., Edinger, J., & Linsenmeyer, M. (2021). Traumatic brain injury. In D.X. Cifu (Eds.), Braddom's Physical Medicine and Rehabilitation (pp. 916-953. e919). Philadelphia: Elsevier.
World Health Organization (WHO). (2018). Global status report on road safety 2018: Summary. Retrieved from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/277370/WHO-NMH-NVI-18.20-eng.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว