รูปแบบการพัฒนาระบบการจัดการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในหอผู้ป่วยหลังคลอด (สูติกรรม 2) โรงพยาบาลปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ชไมพร สินธุอุทัย กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลปัตตานี
  • ทิพสุดา นุ้ยแม้น กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลปัตตานี
  • กัญญารัตน์ โสคำภา กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลปัตตานี
  • ฐปรัตน์ รักษ์ภาณุสิทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คำสำคัญ:

มารดาหลังคลอด, สมรรถนะพยาบาลในการจัดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, รูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

บทคัดย่อ

นมแม่มีประโยชน์ต่อมารดาและทารกทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาไทยยังต่ำกว่าเป้าหมายของประเทศ  การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด โรงพยาบาลปัตตานี  (Breastfeeding promotion model at Pattani  Hospital [BPM-PH]) และ 3) ประเมินผลการใช้ BPM-PH  ศึกษาสถานการณ์โดยการสนทนากลุ่มพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยหลังคลอด 10 คน และสัมภาษณ์รายบุคคลมารดาหลังคลอด 5 คน ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า พยาบาลขาดทักษะการจัดการนมแม่ ขาดการประเมินและจำแนกประเภททารกและมารดา ทำให้วางแผนดูแลเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่เหมาะสม จึงพัฒนา BPM-PH ที่เน้นการพัฒนาความรู้และทักษะ ขั้นประเมินผล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มเดิม และมารดาและทารกแรกเกิด 90 คน รวบรวมข้อมูลด้วย 1) แบบประเมินสมรรถนะของพยาบาล 2) แบบสอบถามความรู้และการปฏิบัติตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของมารดา ค่าความตรงในเนื้อหาเท่ากับ  .89,  .77,  .85 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .78, .89, .76 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที หลังใช้ BPM-PH พบว่า พยาบาลมีสมรรถนะการจัดการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (M = 4.01, SD = 0.36) มากกว่าก่อนใช้รูปแบบ (M = 2.55, SD = 0.55), t(8) = -19.47, p < .001, d = 3.02 มารดามีความรู้และการปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (M = 4.33, SD = 0.37) และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.54, SD = 0.33) ผลการศึกษามีคุณค่าในการนำไปปฏิบัติการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการวิจัยต่อไป

References

กรรณิการ์ กันธะรักษา, นันทพร แสนศิริพันธ์, และปิยะภรณ์ ประสิทธ์วัฒนเสรี. (2557). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของอาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และพยาบาลโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารพยาบาลสาร, 41(ฉบับพิเศษ), 158-168.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ร้อยละของเด็กแรกเกิด - ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=4164a7c49fcb2b8c3ccca67dcdf28bd0

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2558). สถิติพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: ภาควิชาสถิติ โครงการผลิตตำรา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิพย์สิริ กาญจนวาสี, และ ศิริชัย กาญจนวาสี. (2564). วิธีวิทยาการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พิมพ์ทันใจ

นิศาชล เศรษฐไกรกุล, และชมพูนุท โตโพธิ์ไทย. (2562). สถานการณ์การให้บริการของพยาบาลนมแม่ในสถานพยาบาลของประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 13(4), 368-382.

บูรณี เศวตสุทธิพันธ์. (2559). ข้อควรปฏิบัติเมื่อมารดาและทารกต้องแยกจากกัน.ใน ภาวิน พัวพรพงษ์, คมกฤช เอี่ยมจิรกุล, ศิรินุช ชมโท, และอรพร ดำรงวงศ์ศิริ. (บรรณาธิการ), เวชปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (หน้า 135-138). กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด.

ปริศนา พานิชกุล. (2559). การให้คำปรึกษาในการลี้ยงลูกด้วยนมแม่.ใน ภาวิน พัวพรพงษ์, คมกฤช เอี่ยมจิรกุล, ศิรินุช ชมโท, และอรพร ดำรงวงศ์ศิริ. (บรรณาธิการ), เวชปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (หน้า 304-310). กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด.

พรณิศา แสนบุญส่ง, และวรรณดา มลิวรรณ์. (2559). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีคุณภาพ: ปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และบทบาทพยาบาล ผดุงครรภ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ปทุมธานี, 8(2), 225-237.

พรศิริ พันธสี. (2561). กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.

พุทธชาด เจริญสิริวิไล. (2564). การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทันทีหลังคลอดด้วยเทคนิคการโคช. วารสารแพทย์นาวี, 48(3), 729-741.

พูนศรี ทองสุรเดช, พัฒนา ฤกษ์ดำเนินกิจ, และประภัสสร โตธีรกุล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในแม่ทำงานนอกบ้าน ในคลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา, 8(2), 202-215.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2552). หลักการและการใช้วิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับทางการพยาบาลและสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2562). การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด: บทบาทพยาบาลและครอบครัว. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 12, 1-13.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ, และสาลี่ แซ่เบ๊. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะของตนเองความรู้สึก มีคุณค่าและเจตคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแม่วัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก. วารสารพยาบาลและการศึกษา, 11(3), 10-23.

ระบบสารสนเทศ โรงพยาบาลปัตตานี. (2563). อัตราการให้นมแม่อย่างเดียวในระยะ 6 เดือนแรก.ปัตตานี: ระบบสารสนเทศสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี.

วรฐกานต์ อัศวพรวิพุธ. (2559). มาตรฐานการพยาบาล: กระบวนการพยาบาล และจริยธรรมวิชาชีพ. วารสารกฎหมายสขภาพและสาธารณสุข, 2(3), 393-400.

วรรณา สิงห์เมือง. (2564). ความรู้และทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหญิงหลังคลอดครรภ์แรกในโรงเรียนพ่อแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี.สืบค้นจาก https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20210920224441_1305/20210920224459_1679.pdf

วัฒนา สุนทรธัย, และวนิดา คูชัยสิทธิ์. (2558). ความเชื่อมั่นของแบบวัดที่มีเป้าหมายของการวัดแตกต่างกัน กรณีศึกษา: แบบประเมินผลการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสาร BU Academic Review, 14(1), 13-25.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วิชนี พลคชา. (2565). การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 125-138.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานผลการดำเนินงานปกป้อง ส่งเสริม สนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นนทบุรี: กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ.

สิริอร ข้อยุ่น, วัจนา สุคนธวัฒน์, เบญจมาศ กิจควรดี, จุฑารัตน์ สมอ่อน, และภาสินี โทอินทร์. (2563). สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต. เชียงรายเวชสาร. 12(2), 88-102.

สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, และชญาดา สามารถ. (2559). ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะแรกหลังคลอด:ประสบการณ์ของมารดา. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(3), 30-40.

สุพรรณิการ์ ปานบางพระ, และพรรณรัตน์ แสงเพิ่ม. (2556). ความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติของพยาบาลใน การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลเอกชน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 31, 70-79.

สุรีย์พร กฤษเจริญ, โสเพ็ญ ชูนวล, ศศิกานต์ กาละ, วรางคณา ชัชเวช, และกัญจนี พลอินทร. (2560). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลต่อการส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในภาคใต้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(2), 67-76.

อัญญา ปลดเปลื้อง, อัญชลี ศรีจันทร์, และสัญญา แก้วประพาฬ. (2559). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสนับสนุนของครอบครัว. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 41 - 52.

Ackley, B. J., & Ladwig, G. B. (2006). Nursing diagnosis handbook: a guide to planning care (7th ed.). St. Louis: Mosby.

Deoni, S. C., Dean III, D. C., Piryatinsky, I., O'Muircheartaigh, J., Waskiewicz, N., Lehman, K., Han, M., & Dirks, H. (2013). Breastfeeding and early white matter development: A cross-sectional study. Neuroimage, 82, 77-86. https://doi.org/10.1016/j.neuroimage.2013.05.090

Haroon, S., Das, J. K., Salam, R. A., Imdad, A., & Bhutta, Z. A. (2013). Breastfeeding promotion interventions and breastfeeding practices: a systematic review. BMC public health, 13(Suppl 3), s20. https://doi.org/10.1186/1471-2458-13-s3-s20

Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. Newbury Park: Sage: California.

McClelland, D. C. (1975). A competency model for human resource management specialist to be used in the delivery of the human resource management cycle. Boston: Mcber

United Nations Children's Fund (UNICEF). (2020). Breast feeding practices worldwide. Retrieved from https://data.unicef.org/resources/world-breastfeeding-week-2020/

World Health Organization (WHO). (2019). Breastfeeding–exclusive breastfeeding. Retrieved from http://www.who.int/elena/titles/exclusive_breastfeeding/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-24