สุขภาวะทางใจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในระหว่างการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • จิรังกูร ณัฐรังสี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ทศา ชัยวรรณวรรต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุจิตรา กฤติยาวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พัชรี ใจการุณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

สุขภาวะทางใจ, ความเครียด, ภาวะซึมเศร้า, สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

สุขภาวะทางใจเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตและบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบของบุคคล รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาวะทางใจจากระดับความเครียดและภาวะซึมเศร้า และหาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับภาวะซึมเศร้าของ อสม. ที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิและสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 380 คน  โดยใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุงชุด 20 ข้อ และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม ซึ่งเป็นเครื่องมือมาตรฐานและมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .92 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวม อสม. มีความเครียดระดับปานกลาง (M = 40.54, SD = 13.36) และไม่มีภาวะซึมเศร้า (M = 3.85, SD = 3.74) โดยพบ อสม. มีความเครียดระดับสูง และระดับรุนแรง ร้อยละ 32.89 และ 8.43 ตามลำดับ มีภาวะซึมเศร้ารุนแรงร้อยละ 0.30  ความเครียดกับภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับต่ำ (Pearson’s r [378] = 0.33, p = .01) หน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวังและป้องกันภาวะเครียดและซึมเศร้าของ อสม. ที่ปฏิบัติงานระหว่างการมีวิกฤตด้านสาธารณสุขในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ส่วน อสม. ที่มีความเครียดหรือซึมเศร้าระดับสูงและรุนแรง ควรได้รับการตรวจเพื่อการวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). ความสุขของคนไทยในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19. https://kku.world/0az1m

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 92–103.

ธนาคาร สาระคำ. (2564). ประสบการณ์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการติดตามผู้สัมผัสโรคในชุมชนระหว่างช่วงการระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 4(2), 70–79.

ธัชธา ทวยจด, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, สาวิตรี วิษณุโยธิน, และเสาวนีย์ ทองนพคุณ. (2565). ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดจันทบุรี. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 17(2), 42–55.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย Spss และ Amos (พิมพ์ครั้งที่ 17). บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นฤนันท์ วุฒิสินธุ์, กาญจนา ก๋าคำ, และลลิตภัทร สุขเสือ. (2564). ความวิตกกังวลและความซึมเศร้าระหว่าง สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในประชากรไทยและเทคนิคการผ่อนคลาย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 9(3), 422–432.

ปิยวัตร ตุงคโสภา, พิทยา ธรรมวงศา, และฐนกร คำหารพล. (2565). การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภาวะสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตสุขภาพที่ 8 ประเทศไทย. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 4(2), 193–207.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, และมธุริน คำวงศ์ปิน. (2548). ความตรงของเครื่องมือวินิจฉัยโรคทางจิตเวช Mini International Neuropsychiatric Interview (M.I.N.I.) ฉบับภาษาไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 13(3), 125-135.

เพียรดี เปี่ยมมงคล. (2553). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. ธรรมสาร.

มณฑิรา ชาญณรงค์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการหลงเหลือภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 28(1), e257651.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2563). การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4), 280–291.

เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(1), 44–58.

ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2564). รายงานตาราง อสม. จำแนกตามเพศ และ ตำบล / อำเภอ. https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP00001.php

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554. (2554, 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 33 ง, หน้า 1–10.

ปริตตา หวังเกียรติ. (2563, 28 เมษายน). “4 wave” ระบบสาธารณสุขไทย กับผลกระทบระยะยาวจาก “โควิด-19”. https://www.hfocus.org/content/2020/04/19160

วิทยา ชินบุตร, และนภัทร ภักดีสรวิชญ์. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 304–318.

สมตระกูล ราศิริ, สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา, และธิติรัตน์ ราศิริ. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 7(2), 80–97.

สวรรยา วิวัฒน์ถาวร, และณัฎฐพงษ์ กุลสิทธิจินดา. (2563). ความเครียดและภาวะซึมเศร้าในแพทย์ฝึกหัด โรงพยาบาลตำรวจ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 65(4), 373–384.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, และราณี พรมานะจิรังกุล. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. โรงพยาบาลสวนปรุง.

อุไรวรรณ บุญส่ง, ปราโมทย์ ทองสุข, และประภาพร ชูกำเหนิด. (2564). การจัดการภาวะวิกฤติในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด 19 ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 27(2), 137–149.

เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์, และสิรินรัตน์ แสงศิริลักษณ์. (2563). ความเครียดและอารมณ์เศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 65(4), 400–408.

Cooper, J. (2021, 12 July). Stress and Depression. https://www.webmd.com/depression/features/stress-depression

Du, J., Dong, L. U., Wang, T., Yuan, C., Fu, R., Zhang, L., Liu, B., Zhang, M., Yin, Y., Qin, J., Bouey, J., Zhao, M., & Li, X. (2020). Psychological symptoms among frontline healthcare workers during COVID-19 outbreak in Wuhan. General hospital psychiatry, 67, 144-145. https://doi.org/10.1016%2Fj.genhosppsych.2020.03.011

Li, G., Miao, J., Wang, H., Xu, S., Sun, W., Fan, Y., Zhang, C., Zhu, S., Zhu, Z., & Wang, W. (2020). Psychological impact on women health workers involved in COVID-19 outbreak in Wuhan: a cross-sectional study. Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry, 91(8), 895-897. http://dx.doi.org/10.1136/jnnp-2020-323134

Martin, E. K. (2017). Depression. Lundbeck.

Sheehan, D. V., Lecrubier, Y., Sheehan, K. H., Amorim, P., Janavs, J., Weiller, E., Hergueta, T., Baker, R., & Dunbar, G. C. (1998). The Mini-International Neuropsychiatric Interview (MINI): the development and validation of a structured diagnostic psychiatric interview for DSM-IV and ICD-10. Journal of Clinical Psychiatry, 59(20), 22-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31