ผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีโอเร็มต่อความสามารถของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด

ผู้แต่ง

  • สิริลักษณ์ คุณกมลกาญจน์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • กัลยา เป๊ะหมื่นไวย โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • จุฑารัตน์ กาฬสินธุ์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • ชนิตา แป๊ะสกุล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • พรรณทิพา ขำโพธิ์ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การวางแผนจำหน่าย, ทฤษฎีโอเร็ม, ความสามารถของมารดา, การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

การเข้ารับการรักษาของทารกเกิดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้มารดาขาดทักษะในการดูแลทารก การวางแผนการจำหน่ายจึงเป็นสิ่งสำคัญ งานวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มวัดซ้ำนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีโอเร็มต่อความสามารถของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลในระยะ 1 สัปดาห์ 1 เดือน 2 เดือน และ 3 เดือน ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ มารดาของทารกคลอดก่อนกำหนดจำนวน 52 คน คัดเลือกแบบเจาะจงแล้วแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีโอเร็ม และกลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มละ 26 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีโอเร็ม ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และแบบประเมินความสามารถของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .98  และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ  ผลการศึกษาพบว่าหลังทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการดูแลทารกแรกเกิดก่อนกำหนดของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F(1, 50) = 5.501, p = .023) โปรแกรมการวางแผนจำหน่ายโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีโอเร็มนี้ สามารถนำไปใช้เพื่อเตรียมความพร้อมมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเมื่อกลับบ้านได้

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม: อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (Low Birth Weight Rate) ระดับเขตสุขภาพ. สืบค้นจาก https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/lbwr

กฤษดา แสวงดี, ธีรพร สถิรอังกูร และเรวดี ศิรินครดี. (2539). แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนติดตามผลการดำเนินงานโครงการสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้นจาก https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2023/01/66-Plan-to-follow-up-on-the-performance-of-major-projects-v2.pdf

ฐิติพร เรือนกุล. (2562). ผลของโปรแกรมการสอนก่อนจำหน่ายต่อความพร้อม ในการจำหน่ายจากโรงพยาบาลในผู้เป็นมารดาครั้งแรก. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ, 20(1), 40-51.

เนตรทอง ทะยา. (2548). ผลการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้แก่มารดาทารกคลอดก่อนกำหนดต่อพฤติกรรมการดูแลของมารดาและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของทารก. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 11(3), 167-176.

ปราณี ผลอนันต์, ศรีพรรณ กันธวัง, และพิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น. (2556). การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. พยาบาลสาร, 40(1), 89-101.

ภากร ชูพินิจรอบคอบ. (2565). ผลของโปรแกรมการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 7(1), 15-32.

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (2564). สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. นครราชสีมา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.

วนิสา หะยีเซะ, นุจรี ไชยมงคล, อัจฉราวดีศรียะศักดิ์, มยุรี ยีปาโล๊ะ. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์: ผลของการให้ความรู้ผ่านแอปพลิเคชันในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตามวิถีมุสลิม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร, 13(1), 39-55.

วรรษมน ปาพรม. (2562). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดาวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(4), 86-96.

วริสรา ศักดาจิวะเจริญ. (2553). ผลของโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/CU.the.2010.456

สมจิตต์ อุทยานสุทธิ, ศรีนวล สถิตวิทยานันท์, และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนด โรงพยาบาลตำรวจ . วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(2), 145-160.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER2/DRAWER023/GENERAL/DATA0000/00000077.PDF

สิรารักษ์ ศรีมาลา, จรัสศรี เย็นบุตร, และมาลี เอื้ออำนวย. (2556). การปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายทารกเกิดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคเหนือ. พยาบาลสาร, 40(3), 21-29.

สุมนกาญจน์ ลาภกิตติเจริญชัย. (2563). ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาผ่านไลน์แอพพลิเคชั่นที่มีต่อความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง.วารสารกรมการแพทย์, 45(3), 42-50.

สุวารี โพธิ์ศรี, และวราภรณ์ ชัยวัฒน์. (2561). ผลของโปรแกรมการเตรียมจำหน่ายทารกคลอดก่อนกำหนดโดยใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมายต่อพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดของมารดาที่บ้าน. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(พิเศษ), 177-186.

เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง, กาญจนา ปัญญาธร, นิตยากร ลุนพรหม, อุมาพร เคนศิลา, ผาณิต คำหารพล, กนธิชา จีนกลั่น, กุลณัฐ วงษาเทียม, ธัญญาลักษณ์ สาลากัน, ธัญวลัย สายสิน, นรากร บรรดาศักดิ์, นฤมล ศรีงาม, และนาราภัทร มูลเพชร. (2563). ผลของการใช้สื่อแอพพลิเคชั่นเรื่องการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อคะแนนความรู้ ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(2), 89-104.

Granero-Molina, J., Medina, I. M. F., Fernández-Sola, C., Hernández-Padilla, J. M., Lasserrotte, M. D. M. J., & Rodríguez, M. D. M. L. (2019). Experiences of mothers of extremely preterm infants after hospital discharge. Journal of Pediatric Nursing, 45, e2-e8. https://doi.org/10.1016/j.pedn.2018.12.003

Orem, D. (1991). Nursing: Concepts of Practice (4th ed.). St. Louis: Mosby year book.

World Health Organization (WHO). (2022). Preterm birth. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31