ระบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามในสถานการณ์โควิด-19: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสนามเซราะกราว
คำสำคัญ:
โควิด-19, โรงพยาบาลสนาม, การวิจัยแบบประเมินผลบทคัดย่อ
โครงการเตรียมความพร้อมโรงพยาบาลสนามจังหวัดบุรีรัมย์: กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Preparation and Deployment of the Buriram Filed Hospital: A COVID-19 Case Study [PD-BFH]) ได้ดำเนินการในช่วงที่มีการระบาดของโรคโดยมีโครงการต้นแบบน้อยมาก การวิจัยแบบประเมินผลนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการ PD-BFH ตามกรอบแนวคิดของซิป (CIPP) คือ ด้านบริบท (Context [C]) ปัจจัยนำเข้า (Input [I]) กระบวนการ (Process [P]) และผลลัพธ์ (Product [P]) มีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 50 คน ได้รับคัดเลือกแบบเจาะจงตามการมีส่วนร่วมในโครงการ เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ และการบันทึกผลลัพธ์การดำเนินโครงการ แนวคำถามการสัมภาษณ์ในส่วนที่ปรับปรุงจากต้นฉบับ และแบบบันทึกผลลัพธ์การดำเนินโครงการได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าความสอดคล้องของคำถามและจุดประสงค์มากกว่า .50 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาในด้านบริบท พบว่า โครงการ PD-BFH จัดตั้งขึ้นเพื่อชาวบุรีรัมย์ โดยได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย แต่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ด้านปัจจัยนำเข้าพบว่าโรงพยาบาลสนามใช้ระบบดำเนินการเช่นเดียวกับระบบของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ด้านกระบวนการพบว่ามีการออกแบบระบบในการรับ ส่งต่อ และจำหน่ายผู้ป่วยที่สะดวก และด้านผลลัพธ์พบว่าโรงพยาบาลสนามรับผู้ป่วยไว้รักษาจำนวน 13,425 คน โดยไม่มีผู้เสียชีวิต แต่มีผู้ปฏิบัติงานติดเชื้อร้อยละ 2.62 และพบปัญหา 4 ประเด็น คือ มีสิ่งจำเป็นต่างๆไม่เพียงพอ การสื่อสารไม่ราบรื่น เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และเกิดผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โรงพยาบาลที่ให้บริการตามปกติจึงควรพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อใช้ในกรณีที่มีการระบาดของโรค
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (กรณีมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (CVID19) ในวงกว้าง (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (covid 19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf
กิติมา ลิ้มประเสริฐ. (2565). โครงการประเมินผลการจัดบริการพยาบาลผู้สงสัยและผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารแพทย์เขต 4-5, 41(2), 193-208.
จรูญศรี มีหนองหว้า, ปัทมา ผ่องศิริ, สาดี แฮมิลตัน, สุเพียร โภคทิพย์, วิโรจน์ เซมรัมย์, เอมอร บุตรอุดม, พนัชญา ขันติจิตร, ปัฐมาพร ใจกล้า, รัตนา บุญพา, เชาวลิต ศรีเสริม, และอรดี โชคสวัสดิ์. (2565). ถอดบทเรียนการบริหารจัดการอัตรากำลังคนด้านการพยาบาลและสมรรถนะของพยาบาลเพื่อตอบสนองภาวะวิกฤตโควิด 19 ในระบบบริการทุติยภูมิและตติยภูมิเขตสุขภาพที่ 10 (รายงานวิจัยไม่ได้ตีพิมพ์). สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5768?locale-attribute=th
จิราพร เหล่าเจริญวงศ์. (2565). พื้นที่ระหว่างการควบคุม-ดูแลโรงพยาบาลสนาม สภาวะฉุกเฉิน และโรคระบาดโควิด-19. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 13(2), 1-34.
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, นพพล วิทย์วรพงศ์, ธีระ วรธนารัตน์, สุรีรัตน์ งามเกียรติไพศาล, วรากร วิมุตติไชย, ฬุฬีญา โอชารส, ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์, อารียา จิรธนานุวัฒน์, จตุรวิทย์ ทองเมือง, ทักษิณา วัชรีบูรพ์, พรหมภัสสร สุทธิโยธา, สุจิตรา วงศ์เครือศร, นรุตม์ชัย สุขพันธ์, เอกจิตรา สุขกุล, และนาถนภา คำลอยฟ้า. (2564). การตอบสนองและเตรียมการของระบบบริการสุขภาพไทยต่อวิกฤติการระบาดของ COVID 19 การดำเนินการของโรงพยาบาลและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมภายในขอบเขตของระบบสุขภาพ (รายงานวิจัยไม่ได้ตีพิมพ์). สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5392?show=full
ชลาลัย เขียวสุวรรณ, พนารัตน์ เจนจบ, เกศราภรณ์ ชูพันธ์, และสุทัตรา คงศรี. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลด้วยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนาม. พุทธชินราชเวชสาร, 39(2), 140-158.
ชาลี กริ่มใจ, ณัฏฐณิชา คุณาบุตร, เฉลิมพงศ์ ไขโพธิ์, ไกรชาติ ตันตระการอาภา, และเสวก ชมมิ่ง. (2564). บทบาทของงานวิศวกรรมในการต่อสู้กับโควิด-19 บทเรียนจากโรงพยาบาล. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา, 27(2), 61-70.
นุชรี จันทร์เอี่ยม, มาลีวรรณ เกษตรทัต, พรพิมล คุณประดิษฐ์, และศศิประภา ตันสุวัฒน์. (2564). การบริหาร จัดการระบบบริการพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 29(1), 115-128.
ปาริชาติ กาญจนวงค์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, และนภชา สิงห์วีรธรรม. (2564). ผลของการพัฒนาระบบบริการโรงพยาบาลสนามต่อการจัดการด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของบุคลากรและผู้ป่วยโควิด-19. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 11(2), 121-136.
รุ่งทิวา พิมพ์สักกะ. (2564). การจัดการทางการพยาบาลในช่วงวิกฤตการระบาดใหญ่ทั่วโลก ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารพยาบาล, 70(3), 64-71.
รุจิภาส สิริจตุภัทร, อมร ลีลารัศมี, และนาวิน ห่อทองคำ. (2564). โควิด-19 ในบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย (รายงานวิจัยไม่ได้ตีพิมพ์). สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5497?show=full
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน; สรพ.). (2563). แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการโรงพยาบาลเฉพาะกิจ COVID-19 ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2563. สืบค้นจาก https://www.ha.or.th/TH/Posts/หนังสือการพัฒนาคุณภาพ/Details/128#
สมเกียรติ พยุหเสนารักษ์, และวารุณี ระเบียบดี. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นในคุณภาพบริการภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมเชื้อโควิด-19 ของโรงพยาบาลสนามในพื้นที่จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(1), 186-203.
สินีนาฏ เนาว์สุวรรณ, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, รวิพร โรจนอาชา, และนวรัตน์ ไวชมภู. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานโรงพยาบาลสนามของพยาบาลวิชาชีพในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 14(2), 231-246.
สุมาลี นีละพันธ์. (2565). การประเมินผลการประเมินผลการจัดตั้ง community isolation ในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 อำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 7(2), 59-88.
สุวพิชญ์ โทรักษา, และวิมลสิริ แสงกรด. (2565). การศึกษากระบวนการการนํานโยบายไปปฏิบัติในการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษาเทศบาลเมืองชุมแพ. Journal of Modern Learning Development, 7(7), 248-262.
อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์, อรอนงค์ วิชัยคำ, กุลวดี อภิชาตบุตร, ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์, คัทลียา ศิริภัทรากูร แสนหลวง, และเกศราภรณ์ อุดกันทา. (2565). การศึกษาระบบบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามในสถานการณ์โควิด-19: กรณีศึกษาโรงพยาบาล. (รายงานวิจัยไม่ได้ตีพิมพ์). สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/5594?locale-attribute=th
อรรณพ พลชนะ, และฉัตรชัย มิ่งมาลัยรักษ์. (2565). การศึกษาผังโรงพยาบาลสนามเพื่อสร้างต้นแบบโรงพยาบาลสนามในอาคารสาธารณะ. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 34(1), 1-20.
อุษา คำประสิทธิ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารการพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลโนนไทย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(1), 30-44.
เอกชัย พลหนองคูณ. (2565). การวิจัยเชิงประเมินผลโครงการใกล้บ้านใกล้ใจ ห่วงใยผู้ป่วยจิตเภทในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ โรงพยาบาลปทุมรัตต์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(1), 203-216.
Graneheim, U.H., & Lundman, B. (2004). Qualitative content analysis in nursing research: concepts, procedures and measures to achieve trustworthiness. Nurse Education Today, 24(2), 105–112. https://doi.org/10.1016/j.nedt.2003.10.001
Jabbari, A., Salahi, S., Hadian, M., khakdel, Z., Hosseini, E., & Sheikhbardsiri, H. (2022). Exploring the challenges of Iranian government hospitals related to Covid-19 pandemic management: a qualitative content analysis research from the nurse’s perspective. BMC Nursing, 21(1), 1–10. https://doi.org/10.1186/s12912-022-01008-8
Lincoln, Y. S. & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. Newbury Park, CA: Sage Publications.
Meta Media Technology. (2003). เซราะกราว. Retrieved from https://dict.longdo.com/search/*เซราะกราว*
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation theory, models and applications. San Francisco: Jossey- Bass.
Word Health Organization. (2013). Health 2020: A European policy framework and strategy for the 21st century. Retrieved from https://www.euro.who.int/__data/assets/pdf_file/0011/199532/Health2020-Long.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว