ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในสตรีตั้งครรภ์ที่มี ภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน

ผู้แต่ง

  • บุญมี ภูด่านงัว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จารุวรรณ ก้าวหน้าไกล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุภาพร สุภาทวีวัฒน์ โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด, สตรีตั้งครรภ์, ภาวะน้ำหนักเกิน, ภาวะอ้วน

บทคัดย่อ

ภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนในสตรีตั้งครรภ์ เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด การศึกษาแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วน เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนที่มาคลอดระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564 ณ ห้องคลอด โรงพยาบาลประจำจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 673 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ และ Fisher Exact test ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านมารดา ได้แก่ น้ำหนักตัวก่อนการตั้งครรภ์ (χ2[1, n = 673] = 7.19, p = .016) น้ำหนักสะสมตลอดการตั้งครรภ์ (χ2[3, n = 673] = 18.13, p = .001) จำนวนครั้งของการฝากครรภ์ (χ2[3, n = 671] = 19.00, p = .023) ภาวะน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด (χ2[1, n = 673] = 8.05, p =.019) อายุครรภ์เมื่อคลอด (χ2[2, n = 673] = 49.32, p = .000) การชักนำการคลอด (χ2[1, n = 673] = 9.02, p =.008) ปัจจัยด้านทารก ได้แก่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด (χ2[1, n = 673] = 65.57, p = .000) ทารกที่คลอดใกล้เกินกำหนด (χ2[1, n = 673] = 21.00, p = .001) และทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม (χ2[1, n = 673] = 50.45, p = .000) มีความสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการศึกษา พยาบาลผดุงครรภ์สามารถนำไปเป็นข้อมูลเพื่อหาแนวทางป้องกันภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ตั้งแต่การประเมินปัจจัยที่เสี่ยงและลดโอกาสเกิดปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมน้ำหนักก่อนและตลอดการตั้งครรภ์ให้เหมาะสม รวมถึงการเตรียมพร้อมเพื่อดูแลสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ทั้งในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดลดลง

References

กองบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2566). อัตราการเกิดภาวะขาดอากาศในทารกแรกเกิด (Birth Asphyxia Rate). http://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/birthasphyxia/index?year=2022

งานห้องคลอด โรงพยาบาลมหาสารคาม. (2564). สถิติงานห้องคลอด โรงพยาบาลมหาสารคาม. มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม.

จิรัสย์พล ไทยานันท์. (2565). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 17(2), 28-41.

ฐิติมา คาระบุตร. (2564). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักและการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตามเกณฑ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา.

นภาภรณ์ เกตุทอง, ณัฐพร อุทัยธรรม, ชณุตพร สมใจ และสุชาดา บุญธรรม. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อ พฤติกรรมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน (รายงานการวิจัย). วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.

มนตรี ภูริปัญญวาณิช. (2561). การพัฒนาคุณภาพงานบริการเพื่อลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลเสนา. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์, 22(2), 75-81.

สมบัติ ศักดิ์สว่างวงษ์, และสุธีร์ รัตนะมงคลสกุล. (2562). ปัจจัยเสี่ยงและคะแนนความเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกุมภาวาปี จ.อุดรธานี. เวชสารแพทย์ทหารบก, 72(1), 41-52.

สุจิตรา จันทสิงห์ (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดที่มีคะแนนแอพการ์ ใน 1 นาที น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 ในโรงพยาบาลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(3), 679 – 688.

สุนิดา พรรณะ. (2563). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลหนองคาย. ศรีนครินทร์เวชสาร, 35(3), 278 – 286.

สุพิศ ศิริอรุณรัตน์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี และวรรณี เดียวอิศเรศ. (2561). ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินเกณฑ์ขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 32(3), 19-36.

สุภางค์พิมพ์ รัตตสัมพันธ์. (2561). ภาวะอ้วนในสตรีตั้งครรภ์: ผลกระทบต่อสุขภาพและการพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(1), 120-128.

อรวรรณ พินิจเลิศสกุล, และศุภาวดี วายุเหือด. (2564). ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนในสตรีตั้งครรภ์: บทบาทที่ท้าทายของพยาบาลผดุงครรภ์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 39(1), 29-38.

Feng, N., & Huang, X. (2021). Effect of pre-pregnancy body mass index and gestational weight gain on perinatal outcome. International Journal of Clinical and Experimental Medicine, 14(8), 2018-2188.

Liu, L., Ma, Y., Wang, N., Lin, W., Liu, Y., & Wen, D. (2019). Maternal body mass index and risk of neonatal adverse outcomes in China: a systematic review and meta-analysis. BMC Pregnancy and Childbirth, 19(1), 105. https://doi.org/10.1186/s12884-019-2249-z

Rainaldi, M.A., & Periman, J.M. (2016). Pathophysiology of Birth Asphyxia. Clinics in Perinatology, 43, 409-222. https://doi.org/10.1016/j.clp.2016.04.002

Stubert, J., Reister, F., Hartmann, S., & Janni, W. (2018). The risks associated with obesity in pregnancy. Deutsches Arzteblatt International, 115, 276-283. https://doi.org/10.3238/arztebl.2018.0276

World Health Organization (WHO). (‎2015)‎. International statistical classification of diseases and related health problems, 10th revision, Fifth edition, 2016. https://apps.who.int/iris/handle/10665/246208

World Health Organization (WHO). (2022). Perinatal asphyxia. https://www.who.int/teams/maternal-newborn-child-adolescent-health-and-ageing/newborn-health/perinatal-asphyxia#:~:text=Birth%20asphyxia%2C%20

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25