ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับ การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Caregiver) ตามทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ญาติผู้ดูแล, ติดบ้านติดเตียงบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง และความคาดหวังที่มีต่อทักษะในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในระยะก่อนและหลังการทดลอง ของอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยการเลือกแบบเฉพะเจาะจง จัดกระทำผ่านโปรแกรมส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Caregiver) ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของผู้ดูแลที่ผ่านการอบรมโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแล ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการสร้างแกนนำผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน จำนวน 30 คน โปรแกรมส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Caregiver) เป็นการจัดรูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเอง ด้วยประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ การใช้ตัวแบบ หรือประสบการณ์ของผู้อื่น การชักจูงด้วยคำพูด และ การกระตุ้นทางอารมณ์ ผู้ดูแลผู้ป่วยหลังได้รับการอบรมโปรแกรมส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ตัวแปรศึกษาที่มีค่าคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ค่าคะแนนความรู้ ค่าคะแนนการรับรู้ความสามารถตนเอง และค่าคะแนนทักษะในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
References
กนกพร ไพศาลสุจารีกุล, พิทักษ์ อยู่มี, และยุวดี ตรงต่อกิจ. (2563). การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบสื่อประสมเรื่องโรคเบาหวานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 14(2), 460-472.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุไทย ปี 2565 โดยกลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กรมกิจการผู้สูงอายุ. สืบค้น 15 มกราคม 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1962
กฤษณา ภูพลผัน, นวลละออ แสงสุข, ชมสุภัค ครุฑกะ, และบุญมี พันธ์ไทย. (2562). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของพี่เลี้ยงอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(1), 22-31.
ณปภา ประยูรวงษ์. (2565). สถานการณ์แนวโน้มและการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงประเทศไทย. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 2(2), 14-25
ธัญพร สมันตรัฐ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงแบบ “3ต”. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(36), 35-48.
นันทนา คงพัฒนานนท์, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, และ ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. (2563). ผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะแห่งตนกับการฝึกอบรมแบบสอนแนะต่อพฤติกรรม. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(1), 112-122.
เนตรนภา สาสังข์, ทัศพร ชูศักดิ์, และอารีย์ เสนีย์. (2563). ผลของโปรแกรมการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพต่อความรู้ ทักษะและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(3), 283-293.
ประภาพร เมืองแก้ว, นภดล เลือดนักรบ, และอนัญตญา จันทรมณี. (2564). รูปแบบการขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงในเขตพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 13(2), 30-44.
พระพงศ์พัสกร ธมฺมปารคู, พระมหาประกาศิต สิริเมโธ, และอุบล วุฒิพรโสภณ. (2564). การพัฒนาศักยภาพผู้บริบาลผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(2), 33-42.
พีสสลัลฌ์ ธารงศ์วรกุล. (2565). ผลของโปรแกรมฝึกอบรมการปรึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และเจตคติต่อการปรึกษา: กรณีศึกษาอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้านในวิกฤตการณ์แพร่เชื้อไวรัสโคโรนา. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(1), 172-198.
รชานนท์ ง่วนใจรัก, นฤพร พร่องครบุรี, วรลักษณ์ สมบูรณ์นาดี, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์, และ อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแนวใหม่ด้วยหลัก 4 อ. ตำบลตะขบอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขศึกษา, 45(1), 40-55.
วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ. (2562). สังคมผู้สูงอายุ: ปัจจัยการตลาดที่เปลี่ยนไป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 38-54.
สายใจ จารุจิตร, ราตรี อร่ามศิลป์, และวรรณศิริ ประจันโน. (2562). รูปแบบการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงตามปัญหาและความต้องการของผู้ดูแล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(1), 54-68.
สุรพงษ์ มาลี. (2561). เตรียมความพร้อมกำลังคนภาครัฐสู่สังคมสูงอายุอย่างไร? แกะรอยยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ. วารสารข้าราชการ, 60(4), 9-11.
สุวรรณา วุฒิรณฤทธิ์, และวลัยนารี พรมลา. (2564). การดูแลผู้สูงอายุติดเตียง: การทบทวนอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลทหารบก, 22(3), 367-375.
อุบล ไตรถวิล. (2561). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลต่อความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(2), 269-281.
Bandura, A. (1997). Principle of behavior modification. Renehart and winston.
Polit D.F. & Hungler B.P. (1995). Nursing research : principles and methods. Philadelphia, PA: Lippincott
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว