ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของแกนนำผู้ดูแลสุขภาพพระสงฆ์และพระสงฆ์ เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพระสงฆ์

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา วิศิษฏ์เจริญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • วิไลวรรณ ปะธิเก นักวิชาการอิสระ
  • หทัยรัตน์ ชลเจริญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เพ็ญประภา สุธรรมมา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

พระสงฆ์, การเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน, แกนนำผู้ดูแลสุขภาพพระสงฆ์

บทคัดย่อ

พระสงฆ์ได้รับการถวายอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพและมีการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม ส่งผลทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง งานวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดซ้ำกลุ่มเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของแกนนำผู้ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ในการเลือกถวายอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพระสงฆ์ และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของพระสงฆ์ในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยวัดก่อนเริ่มโปรแกรม หลังเสร็จสิ้นโปรแกรมทันทีและหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมแล้ว 3 เดือน ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับการเสริมสร้างศักยภาพตามรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน โดยเป็นแกนนำผู้ดูแลสุขภาพพระสงฆ์จำนวน 32 คน และพระสงฆ์ที่ได้รับการดูแลสุขภาพจากแกนนำผู้ดูแลสุขภาพพระสงฆ์จำนวน 30 รูป เครื่องมือที่ใช้คือ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน แบบประเมิน “บาตรไทย ไกลโรค สำหรับฆราวาส” ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.85 และแบบประเมิน “พินิจ โภชนา ปานะ กายะ กิจกรรม”  สำหรับพระสงฆ์ ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมของแกนนำผู้ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ในการเลือกถวายอาหารเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพระสงฆ์เพิ่มขึ้นจากก่อนเริ่มโปรแกรม หลังเสร็จสิ้นโปรแกรมทันที และหลังเสร็จสิ้นโปรแกรม 3 เดือน (p = .002) เช่นเดียวกับคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมของพระสงฆ์เพิ่มขึ้นทั้งก่อนเริ่มโปรแกรม หลังเสร็จสิ้นโปรแกรมทันทีและหลังเสร็จสิ้นโปรแกรม 3 เดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .014)  ดังนั้น โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน สามารถใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกถวายอาหารของแกนนำผู้ดูแลสุขภาพพระสงฆ์และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกฉันอาหารและเพิ่มกิจกรรมทางกายของพระสงฆ์ได้

References

กรมอนามัย กองแผนงาน. (2561). โครงการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุและพระสงฆ์ ปี 2563 https://doc.anamai.moph.go.th/index.php?r=str-project/view&id=3719

ขนิษฐา วิศิษฏ์เจริญ, และ วิไลวรรณ ปะธิเก. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนในการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพระสงฆ์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 3(2), 1-16.

ขนิษฐา วิศิษฏ์เจริญ, วราภรณ์ บุญเชียง, และ วรรณเขตต์ หินเงิน. (2561). โครงการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้าง พลังอำนาจชุมชนต่อความตระหนักในการป้องกันโรคเบาหวานในพระสงฆ์ ตำบลสันทรายมหาวงศ์ และตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จงจิตร อังคทะวานิช. (2557). การขยายผลสื่อสงฆ์ไทย ไกลโรค เพื่อนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขการเกิดโรคเรื้อรังและการมีสุขภาวะที่ยั่งยืน เพื่อพัฒนา “สงฆ์ต้นแบบโภชนาดี ชีวียั่งยืน” และ “ฆราวาสเกื้อกูล หนุนโภชนาดี” (รายงานวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

จงจิตร อังคทะวานิช, รุ่งฉัตร อำนวย, และ พรชนก เศรษฐอนุกูล. (2560). บาตรไทย ไกลโรค 4.0 (พิมพ์ครั้งที่ 5). ปัญญมิตร การพิมพ์.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ส่วนกิจการเพื่อสังคม. (2565). รายงานโครงการบูรณาการพัฒนาต้นแบบเพื่อการจัดการด้านสุขภาวะองค์รวม องครักษ์โมเดล. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศนิกานต์ ศรีมณี, ชนิดา มัททวางกูร, พรพิมล ภูมิฤทธิกุล, ระชี ดิษฐจร, และ พรรณี ตรังคสันต์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของพระสงฆ์และพฤติกรรมการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ของประชาชนในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(37), 22-38.

สนธนา ศรีฟ้า (2560). การศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุในจังหวัดปัตตานี. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/11754/1/TC1421.pdf

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ไทย. https://www.thaihealth.or.th/?p=221142

อุมาพร นิ่มตระกูล, และ พระวิสิทธิ์ ฐิตฺวิสิทฺโธ (2563). พฤติกรรมสุขภาพของพระสงฆ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพจากพระคิลานุปัฏฐากสู่พระนักสื่อสารในเขตสุขภาพที่ 1. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 11(1), 33-51.

Chandra, S., Mohammadnezhad, M., & Ward, P. (2018). Trust and Communication in a Doctor- Patient Relationship: A Literature Review. Journal of Healthcare Communications, 3(3), 1-6. https://www.primescholars.com/articles/trust-and-communication-in-a-doctorpatient-relationship-a-literature-review.pdf

Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences (Rev. ed.). Hillsdale, NJ, US, Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L. & Parsons, M. A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice (4th ed.). Pearson Education, Inc.

Rahmati, R., Khadivzadeh, T., & Esmaily, H. (2020). Comparison of the effect of two training methods (webinar and group discussion) on improving the attitude and performance of health workers in providing counseling with fertility promotion approach. Journal of Education and Health Promotion, 9(1), 1-7. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7709760/pdf/JEHP-9-280.pdf

Ramadhan, N., & Surya, E. (2017). The implementation of demonstration method to increase students' ability in operating multiple numbers by using concrete object. International Journal of Sciences: Basic and Applied Research (IJSBAR), 34(2), 62-68.

Rissel, C. (1994). Empowerment: The holy grail of health promotion? Health Promotion International, 9(1), 39-47.

Veronese, N., Solmi, M., Caruso, M. G., Giannelli, G., Osella, A. R., Evangelou, E., Maggi, S., Fontana, L., Stubbs, B., & Tzoulaki, I. (2018). Dietary fiber and health outcomes: an umbrella review of systematic reviews and meta-analyses. The American Journal of Clinical Nutrition, 107(3), 436-444. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0002916522028131?via%3Dihub

Wisitcharoen, K., Boonchieng, W., Suwanprapisa, T., & Buddhirakkul, P. (2016). The effects of a community empowerment program on community awareness and capacity among stakeholders in diabetes prevention in Buddhist monks. ASR Chiang Mai University Journal of Social Sciences and Humanities, 3(2), 133-149. https://doi.org/10.12982/CMUJASR.2016.0008

Zhang, Y., & Chu, L. (2018). Effectiveness of systematic health education model for type 2 diabetes patients. International journal of endocrinology, 2018, 1-9. https://doi.org/10.1155/2018/6530607

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-03