การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อติดตามและเตือนอาการผิดปกติ ต่อความรู้ พฤติกรรมการปฏิบัติตัว และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • สกลสุภา สิงคิบุตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เรืองฤทธิ์ โทรพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เพชรรัตน์ พิบาลวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โรคเบาหวาน, แอปพลิเคชันไลน์, ระดับความรู้, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

บทคัดย่อ

แอปพลิเคชันเป็นช่องค้นหาความรู้ ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเอง มีพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาปัญหา สืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ พัฒนาแอปพลิเคชัน และนำแอปพลิเคชันไปใช้ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีโทรศัพท์ระบบแอนดรอยด์ จำนวน 100 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แอปพลิเคชัน 2) แบบสอบถามความรู้ ค่าความเชื่อมั่น KR 20 เท่ากับ 0.91 และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 และ 3) แบบบันทึกค่าน้ำตาลในเลือด ค่าความตรงเนื้อทุกชุดเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบทีคู่ ผลการวิจัย 1) ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ 2) พบหลักฐานเชิงประจักษ์ จำนวน 12 เรื่อง 3) พัฒนาแอปพลิเคชัน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเนื้อหาเท่ากับ 1 และตรวจสอบสามเส้า ความพึงพอใจผู้ใช้แอปพลิเคชันอยู่ในระดับมากที่สุด  4 ) หลังใช้แอปพลิเคชันมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ (M = 9.50, SD = 0.74) สูงกว่าก่อนใช้ (M = 8.94, SD = 1.08), t(99) = -7.15, p < .001, d = 0.60 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพหลังใช้ (M = 2.95, SD = 0.03) สูงกว่ากว่าก่อนใช้ (M = 2.84, SD = 0.02), t(99) = -37.80, p < .001, d = 3.33  และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลหลังใช้ (M = 184, SD = 39.74) ต่ำกว่าก่อนใช้ (M = 137.46, SD = 34.48), t(99) = 14.14, p < .001, d = 1.12  อย่างมีนัยสำคัญ  แอปพลิเคชันนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง แนวทางการปรับพฤติกรรมและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ซึ่งใช้ได้จริงกับผู้ป่วยเบาหวาน

References

จรัสดาว เรโนลด์, ศิริพรรณ ปิติมานะอารี, และสุมิตรา ชูแกว. (2562). การส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อ เทคโนโลยีเสมือนจริง Augmented reality (AR) กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน (รายงานการวิจัย). คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.

จันทิรา แซ่เตี่ยว. (2559). พฤติกรรมการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน สำหรับวัยกลางคน (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2899/1/RMUTT-154357.pdf

ชัชลิต รัตรสาร. (2560). สถานการณ์ปัจจุบัน และความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย. https://www.novonordisk.com/content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/more-about-how-we-work/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand%20Blueprint%20for%20Change_2017_TH.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

ธีระ กุลสวัสดิ์. (2558, 19 มิถุนายน). การหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย. https://km.buu.ac.th/public/backend/upload/article/file/document144620064347362700.pdf

นิอร สิริมงคลเลิศกุล, ชมพูนุท สิงห์มณี, ธัญพร รัตนวิชัย, และศราวุธ พงษ์ลี้รัตน์. (2563). การพัฒนาแอพพลิเคชันตามผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน. เวชสารแพทย์ทหารบก, 73(3), 141-50

ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559, 11 มิถุนายน). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. http://edu.yru.ac.th/evaluate/attach/1465551003_เอกสารประกอบการอบรม.pdf

ภรณ์ทิพย์ ศรีสุข, และนงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. (2565). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมอาหารคาร์โบไฮเดรตและส่งเสริมการออกกําลังกาย ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี, 30(1), 12-23.

ภูเบตร พัฒนากร. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสนทนาสร้างแรงจูงใจในพยาบาลต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. ยโสธรเวชสาร, 24(1), 106-15.

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. (2544). คำแนะนำการสร้าง “แนวทางเวชปฏิบัติ” (Clinical Practice Guidelines). สารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย, 18(6); 36–47.

ยุวนุช กุลาตี, พัชรนิกานต์ พงษ์ธนู, และชินาพัฒน์ สกุลราศรีสวย. (2562). แอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับดูแลผู้ป่วยเบาหวานการศึกษาพฤติกรรมในประเทศไทย. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11, 7-22.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, และสุธิดา แก้วทา. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

Birinci, S., & Sur, H. (2023). Cost of diabetes mellitus and related macrovascular complications in Turkiye. Northern Clinics Of Istanbul, 10(4), 418–427.

Bonoto, B. C., Araújo, V. E., Godói, I. P., Lemos, L. L. P., Godman, B., Bennie, M., Diniz, L.M., & Junior, G. A. A. (2017). Efficacy of mobile apps to support the care of patients with diabetes mellitus: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Journal of Medical Internet Research mhealth and uhealth, 5(3), e4; 1-16. https://mhealth.jmir.org/2017/3/e4/

Pao-in, W. (2017). Thailand health 4.0 challenges and opportunities. Journal of the Thai Medical แInformatics Association, 1, 31-36.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Lynn, M. R. (1986). Determination and quantification of content validity. Nursing Research, 35(6), 382–385. https://doi.org/10.1097/00006199-198611000-00017

Soukup, S. M. (2000). Evidence-based practice model promoting the scholarship of practice. In S. M. Soukup, & C. F. Beason (Eds.), Nursing Clinic of North America. WB Saunders.

World Health Organization. (‎2018)‎. Noncommunicable diseases country profiles 2018. WHO. https://www.who.int/publications/i/item/9789241514620

Zhang, X. (2016). Application of health education in nursing care of diabetes patients. Journal of Nursing, 5(2). 13-15. https://doi.org/10.18686/jn.v4i3.19

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-19