ผลของโปรแกรมสถาบันอุดมศึกษาปลอดบุหรี่ออนไลน์ ต่อความรู้เกี่ยวกับ นโยบายสถาบันปลอดบุหรี่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของบุคลากรและนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นคราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เขมิกา ณภัทรเดชานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • อิสราวรรณ สนธิภูมาศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นคราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รสสุคนธ์ พิไชยแพทย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นคราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อภิรดี สุขแสงดาว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นคราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โปรแกรมสถาบันอุดมศึกษาปลอดบุหรี่ออนไลน์, ความรู้เกี่ยวกับนโยบายสถาบันปลอดบุหรี่, ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่, พฤติกรรมการสูบบุหรี่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความชุกในการสูบบุหรี่ของบุคลากร และนักศึกษา 2) เปรียบเทียบความรู้เรื่องนโยบายสถาบันปลอดบุหรี่ และทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ของบุคลากร และนักศึกษา ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมสถาบันปลอดบุหรี่ออนไลน์ และ  3) เปรียบเทียบจำนวนผู้สูบบุหรี่ของบุคลากร และนักศึกษาก่อนและหลังการใช้โปรแกรมสถาบันปลอดบุหรี่ออนไลน์ ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือบุคลากร และนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 291 คนใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย ตามสัดส่วนของประชากรแต่ละกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามวัดความรู้เรื่องนโยบายสถาบันปลอดบุหรี่ 2) แบบสอบถามวัดทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ และ3) แบบสอบถามวัดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณา และสถิติทดสอบ Paired T-Test ผลการศึกษา พบว่า 1) ความชุกของผู้มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดของวิทยาลัย จำนวน 5 คน ร้อยละ 1.74 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องนโยบายสถาบันปลอดบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษา หลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ        ที่ระดับ .05 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษา หลังการได้รับโปรแกรม สูงกว่าก่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 4) เปรียบเทียบจำนวนผู้สูบบุหรี่ ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม คือยังคงมีผู้สูบบุหรี่ จำนวน 5 คน สรุปว่าการได้รับโปรแกรมส่งผลให้เพิ่มความรู้เกี่ยวกับนโยบายสถาบันอุดมศึกษาปลอดบุหรี่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ของกลุ่มตัวอย่างได้ แต่ไม่สามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่

References

กัลยรัตน์ เมธาธีวสุกุล, สุชาติ คำปลิว, สุปราณี ธรฤทธิ์, และอัญชลีพร ศิริ. (2566). รายงานประจำปี 2566 กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ. กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ.

กู้เกียรติ ก้อนแก้ว, วิภาดา ศรีเจริญ, และเอกภพ จันทร์สุคนธ์. (2562). รูปแบบมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามปลอดบุหรี่. วารสารควบคุมโรค, 45(4), 368–379.

จิรวุฒิ กุจะพันธ์, วรารัตน์ สังวะลี, และนาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ. (2563). รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่. วารสาร มฉก. วิชาการ, 24(1), 10–20.

ฐิติภัทร จันเกษม, และธนัช กนกเทศ. (2564). การประเมินนโยบายการควบคุมการบริโภคยาสูบในเยาวชนไทย ด้วยกรอบยุทธศาสตร์ MPOWER. วารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์., 15(3), 14–29.

ธิราพร คงสุวรรณ, ตอยีบ๊ะ สะแลแม, ชลิตา รักกะเปา, รวิภา บัวมา, สุรชัย สังข์งาม, พรนิวัฒน์ โสมณวัฒน์, และคณิต หนูพลอย. (2564). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย, 3(1), 1–9.

นัฐวดี อาระสา, ฉวีวรรณ บุญสุยา, และวศิน พิพัฒนฉัตร. (2567). การสูบบุหรี่และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของเยาวชนในสถานศึกษา. วารสารควบคุมโรค, 50(1), 137–147. https://doi.org/10.14456/dcj.2024.12

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องลักษณะและวิธีการในการแสดงเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ และเครื่องหมายเขตสูบบุหรี่ พ.ศ. 2561, (2561, 5 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 279 ง. หน้า 24–26.

พรนภา ประยศ. (2565). การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข โรงเรียนแม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรี อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(6), 401–417.

พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560, (2560, 5 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 39 ก. หน้า 27–47.

พัตราภาณ์ พนัสชัย. (2566). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 4(2), 8–21.

พีรยา สุธีรางกูร, และกัลยา ศารทูลทัต. (2564). ควันบุหรี่มือสองและการติดนิโคตินของนักศึกษาและบุคลากร: กรณีศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 15(1), 205–217.

เพชรรัตน์ กิจสนาโยธิน. (2563). ความชุกและผลกระทบทางสุขภาพจากการสูบบุหรี่ของประชาชนวัยทำงาน จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 7(3). https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/246827/167479

รัชชนก สวนสีดา, และกานต์ เชื้อวงศ์, ร. (2566). การสื่อสารเพื่อรณรงค์การควบคุมบุหรี่ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี. วารสารร่มยูงทอง, 1(3), 44–62.

รัตนาภรณ์ ขจัดมลทิน. (2565). การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านม่วงใหญ่ อำเภอโพธิ์ไทร. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 783–796.

วีณัฐ สกุลหอม, พรเทพ ลี่ทองอิน, มงคลชัย บุญแก้ว, และอัษฎา พลอยโสภณ. (2565). การพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่แบบมีส่วนร่วม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(2), 82–97.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). ควันบุหรี่มือสองคร่าชีวิตคนไทยจำนวนมาก. สืบค้นจาก https://kku.world/az954

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560. สำนักงาน.

เสถียร พูลผล, นฤมล โพธิ์ศรีทอง, อรวรรณ จิตรวาณิช, และรักษ์จินดา วัฒนาลัย. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(1), 1107–1125.

เสาวลักษณ์ ลักษมีจรัลกุล, ปางก์เพ็ญ เหลืองเอกทิน, และศิริลักษณ์ วงษ์วิจิตสุข. (2557). การประเมินผลโครงการรณรงค์เลิกบุหรี่ของบุคคลากรมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. อนงค์ วรรณสอน. (2565). การถอดบทเรียน: ปัจจัยความสำเร็จการดำเนินการสถานศึกษาปลอดบุหรี่ต้นแบบ จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 28(2), 33–42.

อภิญญา เอี่ยมสุวรรณ, กุลภัสสรณ์ ศิริมนัสสกุล, พงศ์ธร มีสรรพวงศ์, และภคกุล กุลสุวรรณ. (2566). การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฉบับขยาย พ.ศ. 2563—2564 ในระดับพื้นที่. กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค.

Bartington, S. E., Wootton, R., Hawkins, P., Farley, A., Jones, L. L., & Haroon, S. (2020). Smoking behaviours and attitudes towards campus-wide tobacco control policies among staff and students: A cross-sectional survey at the University of Birmingham. BMC Public Health, 20(1), 252. https://doi.org/10.1186/s12889-020-8321-9

Bennett, B. L., Deiner, M., & Pokhrel, P. (2017). College anti-smoking policies and student smoking behavior: A review of the literature. Tobacco Induced Diseases, 15, 11. https://doi.org/10.1186/s12971-017-0117-z

Chaaya, M., Farran, D., Saab, D., Al-Hindi, M., Romani, M., Khairallah, M., & Nakkash, R. (2021). Influence of a university tobacco-free policy on the attitudes, perceptions of compliance, and policy benefit among the university students: A pre-post investigation. International Journal of Public Health, 66, 614602. https://doi.org/10.3389/ijph.2021.614602

Mohmad, S., & Ismail, A. (2021). Smoking behaviors and attitudes towards the smoke-free campus policy: A systematic review. Malaysian Journal of Public Health Medicine, 21(3), 124–135. https://doi.org/10.37268/mjphm/vol.21/no.3/art.1095

Ramachandran, S., Bentley, S., Casey, E., & Bentley, J. P. (2020). Prevalence of and factors associated with violations of a campus smoke-free policy: A cross-sectional survey of undergraduate students on a university campus in the USA. BMJ Open, 10(3), e030504. https://doi.org/10.1136/bmjopen-2019-030504

Thuksin, T., Nopparat, C., & Sriwarom, T. (2021). The application program of smoking free university policy campaign in Sisaket Rajabhat University. Indian Journal of Forensic Medicine & Toxicology, 15(4), 2685–2690.

World Health Organization. (2008). MPOWER: A policy package to reverse the tobacco epidemic. Retrieved from https://kku.world/9cnnp

World Health Organization. (2023). Tobacco. Retrieved from https://kku.world/km2fm

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-05