ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะซึมเศร้ากับการปรับตัว ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยทำงาน

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์สิทธิ์ รอมไธสง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นริสา วงศ์พนารักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, การปรับตัว, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยทำงาน

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยทำงานมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบทางลบต่อครอบครัว และสังคมการปรับตัวอย่างมีประสิทธิภาพมีความสำคัญต่อการเผชิญความเจ็บป่วยและการเปลี่ยนแปลงบทบาท การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะซึมเศร้ากับการปรับตัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยทำงานที่มารับบริการในคลินิกโรคซึมเศร้า แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ได้จากการใช้โปรแกรม G* Power จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า มีความเที่ยง 0.83 และ 3) แบบสอบถามการปรับตัว มีความเที่ยง 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยทำงาน มีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับน้อยมาก (M = 6.99, SD = .56) การปรับตัวอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.31, SD = .58) ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงกับการปรับตัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.607, df = 2, p < .01) และมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงกับการปรับตัวด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านการพึ่งพาระหว่างกัน (r = -.638, r = -.666, r = -.549, r = -.636, p < .01) ตามลำดับ ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับพยาบาลจิตเวช นำไปใช้ในการพยาบาลและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการปรับตัวที่ดีในผู้ป่วยซึมเศร้าวัยทำงานต่อไป

References

กรมสุขภาพจิต. (2562). “โรคซึมเศร้า” ทำใจพัง เช็กลิสต์สาเหตุและอาการ. https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30114

กลุ่มพัฒนาระบบข้อมูล กองแผนงาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ข้อมูลประชากรวัยทำงาน ปีงบประมาณ 2566. ฐานข้อมูลกลาง กรมอนามัย. https://dohdatacenter.anamai.moph.go.th/index.php?r=groupdata/index&group=1&id=3

กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย. (2565). รอบรู้ สุขภาพวัยทำงาน. บริษัท คิวคัมเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด.

คันธรส สุขกุล, และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2562). ภาวะซึมเศร้าในประชากรวัยแรงงาน: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแนวทางการดูแล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(2), 229-238.

ฉัตรสุดา มาทา, ชลธิชา อินปั๋น, ภัทรนัย ไชยพรม, พลอยดาว พรมชาติ, และอัญชลา รัตนธนากร. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยทำงาน: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในอำเภอ งาว จังหวัด ลำปาง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 32(3), 187-197.

ชิตชวรรณ คงเกษม, สุนีย์ ละกำปั่น, และปิยะธิดา จึงสมาน. (2560). โปรแกรมส่งเสริมการปรับตัวสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รักษาด้วยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(1), 75-89.

ณัฐสุดา แสงบุญ, มุกดา เดชประพนธ์, และสุปรีดา มั่นคง. (2563). การปรับตัวในผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(1), 29-42.

นันทภัค ชนะพันธ์. (2563). ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า: บทบาทพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วย. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 32(1), 75-88.

นุชนาถ สุวรรณประทีป. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. https://webopac.lib.buu.ac.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00226811

ปราลีณา ทองศรี, อารยา เชียงของ, และธนยศ สุมาลย์โรจน. (2561). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าในข้าราชการตำรวจจราจรเขตนครบาล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 32(1), 59-76.

รพีพรรณ สารสมัคร. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในจังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 15(2), 92-107.

รวิพรรดิ พูลลาภ. (2560). ภาวะซึมเศร้า การคิดฆ่าตัวตาย ความเครียด และการจัดการความเครียดของประชาชนในชุมชนน้ำจำและชุมชนบ้านเด่น ตำบลเมืองพาน อำเภอเมืองพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 72-85.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). สถิติผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (2562 - 2565). กลุ่มรายงานมาตรฐาน. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์. (2566). รายงานสรุปผลการมารับบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าปีงบประมาณ 2562-2565. โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์.

วราพร ศรีภิรมย์, โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์, และวรภัทร รัตอาภา. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ

การปรับตัวในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหญิงวัยกลางคน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 34(3), 20-42.

สร้อยสุดา อิ่มอรุณรักษ์, ปิยะทิพย์ ประดุจพรม และปริญญา เรืองทิพย์. (2564). การพัฒนามาตรวัดความสุขในการทำงานของวัยทำงานด้วยการประยุกต์ โมเดลการตอบสนองข้อสอบ: การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(2), 157-175.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (2561). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2543-2573.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย 2543-2573. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=137

สินเงิน สุขสมปอง, สาวิตรี แสงสว่าง, ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, และวัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์. (2559). ความชุก ของโรคจิตเวชในสังคม เมืองและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง: การทบทวนวรรณกรรม.วารสารสวนปรุง, 32(1), 28-41.

อภิรดา สร้อยสน. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการปรับตัวของผู้ป่วยหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น].https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/249751.

อรพิน คำโต, และรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 28(2), 74-87.

Cohen, S., & Williamson, G. (1988). Perceived stress in a probability sample of the

United States. The Social Psychology of Health,3(1), 31-63.

Erikson, E. H. (1964). Insight and responsibility: Lectures on the ethical implications of psychoanalytic insight. W W Norton & Co.

Fiskin, G., Kaydirak, M. M., & Oskay, U. Y. (2017). Psychosocial adaptation and depressive manifestations in high‐risk pregnant women: implications for clinical practice. Worldviews on Evidence‐Based Nursing, 14(1), 55-64. https://doi.org/10.1111/wvn.12186

Ghanbari-Afra, L., & Ghanbari-Afra, M. (2022). Roy Adaptation Model for Patients with Hypertension: A Case Report. Journal of Vessels and Circulation, 3(1), 43-50. https://doi.org/10.32598/JVC.3.1.102.1

Hosseini, M., & Soltanian, M. (2022). Application of Roy’s Adaptation Model in Clinical Nursing: A Systematic Review. Journal of Iranian Medical Council, 5(4), 540-556. https://doi.org/10.18502/jimc.v5i4.11327

Institute of Health Metrics and Evaluation. (2023). Global Health Data Exchange (GHDx). GBD Results. https://vizhub.healthdata.org/gbd-results/

King, R. B., Shade-Zeldow, Y., Carlson, C. E., Feldman, J. L., & Philip, M. (2002). Adaptation to stroke: A longitudinal study of depressive symptoms, physical health, and coping process. Topics in Stroke Rehabilitation, 9(1), 46–66. https://doi.org/10.1310/KDTA-WELC-T2WR-X51W

Mishra, P., Pandey, C. M., Singh, U., Gupta, A., Sahu, C., & Keshri, A. (2019). Descriptive statistics and normality tests for statistical data. Annals of Cardiac Anaesthesia, 22(1), 67–72. https://doi.org/10.4103/aca.ACA_157_18

Roy, C. (1991). The Roy adaptation model. The definitive statement. Appleton & Lange.

Roy, C., & Andrews, H. A. (1999). The Roy adaptation model. Stamford, CT: Appleton & Lange.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-01