ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • จรรยา แก้วใจบุญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • ดลฤดี เพชรขว้าง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • ทิติยา กาวิละ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • วรินทร์ธร พันธ์วงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • กัลยา จันทร์สุข โรงพยาบาลพะเยา

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, พฤติกรรมการป้องกันโควิด-19, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่มีการระบาดทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนตลอดจนหญิงตั้งครรภ์ในวงกว้าง การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลพะเยา ในระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน 2565 จำนวน 152 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด-19  การรับรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 และพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคโควิด-19 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s correlation)  ผลการศึกษา พบว่า  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ต่อการติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับดี ร้อยละ 75 รองลงมาคือ มีความรู้ระดับปานกลาง ร้อยละ 21.10 ด้านการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์ พบว่า มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M =4.21, SD = 0.56)  และค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับดี (M=1.73, SD = 0.22)  สำหรับปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้ (r =.163,  p < .05) และการรับรู้ (r = .242,  p < .05) จากผลการศึกษาดังกล่าว หน่วยบริการด้านสูติกรรม จึงควรส่งเสริมความรู้ การรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค และการดูแลตนเองให้แก่หญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง

References

กรมอนามัย. (2565). กรมอนามัย ห่วงหญิงตั้งครรรภ์ แนวโน้มติดเชื้อโควิด-19 สูงขึ้น เผยผลโพล พบร้อยละ 98 กังวลโอมิครอน. สืบค้นจาก https://pr.moph.go.th/index.php?url=pr/detail/2/02/171679/.

คมชัดลึก. (2565). ยอดผู้ป่วยโควิด19 พะเยา พุ่งไม่หยุด ติดเชื้อใหม่รายวันทะลุ 100 ราย. สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/news/506045

งานเวชระเบียน โรงพยาบาลพะเยา. (2565). รายงานจำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19. พะเยา: โรงพยาบาลพะเยา.

ชเนนทร์ วนาภิรักษ์. (2564). วัคซีนโควิด-19 ในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร 8 กย.2564. สืบค้นจาก https://web.med.cmu.ac.th/index.php/th/allarticle/25-hilight- news/1351-19-65.

ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, และทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเอง จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. ใน รายงานการวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.

ปทุมมา ลิ้มศรีงาม, ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว, และวราพรรณ อภิศุภะโชค. (2564). การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรค ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน, 8(9), 18-33.

มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล. (2558) . การรับรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาของประชาชนไทย พ.ศ. 2558. สำนักสื่อสาร ความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

รังสรรค์ โฉมยา, และกรรณิกา พันธ์ศรี. (2563). ความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดต่อโรคไวรัสโคโรนาสาย พันธุ์ใหม่ (โควิด-19): การเปรียบเทียบระหว่างวัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 71-82.

สาโรจน์ นาคจู. (2565). พฤติกรรม การ ป้องกัน ตนเอง จาก การ ติด เชื้อ ไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ของ ประชาชน ใน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(3), 151-160.

อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ. (2563). สื่อที่ใช้ในการรณรงค์ของภาครัฐเพื่อป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ของประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 5(2), 77-86.

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล, และสุวรรณา ปัตตะพัฒน์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 19-30.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ลำกำปั่น, และทัศนีย์ รวิวรกุล. (2561). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: เอ็มเอ็น คอมพิวออฟเซท.

ฮูดา แวหะยี. (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(4), 158-168.

Allotey, J., Fernandez, S., Bonet, M., Stallings, E., Yap, M., Kew, T., Zhou, D., Coomar, D., Sheikh, J., Lawson, H., Ansari, K., Attarde, S., Littmoden, M., Banjoko, A., Barry, K., Akande, O., Sambamoorthi, D., van Wely, M., van Leeuwen, E., ... & Thangaratinam, S. (2020). Clinical manifestations, risk factors, and maternal and perinatal outcomes of coronavirus disease 2019 in pregnancy: living systematic review and meta-analysis. bmj, 370, 1-17. https://doi.org/10.1136/bmj.m3320

Becker, M. H. (1974). The health belief model and sick role behavior. Health Education Monographs, 2(4), 409-419. https://doi.org/10.1177/109019817400200407

Boushra, M. N., Koyfman, A., & Long, B. (2021). COVID-19 in pregnancy and the puerperium: A review for emergency physicians. The American Journal of Emergency Medicine, 40, 193-198. https://doi.org/10.1016/j.ajem.2020.10.055

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (2020). Data on COVID-19 during pregnancy: severity of maternal illness. CDC COVID Data Tracker. https://stacks.cdc.gov/view/cdc/99547

Chen, H., Guo, J., Wang, C., Luo, F., Yu, X., Zhang, W., Li, J., Zhao, D., Xu, D., Gong, Q., Liao, J., Yang, H., Hou, W., & Zhang, Y. (2020). Clinical characteristics and intrauterine vertical transmission potential of COVID-19 infection in nine pregnant women: a retrospective review of medical records. The lancet, 395(10226), 809-815. https://doi.org/10.1016/S0140-6736(20)30360-3

Jafari, M., Pormohammad, A., Sheikh Neshin, S. A., Ghorbani, S., Bose, D., Alimohammadi, S., Basirjafari, S., Mohammadi, M., Rasmussen-Ivey, C., Razizadeh, M.H., Nouri-Vaskeh, M., & Zarei, M. (2021). Clinical characteristics and outcomes of pregnant women with COVID‐19 and comparison with control patients: A systematic review and meta‐analysis. Reviews in Medical Virology, 31(5), 1-16. https://doi.org/10.1002/rmv.2208

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Norman, M., Navér, L., Söderling, J., Ahlberg, M., Askling, H. H., Aronsson, B., Byström, E., Jonsson, J., Sengpiel, V., Ludvigsson, J.F., Håkansson, S., & Stephansson, O. (2021). Association of maternal SARS-CoV-2 infection in pregnancy with neonatal outcomes. Jama, 325(20), 2076-2086. https://doi.org/10.1001/jama.2021.5775

Rasmussen, S. A., Smulian, J. C., Lednicky, J. A., Wen, T. S., & Jamieson, D. J. (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) and pregnancy: what obstetricians need to know. American Journal of Obstetrics and Gynecology, 222(5), 415-426. https://doi.org/10.1016/j.ajog.2020.02.017

Zambrano, L., D., Ellington, S., Strid, P., Galang, R., R., Oduyebo, T., Tong, V., T., Woodworth, K.R., Nahabedian III, J.F., Azziz-Baumgartner, E., Gilboa, S. M., & Meaney-Delman, D. (2020). Update: Characteristics of symptomatic women of reproductive age with laboratory-confirmed SARS-CoV-2 infection by pregnancy status — United States, January 22–October 3, 2020. Morbidity and Mortality Weekly Report, 69(44), 1641-1647. https://doi.org/10.15585/mmwr.mm6944e3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31