ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อทักษะการรับรู้ทักษะ ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
การเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา, การรับรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ก่อนและหลังการเรียนการสอนแบบกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จากวิทยาลัยพยาบาลพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช จำนวน 148 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการพยาบาลชุมชน 1 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ แผนการสอนเรื่อง วิทยาการระบาด และกรณีศึกษาจำนวน15 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามการรับรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือค่าความเชื่อมั่น 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการศึกษาพบว่า หลังจากการสอนโดยใช้กรณีศึกษา คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลเพิ่มขึ้นทั้งรายด้านและภาพรวม โดยคะแนนเฉลี่ยภาพรวมเพิ่มขึ้นจาก 297.91 + 32.26 เป็น 312.71 + 29.67 ผลการทดสอบทางสถิติภาพรวมคะแนนการรับรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 หลังการสอนโดยใช้กรณีศึกษาสูงกว่าคะแนนก่อนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -10.229, p<.05) แต่คะแนนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รายด้านสูงกว่าคะแนนก่อนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) เพียง 6 ด้าน จาก 11 ด้าน ผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนว่าผู้สอนควรสอนโดยใช้กรณีศึกษา เพื่อพัฒนาการรับรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเลือกใช้กรณีศึกษาที่สามารถกระตุ้นให้นักศึกษาได้พัฒนาการรับรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ครบทุกด้าน
References
กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, นวพร มามาก, ณัฐนิชา ศรีละมัย, และละเอียด แจ่มจันทร์. (2561). ผลการใช้การเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มเพื่อส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ในนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์, 26(2), 11-19
กลุ่มงานวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. (2563). คู่มือการจัดทำ มคอ. และแผนการสอนปีการศึกษา 2563. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช.
จันทร์เพ็ญ แสงอรุณ. (2563). การออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 15(3), 80-89.
ชลดา กิ่งมาลา, เอื้อมจิต สุขพูล, ภาวิณี แพงสุข, และณกร ลูกสยาม. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาต่อความรู้และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพชุมชน, วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 7(3). 223-232.
ปิติณัช ราชภักดี, วิภาวรรณ สีหาคม, วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์, และพจมาน ชำนาญกิจ. (2564). การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับพยาบาล, วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 29(3), 484-500.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). แนวการจัดการศึกษา. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/255686/174048
ไพศาล ศรีชัยทุ่ง, กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา, และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2567). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 7(1), 227-244.
ศุภวรรน ยอดโปร่ง, กนิษฐา แก้วดู, สิรีวัฒน์ อายุวัฒน์, และอภิเชษฐ์ พูลทรัพย์. (2566). ผลของการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 16(2), 105-119.
โสภา รักษษธรรม, และสุภาพร วรรณสันทัด. (2563). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา เป็นฐานผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(3), 220-232.
อติญาณ์ ศรเกษตริน, ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ, และสุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์. (2562). การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(3), 18-26.
อุทิศ บำรุงชีพ. (2566). นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัล. ชลบุรีการพิมพ์.
เอื้อจิต สุขพูล, ภาวิณี แพงสุข, และชลดา กิ่งมาลา. (2564). ผลของการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 48(2), 379-392.
Atabak A.K., Morteza G., Hakimeh H., & Mahasti A. (2022). The effects of interprofessional education on teamwork, communication skills and quality of health care in advanced and developing countries: A systematic review and meta-analysis study. Research and Development in Medical Education, 11(2). https://doi.org/10.34172/rdme.2022.002
Irwanto, I., Yussi, P., & Hanifah, R., (2024). The effect of case-based learning on students' problem-solving ability. International Journal of Religion, 5(6), 235-242. https://doi.ore/10.61707/wbarc032
Meeplat, N. (2020). A model of creativity based learning for computer teaching to enhance creative skills of undergraduate students. In Proceedings of the 2020 the 3rd international conference on computers in management and business (pp. 184-188). Association for Computing Machinery.
Roberts.S. (2011). 21st century skills, for STEM education. The American Association for Advancement of Science. http://www.aaas.org/blog/stemedu/21st-century-skills-stem-education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว