การรับรู้ความหมายและการจัดการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป: การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเฉพาะ
คำสำคัญ:
สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป, การรับรู้, การจัดการดูแลตนเอง, การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเฉพาะบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเฉพาะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการรับรู้ความหมายและการดูแลตนเองของสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ในจังหวัดแห่งหนึ่งของภาคอีสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเฉพาะประเด็น ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป รวม 17 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม บันทึกภาคสนาม และสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้เทคนิคตรวจสอบสามเส้าในการยืนยันความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและจัดแก่นความคิด ผลการวิจัยพบว่าสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีการรับรู้ความหมายของการตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป คือ “โสเสี่ยง(สะท้อนให้เห็นว่าต่อให้การตั้งครรภ์ครั้งนี้จะมีความเสี่ยง สตรีตั้งครรภ์ก็พร้อมจะตั้งครรภ์ต่อไม่ว่าผลจะเป็นเช่นไรก็พร้อมยอมรับความเสี่ยง)” “ลูกหลง(สตรีตั้งครรภ์มองว่าการตั้งครรภ์ครั้งนี้เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดหรือคาดไม่ถึงเนื่องจากเกิดขึ้นหลังจากที่มีบุตรยากมาเป็นเวลานาน)” “ความสมบูรณ์ของครอบครัว(การตั้งครรภ์เป็นการเติมเต็มความเป็นครอบครัวที่เชื่อว่าครอบครัวควรประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูก)” และ "ความยุ่งยากใจหลายอย่าง(การตั้งครรภ์ครั้งนี้สร้างความลำบากใจหลายประการเป็นต้นว่า ความวิตกกังวล ความเครียด)" ซึ่งสะท้อนถึงการรับรู้ความเสี่ยงและความสุขที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ที่อายุมากขึ้น แต่เพื่อให้ความสมบูรณ์ของครอบครัวที่ต้องมีครบองค์ประกอบทั้งพ่อ แม่ ลูก ถึงรับรู้ว่าเสี่ยงแต่ก็ต้องตั้งครรภ์ต่อไป แต่พยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อผลลัพธ์การตั้งครรภ์ที่คาดว่าจะออกมาในทางที่ดี จึงพยายามดูแลตนเองด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดจนแสวงหาข้อมูลในการดูแลตนเอง จากผลการศึกษาในครั้งนี้ทีมสุขภาพสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการออกแบบระบบการดูแลสุขภาพเฉพาะกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปให้สอดคล้องกับปัญหาทางสุขภาพและความต้องการได้
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/11/Hstatistic60.pdf
ชาย โพธิสิตา. (2564). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
นันทพร แสนศิริพันธ์, และ ฉวี เบาทรง. (2555). การพยาบาลผดุงครรภ์ เล่ม 3 สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน. บริษัทครองช่างพริ้นติ้ง จำกัด.
พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2560). เรื่องเพศกับการแพทย์: อนามัยการเจริญพันธุ์ในมิติของสังคมวิทยา. ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
วิจิตร เอกัคคตาจิต. (2559). ภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์อายุมากที่มารับบริการในโรงพยาบาลนางรอง.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 13 (3), 71-77
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). วิทยพัฒน์ จำกัด.
ศุภวดี แถวเพีย, และกมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง. (2560). สตรีตั้งครรภ์อายุมาก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 40(1), 144-151.
สุชาดา ทวีสิทธิ์. (2552). การพัฒนาสุขภาวะผู้หญิงในประเทศไทย.สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุวรรณี โลนุช, มยุรี นิรัตธราดร, และศิริพร ขัมภลิขิต. (2554). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริสุขภาพด้านโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(2), 79-93.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2553). สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก(พิมพ์ครั้งที่ 5). โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). สธ.ส่งเสริมนโยบายสาวไทยแก้มแดงมีลูกเพื่อชาติ ด้วยวิตามินแสนวิเศษ. สืบค้นจาก https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/news-anamai/107287
สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ. สืบค้นจาก https://rh.anamai.moph.go.th/th/download-03
อรพินธ์ เจริญผล. (2554). Pregnancy in the extreme ages: Holistic approach in elderly pregnancy. ใน เอกชัย โควาวิสารัช, ปัทมา พรหมสนธิ, และบุญศรี จันทร์ (บ.ก.).การตั้งครรภ์ในมารดาวัยเสี่ยง (น. 17-26). ยูเนี่ยนครีเอชั่น.
Bayrampour, H., Heaman, M., Duncan, K. A., & Tough, S. (2012). Advanced maternal age and risk perception: A qualitative study. Journal of BMC Pregnancy and Childbirth, 12(100), 1471-2393.
Berg, B.R. (2009). Qualitative research methods for the social sciences. 7th ed. Boston: Pearson.
Blair-Loy, Mary. 2003. Competing Devotions: Career and Family Among Women Executives.
Carolan, M. (2007). The project: having a baby over 35 years. Journal of Women Birth, 20(3), 121- 6.
Cooke, A., Mills, T.A., & Lavender, T. (2012). Advanced maternal age: Delayed childbearing is rarely a conscious choice a qualitative study of women’s views and experiences. International Journal of Nursing Studies, 49(1), 30–39.
Dai, J., Yu, Y., Wang, Y., Huang, Y., Liu, J., Lin, Y., Fan, X., Zhang, M., Xu, X., Bai, J., Chen, H., & Liu, Y. (2022). The Experience of Pregnant Women in the Health Management Model of Internet-Based Centering Pregnancy: A Qualitative Study. International journal of women's health, 14, 1281–1289. https://doi.org/10.2147/IJWH.S375675
Lampinen, R., Vehviläinen-Julkunen, K., & Kankkunen, P. (2009). A review of pregnancy in women over 35 years of age. Journal of the open nursing journal, (3), 33–38.
Lavender, J. M., Wonderlich, S. A., Engel, S. G., Gordon, K. H., Kaye, W. H., & Mitchell, J. E. (2015). Dimensions of emotion dysregulation in anorexia nervosa and bulimia nervosa: A conceptual review of the empirical literature. Clinical psychology review, 40, 111–122. https://doi.org/10.1016/j.cpr.2015.05.010
Lincoln, YS., &Guba, EG. (1985). Naturalistic inquiry. SAGE Publication.
Martin, Joyce A., M.P.H.;Hamilton, Brady E.;Osterman, Michelle J. K.;Driscoll, Anne K.;Drake, Patrick. (2016). Births : final data for 2016. Journal of National Center for Health Statistics, 67(1), 1120–2018. https://stacks.cdc.gov/view/cdc/51199
May, K.A. & Mahlmeister, L.R. (Eds.) (1994). Maternal and neonatal nursing: family-centered care (3rded.). J.B. Lippincott.
Moses, V., & Dalal, N. (2016). Pregnancy outcome in elderly primi gravidas. Journal of International Journal of Reproduction, Contraception, Obstetrics and Gynecology, 5(11), 3731-3736.
Nurhasanah, R., Masrul, Malini, H., & Tarawan, V.N. (2022). Exploring the Meaning and Practices of Self-care toward Pregnancy-related Complication: A Qualitative Study in Rural Area Indonesia. Journal of Malaysian Journal of Medicine and Health Sciences, 18(17), 61-67.
Ridgeway, Cecilia, and Shelley Correll. 2004. ‘Unpacking the Gender SystemA Theoretical Perspective on Gender Beliefs and Social Relations’. Gender & Society - GENDER SOC 18:510–31. doi: 10.1177/0891243204265269
Rehman, N.A., Vikram, A., Palakki, N., & Kandy, N.C. (2015). Maternal and fetal outcome in advanced maternal age. Journal of Evolution of Medical and Dental Sciences, 4(60), 10504-10509.
Robb, F.V., Alder, E.M., Prescott, R.J. (2005). Do older primigravidas differ from younger primigravidas in their emotional experience of pregnancy?.Journal ofReproductive and Infant Psychology, 23(2), 135-41.
Streubert, H.S., & Carpenter, D.R. (1999). Qualitative research in nursing: Advancing the humanistic imperative(2nd ed). Lippincott.
Sushko, K., Strachan, P., & Butt, M. (2023). Understanding the self-management experiences and support needs during pregnancy among women with pre-existing diabetes: a qualitative descriptive study. Journal of BMC Pregnancy and Childbirth, 23(309), 1471-2393 . https://doi.org/10.1186/s12884-023-05542-4
Ulrich, M., & Weatherall, A. (2000). Motherhood and Infertility: Viewing Motherhood through the Lens of Infertility. Feminism & Psychology, 10(3), 323-336. https://doi.org/10.1177/0959353500010003003
World Health Organization [WHO]. (2017). World health statistics 2017: Monitoring health for the Sustainable Development Goals [SDGs]. Retrieved August 1, 2018, from https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/272596/9789241565585-eng.pdf?sequence=1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว