ผลของการนวดเต้านมต่อการแก้ไขปัญหาท่อน้ำนมอุดตันในมารดาระยะให้นมบุตร

ผู้แต่ง

  • อังสนา ศิริวัฒนเมธานนท์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • โสภา บุตรดา โรงพยาบาลบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การนวดเต้านม, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, ท่อน้ำนมอุดตัน

บทคัดย่อ

ท่อน้ำนมอุดตันของมารดาในระยะให้นมบุตรทำให้ปริมาณน้ำนมไหลน้อยและมารดามีอาการเจ็บปวดเพิ่มขึ้น ถ้าปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข อาจนำไปสู่ภาวะเต้านมอักเสบได้ การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของวิธีการนวดเต้านมแบบพื้นฐาน 6 ท่า (Six-Step Basic Breast Massage [SBM]) กลุ่มเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 64 คน เป็นมารดาในระยะให้นมบุตรที่มารับบริการที่คลินิกนมแม่ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก แล้วแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวนกลุ่มละ 32 คน โดยไม่มีการสุ่ม กลุ่มทดลองได้รับการนวดเต้านมแบบ SBM ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการบีบน้ำนมตามปกติ เก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกประสิทธิผลการนวดเต้านม ซึ่งได้รับการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคว์แสควร์ และ Mann Whitney U Test ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง ความรุนแรงของท่อน้ำนมอุดตันของทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน  (c2 = 32.0, p < .001)  มารดาที่ได้รับการนวดเต้านมแบบ SBM มีการไหลของน้ำนมสูงกว่า  (U = 115.0, p <  .01)   มีความเจ็บปวดน้อย  (U = 18.50, p < .001 )   และมีความพึงพอใจมากกว่า  (U = 204.0, p  < .001)  กลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การนวดแบบ SBM มีประสิทธิผลในการแก้ปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน พยาบาลจึงควรนำ SBM มาให้บริการมารดาในระยะให้นมบุตรที่มีท่อน้ำนมอุดตันอย่างต่อเนื่อง  และเผยแพร่วิธีการนวดให้กับผู้ดูแลมารดาในระยะให้นมบุตร รวมทั้งพัฒนาเป็นโปรแกรมและแนวปฏิบัติการดูแลมารดาหลังคลอดที่มีท่อน้ำนมอุดตันต่อไป

References

กนกพร เอื้ออารีย์กุล, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. (2561). ผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมต่อปริมาณน้ำนมและระยะเวลาที่มารดามีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก ในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่ผ่าตัดคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์, 36, 71-82.

กุสุมาลี โพธิปัสสา, วิยะดา ทิพม่อม, และกิติยาพร สังฆศรีสมบัติ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียว 6 เดือนในทารกแรกเกิด: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 25(3), 154-167.

กฤษณา ปิงวงศ์, และกรรณิการ์ กันธะรักษา. (2560). การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมการสร้างและหลั่งน้ำนม. พยาบาลสาร, 44(4), 169-176.

กฤษณา ปิงวงศ์, กรรณิการ์ กันธะรักษา, และนงลักษณ์ เฉลิมสุข. (2563). ประสิทธิผลของการนวดเต้านมต่อการคัดตึงเต้านมในมารดาที่ให้นมบุตร: การทบทวนอย่างเป็นระบบ. พยาบาลสาร, 47(2), 43-55.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 4. คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พฤหัส จันทร์ประภาพ. (2560). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. ใน ประภัทร วนิชพงษ์พันธ์ม กุศล รัศมีเจริญ, และตรีภพ เลิศบรรณพงษ์, บรรณาธิการ. ตำราสูติศาสตร์. กรุงเทพ: พี เอ ลีฟวิ่ง จำกัด; 2560. หน้า 427-40.

มารียา มะแซ, ศศิกานต์ กาละ, และ วรางคณา ชัชเวช. (2562). ผลของโปรแกรมการนวดเต้านมด้วยตนเองต่อการไหลของน้ำานมในมารดาครรภ์แรก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 11(3), 1-14.

ระวีวัฒน์ นุมานิต, สุภาพร กาญจโน, และกิติยา กมลตรี. (2561). ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมและระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. รายงานวิจัยไม่ได้ตีพิมพ์.

ศศิธารา น่วมภา, พรนภา ตั้งสุขสันต์, วาสนา จิติมา, และกันยรักษ์ เงยเจริญ. (2563). การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: การปฏิบัติพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารพยาบาลศาสตร์, 38(3): 4-21.

ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์. (2561). การจัดการทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยท่อน้ำนมอุดตัน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24, 320-334.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. (2563). โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562, รายงานผลฉบับ สมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย.

อังสนา ศิริวัฒนเมธานนท์, ปาลิตา โพธิ์ตา, โสภา บุตรดา, อรดี โชคสวัสดิ์, และปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์. (2565). การนวดเต้านมเพื่อแก้ไขภาวะท่อน้ำนมอุดตัน. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 6(2), 118-132.

Munsittikul, N., Tantaobharse, S., Siripattanapipong, P., Wutthigate, P., Ngerncham, S., & Yangthara, B. (2022). Integrated breast massage versus traditional breast massage for treatment of plugged milk duct in lactating women: a randomized controlled trial. International breastfeeding journal, 17(1), 43. https://doi.org/10.1186/s13006-022-00485-6

Sokan-Adeaga, M. A., Sokan-Adeaga, A. A., and Sokan-Adeaga, E. D. (2019). A systematic review on exclusive breastfeeding practice in Sub-Saharan Africa: facilitators and barriers. Acta Scientific Medical Sciences, 3, 53-56.

United Nations Children’s Fund, Division of Data, Analysis, Planning and Monitoring. (2021). [cited 2022 Jun2]. Global UNICEF Global Databases: Infant and Young Child Feeding: Exclusive breastfeeding, New York.

Witt, A. M., Bolman, M., Kredit, S., & Vanic, A. (2016). Therapeutic Breast Massage in Lactation for the Management of Engorgement, Plugged Ducts, and Mastitis. Journal of Human Lactation: Official Journal of International Lactation Consultant Association, 32(1), 123–131. https://doi.org/10.1177/0890334415619439

Zhao, C., Tang, R., Wang, J., Guan, X., Zheng, J., Hu, J., Hu, G., & Song, C. (2014). Six-Step Recanalization Manual Therapy: A Novel Method for Treating Plugged Ducts in Lactating Women. Journal of Human Lactation: Official Journal of International Lactation Consultant Association, 30(3), 324–330. https://doi.org/10.1177/0890334414532314

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31