ผลของโปรแกรมการระลึกถึงความหลังต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
การส่งเสริมสุขภาพจิต, การระลึกความหลัง, ความรู้สึกมีคุณค่าต่อตนเอง, สุขภาพจิตผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การระลึกความหลังเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าและสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมระลึกความหลังต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 24 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมระลึกความหลังที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของ Wong & Watt ใช้เวลา ครั้งละ 1 ชั่วโมง จำนวน 6 ครั้ง ระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ .87 มีค่าความเชื่อมั่น .78 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Chi-square สถิติเพื่อการเปรียบเทียบ Independent t-test, ANCOVA, Repeated Measure ANOVA ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมระยะหลังทดลองทันที แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) แต่ระยะติดตามผล 1 เดือนไม่แตกต่างกัน (p >.05) เมื่อวิเคราะห์ภายในกลุ่มทดลองพบว่าภายหลังได้รับโปรแกรมทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูงขึ้นกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนระยะหลังการทดลองทันทีและระยะติดตามผล 1 เดือนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองไม่แตกต่างกัน ขณะที่กลุ่มควบคุมคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการระลึกความหลังช่วยส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุได้ จึงควรจัดกิจกรรมดังกล่าวสอดแทรกไปในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ
References
ญานิศา ดวงเดือน, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, และวิราพรรณ วิโรจน์รัตน์. (2562). ผลของโปรแกรมกลุ่มระลึกความหลังต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารสภาการพยาบาล, 34(2), 30-43.
ประสมสุข สีแสนปราง. (2561). ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ : ความลุ่มลึกในการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41 (1), 129-140.
ภาวดี เหมทานนท์, และสุทัศน์ เหมทานนท์. (2564). การพัฒนาโปรแกรมกลุ่มการระลึกความหลังแบบบูรณาการต่อความภาคภูมิใจในตนเอง ภาวะซึมเศร้า และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(3), 254-268.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.
สินีนาฏ ตรีรินทร์, ขนิษฐา นาคะ, และอรวรรณ หนูแก้ว. (2560). ผลของโปรแกรมการระลึกความหลังต่อความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(2), 106 – 117.
สุจิตรา สุขทวี, รังสิมันต์ สุนทรไชยา, และอังคณา จิรโรจน์. (2564). ผลของโปรแกรมการระลึกถึงความหลังต่อความเข้มแข็งทางใจในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 22(1), 235-243.
สุรางค์ เชื้อวณิชชากร, พูนสุข ช่วยทอง, และเปรมวดี คฤหเดช. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในตำบลนางลี่ จังหวัดสมุทรสงคราม. จุฬากรณ์เวชสาร, 62(1), 119 – 133.
Bluck, S., & Levine., L.J. (1998). Reminiscence as autobiographical memory: A catalyst for reminiscencetheory development. Ageing and Society. 18(2). 185-208.
Chiang, K.J., Lu, R.B., Chu, H., Chang, Y.C., & Chou, K.R. (2008). Evaluation of the effect of a life review group Program on self-esteem and life satisfaction in the elderly. Int J Geriatr Psychology. 23(1):7-10.
Hamilton, D. B. (1992). Reminiscence therapy. In G. M. Bulechek, & J. C. McCloskey (Eds.), Nursing interventions: Essential nursing treatments. WB Saunders Company
Korte, Cappeliez, Bohlmeijer, & Westerhof. (2012). Meaning in life and mastery mediate the relationship of negative reminiscence with psychological distressamong older adults with mild to moderate depressive symptoms. European Journal Ageing. http://doi.org/10.1007/s10433-012-0239-3
Lieberman, M. A., & Tobin, S. S. (1983).The experience of old age: Stress, coping, and survival. Basic Books (AZ).
Pluzaric, J., Ilakovac, V., & Zeleznik, D. (2016). Comparison of self-esteem and quality of life between residents of old people’s home and the elders living at home. Obzor Zdrav Neg . 50(3).183-192
Refahi, Z., & Ghaforiyan, A. (2016). The effect of the group reminiscence on the self esteem and life satisfaction elders daily centers in Yazd. Int J Pharm Res Allied Sci .5(3). 535-546.
Rosenberg, M. (1981). Social psychological perspectives. Basic Book. Song, D., Shen, Q., & Xu, T.Z. (2014). Effect of group reminiscence on elderly depression: A meta-analysis. IJNSS. 1(4). 416-422.
Wong, P. T., & Watt, L. M. (1991). What types of reminiscence are associated with successful aging? Psychology and Aging, 6, 272–279.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว