การเสริมพลังอำนาจผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะท้ายในชุมชน: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • รังสันต์ ไชยคำ โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
  • ลัดดาวัล ฟองค์ โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
  • สนธิกานต์ ราชโทสี โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
  • ฉันทนา ลาดนาจันทร์ โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
  • โสภา ละมัยกุล โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี
  • ปัณณทัต บนขุนทด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะท้าย, การเสริมพลังอำนาจ, ผู้ดูแลหลัก, การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายเป็นภาวะวิกฤติของชีวิตและครอบครัว การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการตายดีช่วยให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบและมีสติจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ดูแลหลักเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลต่อเนื่องในชุมชน หากสูญเสียพลังอำนาจ (Powerlessness) ของผู้ดูแลหลักในการดูแลอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะท้ายในชุมชน ด้วยเทคนิคการเสริมพลังอำนาจในผู้ดูแลหลักตามแนวคิดของกิบสัน ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) การค้นพบสภาพงานจริง (Discovering reality) 2) การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical reflection)     3) การตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสม (Taking charge) 4) การคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ (Holding on) ผลการศึกษา พบว่าผู้ดูแลหลักมีความมั่นใจ และทักษะการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะท้ายต่อเนื่องที่บ้านได้จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตและผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ และมีการติดตามเยี่ยมญาติหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต (Bereavement Care) เสนอแนะ พยาบาลสามารถนำเทคนิคการเสริมพลังพลังอำนาจผู้ดูแลในการส่งเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะท้ายในชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และจากไปอย่างสงบ (Peaceful Death)

References

กิตติกร นิลมานัต, และกัลยา แซ่ชิต. (2561). ผลของโปรแกรมการพยาบาลจัดการรายกรณีสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายต่อความทุกข์ทรมานจากอาการและการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยระยะท้าย. วารสารสภาการพยาบาล, 33(3), 51-66.

เข็มทอง ตรีเนตรไพบูลย์, ทรัพย์ทวี หิรัญเกิด, และอณัญญา ลาลุน. (2566). สถานการณ์ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสุขภาพและการพยาบาลมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(2), 13-24.

ปฐมพร ศิรประภาศิริ, และเดือนเพ็ญ ห่อรัตนาเรือง. (2563). คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชนูปถัมภ์.

ประพิมพ์รัตน์ ผดุงศรี, และอริณรดา ลาดลา. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายจากโรงพยาบาลสู่บ้าน โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 199 – 207.

พัชรีรัตน์ อันสีแก้ว, และกานต์รวี โบราณมูล. (2566). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีระยะท้ายของชีวิตที่สงบในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย: กรณีศึกษา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 20(2), 13-24.

โรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี. (2566). สถิติโรคมะเร็งระดับโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี HOS – BASED CANCER REGISTRY 2022 เล่มที่ 23. https://www.cch.go.th/newweb/images/registry/hos/Hos-2022.pdf

วรัญญา จิตรบรรทัด. (2565). บทบาทของพยาบาลชุมชนในการวางแผนดูแลรักษาตัวเองล่วงหน้าเพื่อการตายดีของผู้สูงอายุ. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 2(1), 81-92.

อรวิธู กาญจนจารี, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, และสุปรีดา มั่นคง. (2560). บทบาทและความต้องการของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในสถานบริการที่มีการดูแลแบบประคับประคองโดยเฉพาะ. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 23(3), 328-343.

Abbaspour, H., & Heydari, A. (2021). Concept analysis of end-of-life care. Journal of Caring Sciences, 11(3), 172–177.

Bond, M. J., & Knopp, A. (2018). Palliative care in northern Tanzania: doing a lot with a little. International Journal of Palliative Nursing, 24(6), 296–303.

Dantas, A. A. G., de Oliveira, N. P. D., Costa, G. A. B. et al. (2024). Multilevel analysis of social determinants of advanced stage colorectal cancer diagnosis. Scientific Reports, 14(9667).

Dutta, A., Pratiti, R., Kalantary, A., Aboulian, A., & Shekherdimian, S. (2023). Colorectal Cancer: A Systematic Review of the Current Situation and Screening in North and Central Asian Countries. Cureus, 15(1), e33424.

Gibson C. H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced Nursing, 16(3), 354–361.

Gibson C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 21(6), 1201–1210.

Guo, F., Li, L., Jiang, H. et al. (2024). Effectiveness of a family empowerment program on caregiving capacity and adverse mood in caregivers of children with acute leukemia: a quasi-experimental study. BMC Nursing, 23(307).

Nysaeter, T. M., Olsson, C., Sandsdalen, T. et al. (2024). Family caregivers’ preferences for support when caring for a family member with cancer in late palliative phase who wish to die at home – a grounded theory study. BMC Palliative Care, 23(15).

Ruland, C. M. & Moore, S. M. (1998). Theory construction based on standards of care: A proposed theory of the peaceful end of life. Nursing Outlook, 46, 169-175.

Unwin, B. K., & Jerant, A. F. (1999). The home visit. American family Physician, 60(5), 1481–1488.

World Health Organization. (2020). Palliative care. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27