การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและการดูแลแบบ ผู้ป่วยในที่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้ามพร้า จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ทวีเกียรติ ตั้งวงค์ไชย โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
  • สกลสุภา สิงคิบุตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง, การรับรู้, การดูแลตนเอง, ผู้ป่วยในที่บ้าน, ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด

บทคัดย่อ

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต การแบ่งระดับน้ำตาลในการรักษาทำให้ผู้ป่วยควบคุมน้ำตาลได้ วิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ 2) พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย และ3) ประเมินผลการใช้ระบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) บุคลากรสาธารณสุข 11 คน 2) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 65 คน และ3) ผู้ป่วยเบาหวาน 84 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) คำถามการประชุมกลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก 2) ระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ตรวจสอบแบบสามเส้า 3) แบบสอบถามความรู้โรคเบาหวานของ อสม. ค่า KR 20 เท่ากับ 0.84 และ 4) แบบสอบถามการรับรู้การดูแลตนเอง ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 เครื่องมือที่ 1), 3) และ4) หาค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยน้ำตาลในเลือดสูง มากกว่า 300 มิลลิกรัม/เดซิลิตร รักษาที่บ้าน 2 ราย 2) เกิดระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน 3) หลังอบรม อสม. มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ (M = 13.65, SD = 0.53) สูงกว่าก่อนอบรม (M = 11.72, SD = 0.98), t(64) = 6.32, p < .001, d = 0.71 และหลังใช้ระบบผู้ป่วยเบาหวานมีการรับรู้การดูแลตนเอง (M = 4.54, SD = 0.19) สูงกว่ากว่าก่อนใช้ระบบ (M = 3.74, SD = 0.43), t(83) = 42.82, p < .001, d = 4.36 และค่าน้ำตาลสะสม (M = 12.03, SD = 3.59) ต่ำกว่าก่อนใช้ระบบ (M = 10.63, SD = 2.42), t(83) = 4.06, p < .001, d = 1.30 อย่างมีนัยสำคัญ ความพึงพอใจผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระดับมากที่สุด ระบบการดูแลผู้ป่วยมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล

References

กัลยา ท้วมโคกหม้อ. (2564). ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. http://www.tako.moph.go.th/librarybook/web/files/58c04f86f024288e79b3e10c87d63ffb.pdf

เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2562). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตราประมาณค่า (Rating Scale) เพื่องานวิจัย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. http//ms.src.ku.ac.th.

ธีระ กุลสวัสดิ์. (2558). การหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยบูรพา. https://km.buu.ac.th/public/backend/upload/article/file/document144620064347362700.pdf

นลิน จรุงธนะกิจ. (2564). ผลระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการตามแนวทางการให้ บริการผู้ป่วยสถานการณ์พิเศษ (โควิด 19) โรงพยาบาลไทรงาม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(36), 129-42.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ประวีร์กร นิธิประภาวัฒน์, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, และ นิรัตน์ อิมามี. (2564). โปรแกรมส่งเสริม การบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยเน้นอาหารสมุนไพรไทย ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 19(1), 49-64.

ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์. (2565). บทนำ. ใน ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์ (บ.ก.), แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward). (น. 1-3). กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

รัชนี ทองเนตร และ สกลสุภา สิงคิบุตร. (2566). การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองระยะก่อนถึงโรงพยาบาลด้วยเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 41(4), e266545. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/issue/view/17824

โรงพยาบาลลับแล. (2561). แนวทางการรักษา/ค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลลับแล. https:// laplaehospital. moph.go.th/ file/11-03-2564-10-11-40.pdf

วีระศักดิ์ ศรินนภากร. (2565). การดูแลภาวะน้ำาตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. ใน ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์ (บ.ก.), แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward). (น. 32-7). กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สกลสุภา อภิชัจบุญโชค, และธิดารัตน์ ทองหนุน. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคเบาหวาน. อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

อภิญญา เมืองคำ, และ ศริตรี สุทธจิตต์. (2556). ผลของการเสริมสร้างศักยภาพผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความร่วมมือในการรักษาและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลืออด. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 8(3), 104-11.

Abdul, B. K. M., Jawad, H. M., Kwan, K. J., Govende, D. R., Mustafa, H., & Al-Kaabi, J. (2020). Epidemiology of type 2 diabetes–global burden of disease and forecasted trends. Journal of Epidemiology and Global Health, 10(1), 107–11.

Bhandari, P. (June 22, 2023). Triangulation in research: guide, types, examples. https://www.scribbr.com/methodology/triangulation/

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. 2nd ed.. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Disease Control and Prevention. (2020). National diabetes statistics report 2020. https://www.cdc.gov/diabetes/php/data-research/index.html

Lynn, M. R. (1986). Determination and quantification of content validity. Nursing Research, 35(6), 38-385. https://doi.org/10.1097/00006199-198611000-00017

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Narayan, K. M. V., Narayan, V. K. M., Kondal, D., Daya, N., Gujral, U., Mohan, D., Patel, S. A., Shivashankar, R., Anjana, R. M., Staimez, L. R., Ali, M. K., Chang, H. H., Kadir, M., Prabhakaran, D., Selvin, E., Mohan, V., & Tandon, N. (2021). Incidence and pathophysiology of diabetes in South Asian adults living in India and Pakistan compared with US blacks and whites. BMJ Open Diabetic Research and Care, 9, e001927. https://doi.org/10.1136/bmjdrc-2020-001927

Polit, D. F. & Beck, C. T. (2015) Nursing research: principles and methods (15th ed.). J.B. Lippincott Company.

Bhandari P. (June 22, 2023). Triangulation in Research: Guide, Types, Examples. https://www.scribbr.com/methodology/triangulation/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-28