การพัฒนารูปแบบการป้องกันปอดอักเสบในผู้สูงอายุติดเตียง ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อติพร สำราญบัว สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

ปอดอักเสบ, ผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุติดเตียง, พัฒนารูปแบบการป้องกันปอดอักเสบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันปอดอักเสบในผู้สูงอายุติดเตียง การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การป้องกันปอดอักเสบในผู้สูงอายุติดเตียง ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการป้องกันปอดอักเสบ ระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันปอดอักเสบ ในผู้สูงอายุติดเตียง โดยศึกษาแบบ Quasi  experimental ในกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุกลุ่มปฏิบัติตามรูปแบบป้องกันปอดอักเสบในผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน 61 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 59 คน  งานวิจัยดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 ถึงมีนาคม 2566  เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้แบบประเมินการปฏิบัติ และแบบประเมินความพึงพอใจ และเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติพรรณนา ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์การป้องกันปอดอักเสบในผู้สูงอายุติดเตียง คือผู้ดูแลขาดความรู้ ขาดแหล่งข้อมูลสุขภาพ และขาดผู้ดูแล  2) รูปแบบการป้องกันปอดอักเสบในผู้สูงอายุติดเตียง ประกอบด้วย  2.1 พัฒนาสมรรถนะผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงในการป้องกันปอดอักเสบในผู้สูงอายุติดเตียง และ 2.2 สร้างความต่อเนื่องในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง  3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการป้องกันปอดอักเสบในผู้สูงอายุติดเตียง พบว่า กลุ่มทดลองจำนวนร้อยละ 73.8 ปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบในผู้สูงติดเตียงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ร้อยละ 69.3 ของกลุ่มเปรียบเทียบปฏิบัติการป้องกันปอดอักเสบ และกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการป้องกันปอดอักเสบในผู้สูงอายุติดเตียง ในระดับดีมาก รูปแบบการป้องกันปอดอักเสบนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางป้องกันปอดอักเสบ จากการนอนติดเตียงในผู้สูงอายุติดเตียง และการดูแลผู้สูงอายุ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถิติสุขภาพคนไทย.https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/index.html.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถิติผู้สูงอายุ.https://www.dop.go.th/th/statistics_page?cat=11&id=2541

กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ฯสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 9. (2565). สถานการณ์โรคสำคัญที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9. http://odpc9.ddc.moph.go.th/hot/65-situation-8.pdf.

ทัศนีย์ กลีบรัง, เกศกัญญา ไชยวงศา, และวิภาจรีย์ วันดี. (2567). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะปอดอักเสบ โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 17(1), 1-15.

พิสมัย บุติมาลย์, แสดงอรุณ อิสระมาลัย, และเพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงที่บ้าน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(3), 79-91.

พัชรา เสถียรพักตร์, โสภาพันธ์ สอาด, สุจิตรา วันวิชา, และอัครภา เกื้อสุวรรณ. (2563). ประสิทธิผล ของ การ อบรม การ ดูแล ผู้ สูงอายุ ติด เตียง โดย ใช้ สื่อ แอ ป พลิ เค ชั่ น บน มือ ถือ ต่อ ระดับ ความ รู้ความ เข้าใจ ของ ผู้ ดูแล. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 30(1), 47-56.

ราตรี โพธิ์ระวัช. (2562). แนวทางการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพงของผู้สูงอายุในตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(4), 76-85.

เมธี จินะโกฎิ, และการันต์ พงษ์พานิช. (2561). การ เปลี่ยนแปลง ของ ระบบ หายใจ ใน ผู้ สูงอายุ และการ จัดการ ทาง กายภาพบำบัด ทรวงอก. Royal Thai Army Medical Journal, 71(4), 279-284.

สุธิศา ล่ามช้าง, ฐิติมา สุขเลิศตระกูล, ปรีชา ล่ามช้าง. (2562) การพัฒนาสื่อมัลติมิเดียเรื่องการบริหารยาในเด็กสำหรับนักศึกษาพยาบาล. พยาบาลสาร, 46(1), 114-125.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุจังหวัดนครราชสีมา. http://nkrat.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=559:older62&catid=115:2017-11-07-04-53-35&Itemid=590

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจประชากรสงูอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1687612748-2406_0.pdf

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2562). รายงานสถานการณ์ผู้สุงอายุไทย มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. พริ้นเทอรี่ จำกัด.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed). Hillsdale, NJ; Erlbaum.

Keyt, H., Faverio, P. & Restrepo, M.I. (2014). Prevention of ventilator associated pneumonia in the intensive care unit: A review of the clinically relevant recent advancements. The Indian Journal of Medical Research, 139(6), 814-821.

Khezri, H.D. et al. (2014). The importance of oral hygiene in prevention of ventilator-associated pneumonia (VAP): A literature review. International Journal of Caring Sciences, 7(1), 12-23.

Nyamadzawo, A., Nishio, J., Okada, S., & Nyamakura, R. (2020). Effect of using portable alcohol-based handrub on nurses’ hand hygiene compliance and nasal carriage of staphylococcus aureus in a low-income health setting. American Journal of Infection Control, 48(5), 473-479.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-02