ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานต่อ ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สมจิตต์ เวียงเพิ่ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • แสงนภา บารมี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กชกร ฉายากุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางอารมณ์, การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

ความฉลาดทางอารมณ์เป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองเพื่อเปรียบเทียบระดับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานในรายวิชาจิตวิทยาพัฒนาการและกระบวนการคิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2/2566 จำนวน 163 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน 2) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired sample t-test ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ (M = 172.07, SD = 13.31) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ (M = 61.78, SD = 4.50) ด้านเก่งและด้านสุขอยู่ในระดับปกติ (M = 56.11, SD = 6.13; M = 54.17, SD = 5.26) และความฉลาดทางอารมณ์ก่อนและหลังเข้าร่วมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานไม่แตกต่างกัน (t = 1.07, p-value> 0.5) เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยแต่ละด้าน พบว่าด้านเก่ง ความฉลาดทางอารมณ์ด้านการรู้จักตนเองและมีแรงจูงใจในตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.33, p-value < 0.5) และด้านสุข ความฉลาดทางอารมณ์ด้านพึงพอใจในชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 2.94, p-value < 0.5) การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านการรู้จักตนเองและมีแรงจูงใจในตนเองและด้านพึงพอใจในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลได้

References

กนกพร หมู่พยัคฆ์, จรินทิพย์ อุดมพันธุรัก, ชลียา กัญพัฒนพร, ชัญญา แสงจันทร์, และ พวงเพชร เกษรสมุทร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์. 33(1), 55-65.

กรมสุขภาพจิต. (2563). คู่มือการจัดกิจกรรม “ฝึกคิดแก้ปัญหา พัฒนา EQ” สำหรับอาสาสมัคร/แกนนำศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE. ฉบับปรับปรุง ปี 2563. ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปัทมา ทองสม. (2554). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขในการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 4(1), 88-111.

ยุซรอ เล๊าะแม, มยุรี ยีปาโล๊ะ, เขมพัทธ์ ขจรกิตติยา, และ ภาซีน่า บุญลาภ.(2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ, 22(3), 135-146.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2567). โรคภัยของเด็กยุคดิจิทัล Gen Z. https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/6cd21667-30e0-ea11-80ec-00155d09b41f

Albagawi, B. (2018). Emotional intelligence among the fourth year nursing students: A cross-sectional study. Advances in Social Sciences Research Journal, 5(11). https://doi.org/10.14738/assrj.511.5732

Bender, A., & Ingram, R. (2018). Connecting attachment style to resilience: Contributions of self-care and self-efficacy. Personality and Individual Differences, 130, 18-20.

Coopersmith, S. (1984). SEI: Self-Esteem Inventories. Consulting Psychologist Press.

Golji, G., & Dangpe, A. (2016). Activity–Based Learning Strategies (ABLS) as best practice for secondary mathematics teaching and learning. The Journal of Teaching and Learning, 2, 106-116.

Nudzor, H.P., Oduro, K.T., & Addyc, N. (2018). International programmes and research on effective Activity-Based Learning (ABL): What can Ghana learn from international best practices?. The International Education Journal: Comparative Perspectives, 17(2), 40-59.

Pathak, R., & Lata, S. (2018). Optimism in relation to resilience and perceived stress. Journal of Psychosocial Research. 13(2), 359–367.

Sharon, D., & Grinberg, K. (2018). Does the level of emotional intelligence affect the degree of success in nursing studies? Nurse Education Today, 64, 21-26. https://doi:10.1016/j.nedt.2018.01.030

Stiglic, G., Cilar, L., Novak, Z., Vrbnjak, D., Stenhouse, R., Snowden, A., & Pajnkihar, M. (2018). Emotional intelligence among nursing students: Findings from a cross-sectional study. Nurse Education Today, 66, 33–38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-09