ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียของแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • ทินมณี คฤหะมาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นภชา สิงห์วีรธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรีย, แรงงานข้ามชาติชาวพม่า

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียของแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 418 คน ใช้การสุ่มแบบไม่ใช้หลักความน่าจะเป็น โดยวิธีการคัดเลือกสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยด้านบุคคล แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยอธิบายและชี้แจงแบบสอบถามในแต่ละข้อคำถามอย่างละเอียดแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สามารถสื่อสารภาษาพม่าได้ จำนวน 10 คน เพื่อให้มีความเข้าใจและถูกต้องในการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง และตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเนื้อหาแบบสอบถามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค 0.87 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 10.13, SD = .57) มีระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียระดับเหมาะสม (M = 1.63, SD = .45) นอกจากนี้ยังพบว่าอายุ   (p = .043) ,ระดับการศึกษา (p = .039), รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว(บาท) (p = .014), ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในพื้นที่ (p = .012) และการรับรู้อุปสรรคการป้องกันโรค (p = .007) มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Becker, M.H., & Maiman, L.A. (1975). The health belief model: Origins and correlation in psychological theory. Health Education Monography, 2(winter), 336-385.

Department of disease control. (2023). Thailand Malaria Elimination Program. Malaria online. https://malaria.ddc.moph.go.th/malariar10/report/mhealth_page.php

Hanbungkla, S., & Charerntanyarak, L. (2017). Factors associated with malaria infection of endemic area in 2015, Ratchaburi Province. Disease Control Journal, 43(4), 423-435.

Hengboriboonphong, P., & Kritsanakriangkrai, O. (2007). The development of Malaria prevention measures for migrants along Thai – Myanmar border [Master’s Thesis, Naresuan University]. https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/2/198678

Kachma, R., & Srikuta, P. (2023). The Relationship between health literacy and malaria prevention behaviors of people in malaria risk areas in Nakhon Ratchasima Province. HCU Journal, 27(1), 14-27.

Khamsam, A., & Suttakorn, W. (2015). Health belief and compliance behavior with prescribed medication among people with hypertension at Thakham District Health Promoting Hospital, Mueang District, Phrae Province. [Master’s Thesis, Chiangmai University]. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:123759

Khankaew, W. (2023). Knowledge, awareness and malaria prevention behavior among people in high fever areas, Mae Hong Son Province. https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1581220240620025637.pdf

Konkaew, K., & Suphankul, P. (2015). The model development for malaria prevention and control along Thailand-Myanmar border by community base approach : Tha Song Yang Sub-District, Tha Song Yang District, Tak Province. EAU Heritage Journal Science and Technology, 9(3), 196-207.

Maneedang, P., Rongmuang, D., Thongphet, P., & Sridowruang, C. (2016). Lifestyle, Lack of Knowledge, Beliefs and Wrong Health Behavior Cause Malaria among Burmese Workers in Saidang Sub-District, Muang Ranong. The Southern College Network Journal of Nursing and Pubic Health, 3(3), 77-93.

Phadungwit, S., Anonsirichot, L., & Panga, M. (2024). Knowledge, attitude, and practice of risk populations towards malaria prevention in Bann Chongmafuang, Moo 12, Nong Ri Subdistrict, Mueang District, Chonburi Province. The Office of Disease Prevention and Control 8 Udon Thani Journal, 2(2), 28-45.

Phattharaphokanon, K., Kittiratphan, W., Pansombat, S., Tonphukiew, W., & Wongphakdee, S. (2023). Knowledge, perception and behavior to prevention of malaria in Kalasin Province. https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/8.กุลชล.pdf

Phithakthammakul, P., Kengganpanich, M., & Benjakul, S. (2022). Factors related to malaria prevention behavior of people in high transmission areas of Prachuap Khiri Khan Province, Thailand. Disease Control Journal, 49(1), 89-97

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-29