ผลของโปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
คำสำคัญ:
โปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมาย, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้บทคัดย่อ
ผู้ป่วยเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โรคนี้เป็นสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง ทั้งผลต่อหัวใจ หลอดเลือด ตา ไต และเส้นประสาท การป้องกันภาวะแทรกซ้อนด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือด เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และได้รับยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ใช้โปรแกรม และกลุ่มที่ใช้โปรแกรม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ โปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมาย คู่มือความรู้เรื่องการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, independent t-test, Paired t -test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหลังจากเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ป่วยเบาหวานมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่ากลุ่มควบคุม และมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นทีมสุขภาพสามารถนำโปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมาย ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง และทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
นิฤมล สบายสุข, ปิ่นหทัย ศุภเมธาพร, และณิชกานต์ ทรงไทย.(2561). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเรื้อรัง ระยะที่ 3. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. (ฉบับพิเศษ), 137-150.
พรวิภา ยาสมุทร์, และวงจันทร์ นันทวรรณ. (2566). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอานาจและการตั้งเป้าหมายร่วมกันต่อระดับน้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานซับซ้อนโรงพยาบาลบ้านโฮ่งจังหวัดลาพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 19(2), 58-71.
พวงเพชร เหล่าประสิทธิ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของโรงพยาบาลชุมชน และเครือข่าย. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 37(1), 29-45.
มยุรี เที่ยงสกุล, และสมคิด ปานประเสริฐ. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(4), 696-710.
ระบบ Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถิติสุขภาพคนไทย: ความชุกโรคเบาหวาน จ. ชลบุรี. https://www.hiso.or.th/thaihealthstat
วันดี โตสุขศรี, คนึงนิต พงศ์ถาวรกมล, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, พรรณิภา บุญเทียร, และชลทิชา เรียงคำ. (2561). การพยาบาลอายุรศาสตร์ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2567). รายงานตามตัวชี้วัด NCD ClinicPlus. https://hdcservice.moph.go.th/hdc
สุกฤตา ตะการีย์, ศากุล ช่างไม้, และสมพันธ์ หิญชีระนันทน์.(2562). ผลลัพธ์ของการพยาบาลที่มีการตั้งเป้าหมายร่วมกัน ในการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาล, 68(3), 48-55.
สุมาลี หงษาวงศ์. (2562). โปรแกรมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28 (3), 411-417.
สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, นิลุบล นันตาม, และจุฑามาศ สุขเกษม. (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเองตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28 (2), 93-103.
อัศนี วันชัย, ภาวดี โตท่าโรง, และเยาวลักษณ์ มีบุญมาก. (2563). ประสบการณ์การจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อาศัยอยู่ในเขตชนบท. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(1), 69-81.
Balasi, L.R., Elahi, N., Beiranvand, S., Tavakoli, P., & Balasi, R.R. (2020). The effectiveness of nursing interventions based on King’s theory: A systematic review. Advances in Nursing and Midwifery, 29(3), 41-47.
Hadi, F., Molavynejad, S., Elahi, N., Haybar, H., & Maraghi, E. (2023). King’s theory of goal attainment: quality of life for people with myocardial infarction. Nursing Science Quarterly, 36(3), 61-66. https://doi.org/10.1177/089431842311697
Karota, E., Marlindawani, J., Roymond, P., Simamora, H., Cholina, L., & Siregar, T. (2020). Use of King's theory to improve diabetics self-care behavior. Enfermeria Clinica, 30(3), 95-99. https://doi.org/10.1016/j.enfcli.2019.12.035
King, I. M. (1997). King’s theory of goal attainment in practice. Nursing Science Quarterly, 10(4), 180-185. https://doi.org/10.1177/089431849701000411
Martín-Carro, B., Donate-Correa, J., Fernández-Villabrille, S., Martín-Vírgala, J., Sara Panizo, S., Carrillo-López, N., Martínez-Arias, L., Navarro-González, J. F., Naves-Díaz, M., Fernández-Martín, J. L., Alonso-Montes, C., & Cannata-Andía, J. B. (2023). Experimental models to study diabetes mellitus and its complications: Limitations and new opportunities. Internationnal Journal of Molecular Sciences, 24(12), 1-16. https://doi.org/10.3390/ijms241210309
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว