ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ณัฐริกา มีศรี สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วารี กังใจ สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พรชัย จูลเมตต์ สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชลธิชา จันทคีรี สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม, ผู้ป่วยสูงอายุ, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่เข้ารับการรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลอง กลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 25 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ และโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ ในระยะหลังการทดลองมากกว่าในระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t24 = -15.53, p < .01) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ ในระยะหลังการทดลอง มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (t48 = -7.90, p < .01) จึงสรุปได้ว่า โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพสามารถเพิ่มพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุได้จริง ควรนำโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่อไป         

References

กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและมาตรฐานโรงพยาบาล โรงพยาบาลชลบุรี.(2564).รายงานการศึกษาจาก งานสถิติโรงพยาบาลชลบุรี.

มานิตา รักศรี, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, และเสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ. (2562). ผลของโปรแกรมการปรับความ เชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาล. วารสารโรงพยาบาลสภากาชาดไทย, 2(2), 134-150.

ศตวรรษ อุดรศาสตร์, พรชัย จูลเมตต์, และนัยนา พิพัฒน์วณิชชา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Burns, N., & Grove, S.K.(2005). The practice of nursing research : Appraisal, synthesis and generation of evidence (6th ed.). Elsevier Saunders.

Cox, J., Thomas-Hawkins, C., Pajarillo, E., DeGennaro, S., Cadmus, E., & Martinez, M. (2015). Factors associated with falls in hospitalized adult patients. Applied Nursing Research, 28(22), 78-82.

Hendrich, A., Nyhuis, A., Kippenbrock, T., & Soja, M. E. (1995). Hospital falls: Development of predictive model for clinical practice. Applied Nursing Research, 8(3), 129-139.

Jitapunkul, S., Kamolratanak, P., & Ebrahim, S. (1994). The meaning of activities of daily living in Thai elderly population: Development of a new index. Age and Aging, 23(2), 97-101.

Kakara R.S., Lee R., Eckstrom E.N. (2023). Cause-specific mortality among adults aged ≥65 years in the United States, 1999 through 2020. Public Health Rep 2023. Jan-Feb;139(1):54-58. https://doi.org/10.1177/00333549231155869

Kraemer, C. H., and Thiemann, S., 1987. How Many subjects? Statistical Power Analysis in Research. London: SAGE.

Loria, G., & Bhargava, A. (2013). Prevention of patient falls – A case study. Apollo Medicine, 10(2), 175-180.

Lvziku, D., Matarese, M., & Pedone, C. (2011). Predictive validity of the Hendrich fall risk model II in an acute geriatric unit. International Journal of Nursing Studies, 48(4), 468-474.

Matarese, M., & Ivziku, D. (2016). Falls risk assessment in older patients in hospital. Nursing Standard, 30(48), 53-63

Stretcher,V., & Rosenstock, I.M. (1997). The Wealth Belief Model. In K. Glanz, F.M. Lewis , & B.K. Rimer (Eds.), Wealth Behavior and wealth Education ; Therory , research and practice (2nd ed.). Jossey Bass.

Wongpakaran, N., & Wongpakaran, T. (2012). Prevalence of major depressive disorders and suicide in long-term care facilities: A report from northern Thailand. Psychogeriatrics, 12(1), 11-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19