สภาพการศึกษาภาคปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น: กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • มลฤดี แสนจันทร์
  • ผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์
  • สัมฤทธิ์ ขวัญโพน

คำสำคัญ:

สภาพการปฏิบัติการพยาบาล, สมรรถนะ, การรักษาพยาบาลเบื้องต้น

บทคัดย่อ

การประเมินสภาพการฝึกปฏิบัติทางการพยาบาล จะช่วยการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติมี ประสิทธิภาพมากขึ้น การวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการศึกษาภาค ปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 40 คน และ นักศึกษา
พยาบาล จำนวน 34 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการของแหล่งฝึกปฏิบัติในการพัฒนาสมรรถนะการรักษาพยาบาลเบื้องต้นของนักศึกษา 2) แบบรายการประเด็นที่ใช้ในการสนทนากลุ่มเกี่ยว
กับปัญหาและความต้องการในการศึกษาภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม
ผลวิจัยพบว่าความต้องการของแหล่งฝึกปฏิบัติในการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.18
SD = 0.61) และข้อที่มีความต้องการมากที่สุดคือ การเขียนรายงานผู้ป่วย (x̄=4.48
SD = 0.59)
รองลงมาคือ ทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ (x̄=4.46 SD = 0.58) ส่วนข้อที่มีความต้องการน้อยที่สุด
คือ การช่วยเหลือและส่งต่อผู้ป่วย (x̄=3.49
SD = 0.84) จากการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการในการศึกษาภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีความรู้และทักษะปฏิบัติในการรักษา
พยาบาลเบื้องต้นไม่เพียงพอ โดยเฉพาะทักษะการตรวจร่างกาย การเขียนรายงานผู้ป่วย การวินิจฉัยแยกโรค การ ให้ยา และการช่วยฟื้นคืนชีพ และมีความต้องการให้มีการพัฒนาสมรรถนะในเรื่องดังกล่าว ดังนั้นควรเน้นการ
จัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางคลินิก ก่อนการฝึกปฏิบัติงาน รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศใน
ห้องฝึกปฏิบัติให้ใกล้เคียงกับการฝึกปฏิบัติที่โรงพยาบาลชุมชนมากที่สุดและจัดการเรียนการสอนที่เน้นการคิด
วิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

Downloads