ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลของผู้ป่วยหนักในการย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต
คำสำคัญ:
ความวิตกกังวลจากการย้าย, ผู้ป่วยหนัก, หอผู้ป่วยวิกฤตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างความรุนแรงของความเจ็บป่วย ระยะเวลาที่นอนรักษา ชนิดของการย้ายกับความวิตกกังวลจากการย้าย
ออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตของผู้ป่วยหนัก ในโรงพยาบาลมหาสารคาม จำานวน 90 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ
เจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเป็นแบบประเมินความวิตกกังวลจากการย้ายออกจากไอซียู ซึ่งมีค่าความ
เชื่อมั่นเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์อีตา
และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต มีความ
วิตกกังวลจากการย้ายโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 69.81, SD = 22.67) ความรุนแรงของความเจ็บป่วยมี
ความสัมพันธ์ทางบวกกับความวิตกกังวลจากการย้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.313, p < .05) ส่วนระยะเวลา
s
ที่นอนรักษาและชนิดของการย้ายไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลจากการย้าย (r .133, η = .313 ตามลำาดับ)
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้ป่วยหนักมีความวิตกกังวลจากการย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต พยาบาลควรหา
กลวิธีเพื่อลดความวิตกกังวลให้กับผู้ป่วยก่อนการย้ายออก
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว