สุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างแกนนำชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
สุขภาพจิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการทำางานในชมรมฯซึ่งเป็น
ประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสุขภาพจิตของแกนนำ
ในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 422 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ
จ.นครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ครั้งนี้ประกอบด้วยแบบสอบถาม
ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินระดับสุขภาพจิตใช้ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยฉบับสั้นหรือดัชนีชี้วัดสุขภาพ
จิตคนไทย (Thai Mental Health Indicator TMHI-15) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์
ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่าระดับภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นแกนนำชมรมฯส่วนใหญ่ 48.3% มีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป และ 37% มีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป มีเพียง 14.7% ที่มีสุขภาพจิตต่ากว่าคนทั่วไป ลักษณะผู้สูง
อายุที่มีระดับสุขภาพจิตตากว่าบุคคลทั่วไป ส่วนใหญ่อายุ 70-79 ปี พบทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีสัดส่วนความเท่าๆกันส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือและประกอบอาชีพค้าขาย มีรายได้น้อยกว่า 6,000 บาท ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมใน
ชมรมผู้สูงอายุ ควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพจิตกับบุคคลเหล่านี้ และข้อมูลพื้นฐานของผู้สูงอายุที่มี
ระดับสุขภาพจิตต่ำสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแนวทางการสร้างพลังอำนาจในตนเองให้มีสุขภาพจิตที่ดี
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว