ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชากรที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
โรคความดันโลหิตสูง, การเสริมสร้างพลังอำนาจ, พฤติกรรมสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองจากประชาชนที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป จากโรงพยาบาลบางปลาม้า ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 30 คน ใช้ระยะเวลา 3 เดือนในการเก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นตามแนวคิดของกิบสัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงหลังเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง มีระดับคะแนนความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ 0.001 ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อเสนอแนะให้บุคลากรที่ทำงานในการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน ควรมีการนำรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงไปใช้ โดยมีการกระตุ้นส่งเสริมให้ประชาชนมีการเสริมสร้างพลังอำนาจในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลสุขภาพไม่ให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง การสอนนักศึกษาพยาบาล ควรมีการสอดแทรกความรู้ของกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ ให้มีการพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์เกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพประชาชนต่อไป
Abtract
The purpose of this quasi-experimental research paper was to study on effect of the empowerment program in the prevention of hypertension disease. The sampling consisted 30 persons at risk that have been screened for hypertension disease at Bangplama hospital, Tambon Chokchram, Suphanburi province, over a three month period. The empowerment program is based on Gibson,s concept. Frequency, percentage, mean, standard deviation and paired t-test were used for data analysis.
The research results concluded that people with a risk of hypertension disease after participation in the empowerment program was statistical significantly higher than before entering the program at p-value 0.001. The finding from this study can be used to health promotion from public health officials and to teach nursing students for further development of these conclusions.
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว