บทบาทพยาบาล: ความท้าทายในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคปอดอักเสบในเด็กเล็ก

ผู้แต่ง

  • วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ
  • รุ่งตะวัน ม่วงไหมทอง
  • รุ่งทิพย์ เขาโคกกรวด
  • ลูกเกด เสนพิมาย
  • สาวิตรี พาชื่นใจ

คำสำคัญ:

การพยาบาล, การป้องกัน, ปอดอักเสบที่กลับเป็นซ้ำ, เด็ก, Nursing care, prevention, recurrent pneumonia, children

บทคัดย่อ

       บทความนี้เป็นการเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทพยาบาลในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคปอดอักเสบในเด็ก  0-5  ปี โดยมีการสืบค้นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากตำรา วารสาร และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ThaiLIS, ThaiJo, CINAHL  เอกสารอ้างอิง ใช้เอกสารทางวิชาการทุกประเภทที่ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ 2553 – 2557  สามารถสรุปประเด็นบทบาทพยาบาลต่อการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคปอดอักเสบในเด็กตามลำดับดังนี้   1) แนวทางการดูแลผู้ป่วยเด็กต่อเนื่องโดยใช้หลัก  D-Method โดยสอนเป็นรายบุคคล สาธิต ฝึกทักษะ และการเยี่ยมบ้าน   สื่อที่ใช้สอนเป็นคู่มือการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบได้แก่การให้ความรู้ในการสังเกตการหายใจที่ผิดปกติ การดูแลเด็กเมื่อไอ สอนการให้ยา การดูแลเด็กมีไข้ การสอนสาธิตการดูแลเด็กเมื่อมีน้ำมูกหรือเสมหะ การจัดสิ่งแวดล้อมในการดูแลเด็ก การดูแลอาหาร  การพักผ่อนนอนหลับ    การออกกำลังกาย  2) การสอนให้ความรู้ในการดูแลเด็กป่วย    ได้แก่  การสอนโดยการสาธิตเพื่อให้บิดามารดามีทักษะในการดูแล ในกิจกรรมการเช็ดตัวลดไข้ การดูแลเมื่อหายใจหอบ การดูดน้ำมูกและเสมหะด้วยลูกสูบยางแดง การสังเกตอาการที่ผิดปกติ การชี้แนะ    เปิดโอกาสให้บิดา  มารดาได้ซักถามข้อสงสัย   และร่วมแสดงข้อคิดเห็น  3) การส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน  ได้แก่  การให้ได้รับคำแนะนำและการชักจูงด้วยคำพูด    การถ่ายทอดประสบการณ์จากบุคคลอื่นที่ได้รับความ สำเร็จ   การได้รับข้อมูลเพื่อใช้พิจารณาความสามารถของตน   และการรับรู้สภาวะทางร่างกายและอารมณ์  ทั้งนี้สามารถนำไปพัฒนาการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคปอดอักเสบในเด็ก 0-5 ปี ต่อไปได้ในอนาคต


Challenging:  The Role of the Nurse in the Prevention of Recurrent Pneumonia in Children

Abstract

       The aim of this paper is to examine the role nurses play in the prevention of recurrent pneumonia in children from birth to five years old. The authors reviewed literature from books, journals and electronic databases such as ThaiLIS, Thai Jo, CINAHL, and academic publications between 2010 and 2014. The evidence suggests that the role of the Nurse in the prevention of recurrent pneumonia in children from birth and five years old is as follows

       1) Implement nursing practice guidelines using the D-Method for taking care of children by way of individual health care education, demonstrating nursing care, and home visits. A health education handbook was used where one could document observational evidence for respiratory rates of the child along with documenting care for coughing, running nose, nutrition, rest and exercise along with environmental observations.

       2) Provide health care education such as demonstration of tepid sponge, respiratory care, observe signs and symptoms, suggest and share with mothers 

       3) Encourage self-efficacy for caregiver by providing information and motivation, sharing experience from success person, provide information for assessment of self-efficacy, and evaluate physical and emotional status.  

Downloads