ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน วิชาวิจัยทางการพยาบาล ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พิศมัย อุบลศรี อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • จุฑาทิพย์ ศิรินภาดล อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ลออวรรณ อึ้งสกุล อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • อภิรดี สุขแสงดาว อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • สุหทัย โตสังวาล อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การเรียนการสอน, นักศึกษาพยาบาล, teaching&learning, nursing student

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การเรียนการสอนวิชาวิจัยทางการพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมาได้มีการปรับแผนการศึกษาขึ้นในปี 2551 โดยให้นักศึกษาพยาบาลเรียนวิชาวิจัยทางการพยาบาลในชั้นปีที่ 3 แทนการเรียนวิชานี้ในชั้นปีที่ 4 คณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงความพึงพอใจ  ปัญหาและอุปสรรค  ต่อการจัดการเรียนการสอน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่  3  เพื่อนำผลการศึกษามาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อไป กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แบบสอบถามความพึงพอใจ  ปัญหา  และอุปสรรค  ต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาวิจัยทางการพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา  (Content Validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ผ่านเกณฑ์การยอมรับ 2 ใน 3  ทดสอบค่าความเที่ยง (Reliability) ของเครื่องมือโดยวิธีทดสอบสัมประสิทธิ์อัลฟาของ ครอนบาชได้ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า ระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาวิจัยทางการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{X} = 4.31, SD = 0.23)  และรายด้านทั้ง 3 ด้านคือ ด้านการจัดการเรียนรู้  ด้านกระบวนการกลุ่ม และ ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก (\bar{X}= 4.41, SD = 0.27, \bar{X} = 4.45, SD = 0.31 และ \bar{X} = 3.57, SD = 0. 57 ตามลำดับ) ปัญหาอุปสรรคที่นักศึกษาพยาบาลพบในการเรียนคือระยะเวลาที่จำกัด แหล่งค้นคว้าน้อย และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : การเรียนการสอน, นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract

In 2008, the Borommarajonnani College of Nursing Nakhonratchasima changed the Nursing Research Course teaching plan. The nursing students learned Nursing Research Course in the third year instead of the fourth year. Because of the change, the researchers aimed to explore the satisfaction with, problems encountered, and barriers found in 3rd year nursing students learning Nursing Research Course. The results of this study will be used to develop future teaching strategies for this course. The participants were 40 nursing students. Instrument of this study was a questionnaire assessing satisfaction with, problem encountered, and barrier found in the Nursing Research Course. Content validity was approved by 2 out of 3 experts. The cronbach’s alpha coefficient for reliability was 91. The results showed that satisfaction with the Nursing Research Course management was at high level (\bar{X} = 4.31, SD = 0.23). Moreover, satisfaction for all 3 dimensions (course management, group process, and learning resources) were also at high level (\bar{X} = 4.41, SD = 0.27; \bar{X} = 4.45, SD = 0.31;  \bar{X} = 3.57, SD = 0.57 respectively). The problems in students’ learning were mainly with the learning time limitation, inadequate learning resources, and difficulties in using program for data analysis. The findings can be used for future improvements in the Nursing Research Course management.

Keywords : teaching&learning, nursing student

Downloads