ความชุกของโรคเบาหวานและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับโรคในศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง

ผู้แต่ง

  • นวลละออ วิวัฒน์วรพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • ทัศนีย์ ชลวิรัชกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • เดชา คนธภักดี นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความชุก, เบาหวาน, ปัจจัยเสี่ยง, ศูนย์สุขภาพชุมชน, prevalence, diabetes, risk factors, primary care unit

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา  เพื่อศึกษาความชุกของโรคเบาหวานและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวานของศูนย์สุขภาพชุมชนจอหอ  โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา  ประชากรในการศึกษาคือประชากรที่มีอายุ  40  ปีขึ้นไป  สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ  จำนวน  340  คน  เก็บข้อมูลในเดือนกุมภาพันธ์  2552  โดยใช้แบบสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวานกับปัจจัยเสี่ยงโดยใช้สถิติทดสอบไค-สแควร์ (\chi ^{2}–test) และวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบลอจีสติค (Multiple Logistic Regression) ผลการศึกษา  พบว่า ความชุกของโรคเบาหวาน ร้อยละ 14.70  อายุเฉลี่ยที่เป็นเบาหวาน 52 ปี + 8.9  เป็นเพศหญิงร้อยละ 68.00  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวานกับปัจจัยเสี่ยง  พบว่า  ภาวะอ้วน  ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง  และโรคความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value < 0.05)  มีค่า adjusted odds ratio  เป็น 3.0 (95% CI: 1.16-7.76) 2.5 (95% CI: 1.28-4.92) และ 2.78 (95% CI: 1.45-5.32)  ตามลำดับ  สรุปคือความชุกของโรคเบาหวานในศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง  ยังอยู่ในเกณฑ์สูง  และพบว่าภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วน  ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง  และความดันโลหิตสูง  เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรค  จากผลการวิจัยศูนย์สุขภาพชุมชนควรให้ความสำคัญกับการป้องกันปฐมภูมิด้วยการให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค  และการป้องกันทุติยภูมิด้วยการคัดกรองโรคแก่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในชุมชน

คำสำคัญ : ความชุก, เบาหวาน, ปัจจัยเสี่ยง, ศูนย์สุขภาพชุมชน

 

Abstract

This descriptive study aimed to determine the prevalence of diabetes mellitus and its associated risk factors. The target population were people 40 years old and above and lived in the responsibility area of Johor Primary care Unit (PCU), Maharat Nakon Ratchasima Hospital. The 340 people were systematically selected using a random sampling method. The survey was conducted in February 2009 by using interview guides. The collected data was statistically analyzed using percentage, mean, \chi ^{2}–test, and multiple logistic regression. The result found that the prevalence of diabetes mellitus was 14.70%, average age was 52+ 8.90, and 68.00% were female. Risk factors found associated with diabetes mellitus with a p < .05 were as  follows: obesity  (adjusted odds ratio = 3; 95% CI: 1.16–7.76), high cholesterol (adjusted odds ratio = 2.3; 95% CI: 1.28–7.92), and hypertension (adjusted odds ratio = 2.78; 95% CI: 1.45–5.32). In conclusion, the prevalence of diabetes mellitus was high in urban primary care setting. Obesity, high cholesterol, and hypertension are important factors associated with diabetes mellitus. Primary care units should implement primary and secondary prevention programs for risk reduction. The primary program should educate people to change high risk behaviors. The secondary program should screen people and seek early treatment for those in the community who have high risk factors.

Keyword : prevalence, diabetes, risk factors, primary care unit

Downloads