การจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาล ตามระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วย หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาล, ระบบการจำแนกผู้ป่วย, หอผู้ป่วยใน, nursing personal workload, patient classification systems, inpatient wardsบทคัดย่อ
บทคัดย่อปัจจุบันอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลในโรงพยาบาลขามสะแกแสงมีความขาดแคลนแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความขาดแคลนมากน้อยเพียงใด ผู้วิจัยจึงทำการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาเวลาที่บุคลากรพยาบาลหอผู้ป่วยใน ใช้ในการดูแลผู้ป่วยแต่ละประเภทในแต่ละเวรต่อวัน ศึกษาอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลหอผู้ป่วยใน ตามระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วย และเปรียบเทียบผลการศึกษาอัตรากำลังที่ควรจะเป็นกับอัตรากำลังที่มีอยู่จริง ตามระบบจำแนกประเภทผู้ป่วยของหอผู้ป่วยใน ประชากรคือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน 5 หอผู้ป่วย ในเดือนมิถุนายน 2553 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,800 คน ได้จากสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบบันทึกเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลของบุคลากรพยาบาลพัฒนาโดยสำนักการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความต้องการบุคลากรพยาบาลตามสูตรของสำนักการพยาบาล ผลการวิจัยพบว่า ในการปฏิบัติกิจกรรมโดยตรงต่อผู้ป่วยนั้น บุคลากรพยาบาลใช้เวลาในการดูแลผู้ป่วยหนักมากที่สุด (เฉลี่ย 1.64 ชั่วโมง) รองลงมาคือ ผู้ป่วยหนักมาก (เฉลี่ย 1.47 ชั่วโมง) ส่วนปริมาณเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมอื่นๆ คือ 2.43 ชั่วโมงต่อผู้ป่วย 1 คน อัตรากำลังบุคลากรพยาบาลที่เหมาะสมตามปริมาณงานจริงในแต่ละหอผู้ป่วยจำแนกตามประเภทผู้ป่วย คำนวณได้จำนวนรวม 123 ขณะที่การจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลหอผู้ป่วยในตามระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วยในปัจจุบันมีจำนวนรวมเพียง 44 คน คิดเป็นร้อยละ 35.77 ของอัตรากำลังบุคลากรพยาบาลที่เหมาะสมตามปริมาณงานจริง
คำสำคัญ : การจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาล, ระบบการจำแนกผู้ป่วย, หอผู้ป่วยใน
Abstract
Presently Khamsakaesaeng hospital is experiencing a shortage of nursing personnel, but a little is known how sever the problem is. The purpose of this survey research is to study nursing activities in inpatient departments comparing proper and actual workloads for determining needed nursing personnel. Time used to care for patients in each class and shift per day was explored to determine workload based on patient classification systems in the inpatient departments. Patients’ data was collected from five inpatient wards of Khamsakaesaeng hospital in June 2010. Eighteen hundred participants were randomly selected. The data was collected in accordance with the time used for direct and indirect nursing activities, utilizing the time assessment tool developed and validated by the Nursing Department, Ministry of Public Health. The data was analyzed using frequency, percentage, average mean, and a formula developed and published by the Nursing Department for calculating workload. The results showed the highest average time used for direct nursing activity was for semi-critical ill patients (1.67 hours) and then for critical ill patients (1.47 hours). Average hours needed for other activities was 2.43 hours per patient. The total number of nursing personnel needed for actual workload based on patient classification systems and the calculated formula was 123. While the current number of nursing personnel working is 44. The result indicates that only 35.77 percent of nursing personnel needed are being used according to actual workload.
Keywords : nursing personal workload, patient classification systems, inpatient wards
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว