พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กฤษณา คำลอยฟ้า พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, diabetic patient, self care behavior

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของปัจจัยส่วนบุคคลในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคเบาหวาน  ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแก้งสนามนาง  อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 286  คน  โดยการสุ่มแบบง่าย  รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน  มีค่าความเชื่อมั่น  .88  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t-test, One  way ANOVA  และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี  Scheffe’s ผลการวิจัยพบว่า  ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 72.4  มีอายุ  60  ปีขึ้นไปร้อยละ 41.3 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 77.3  ระดับการศึกษาประถมศึกษาร้อยละ 88.1  อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 59.4  รายได้เฉลี่ย 5,001 – 10,000  บาทร้อยละ 48.6   และระยะเวลาที่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวาน  1 – 5 ปีร้อยละ 44.8  พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก  (M =4.09, SD = .38)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  พบว่าด้านร่างกายอยู่ในระดับมาก  (M = 3.92, SD = .53)  ด้านจิตใจ  อารมณ์และสังคมอยู่ในระดับมาก  (M = 4.08, SD = .68)  ด้านการป้องกันภาวะแทรกซ้อนอยู่ในระดับมาก  (M = 3.83, SD = .70)และด้านการรักษาอยู่ในระดับมากที่สุด  (M = 4.53, SD = .51)  และเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง  ผู้ป่วยโรคเบาหวานกับลักษณะบุคคล  โดยใช้การวิเคราะห์ความแตกต่างด้วย  t-test  และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA)  พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาชีพ  และระยะเวลาที่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวานที่ต่างกันมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001  ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการป้องกันภาวะแทรกซ้อนอยู่ในระดับต่ำที่สุด ดังนั้นพยาบาลควรให้ความสำคัญกับการให้สนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะช่วยให้มีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

คำสำคัญ : พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง,  ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

Abstract

The aims of this descriptive research were to explore self care behaviors and factors related self care behaviors of 286 patients with diabetes mellitus at the Diabetes Mellitus Clinic of Kangsanamnang Hospital, Kangsanamnang District, Nakhon Ratchasima Province who were random sampling. Self care behaviors questionnaire with 0.88 reliability was used to collect data. The personal and general data were analyzed by using descriptive statistics included frequency, percentage, average, standard deviation. The differences between groups are compared with T-test, One way ANOVA and Scheffe’s. According to the study, most of the participants were female (72.4%), aged over sixty years (41.3%),  married (77.3%), finished primary school (88.1%), being agriculture (59.4%), earned income 5,001-10,000 baht (48.6%) and getting diabetes between 1-5 years (44.8%). The overall self care behavior of those with diabetes were at the must level (M =4.09, SD = .38), physical, psychosocial, and prevented complications dimension was at the must level with mean score at 3.92 (SD = .53), 4.08 (SD = .68), and 3.83 (SD = .70) respectively. Whereas treatment dimension was at the most level (M = 4.53, SD = .51)  . The mean score of self care behaviors were statistically significant difference regarding the participants’ occupation and duration of illness (p< .001). Based on the findings that the mean score of prevented complication behaviors of the participants  was the lowest, nurses should support patients with diabetes to develop this dimension of self care which can promote a better health status.

Keywords : diabetic patient, self care behavior

Downloads