กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเกาะต่ำและช็อค ที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปเพื่อผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
คำสำคัญ:
การให้ยาระงับความรู้สึก, ช็อค, ผ่าตัดคลอด, รกเกาะต่ำบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ภาวะรกเกาะต่ำในสตรีตั้งครรภ์เป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะเลือดออกในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของมารดาในประเทศไทย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับการผ่าตัดและการดมยาสลบ หรือการฉีดยาชาเข้าทางไขสันหลัง โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีผู้ที่มีภาวะรกเกาะต่ำและช็อค แล้วได้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป เพื่อผ่าตัดคลอดทางหน้า จำนวนเฉลี่ย 331 รายต่อเดือน ผู้เขียนจึงได้นำเสนอบทความนี้เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับทีมสหสาขาวิชาชีพทางด้านสุขภาพ เช่น สูติแพทย์ และ วิสัญญีพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยจากการรักษาพยาบาล กรณีศึกษาเป็นหญิงไทย อายุ 16 ปี อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ มาด้วยอาการมีเลือดออกทางช่องคลอด 3 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล ความดันโลหิตแรกรับ 99/49 มม.ปรอท แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น placenta previa totalis จึงรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ต่อมาพบว่าความดันโลหิตต่ำลงเรื่อยๆ สูติแพทย์จึงตัดสินใจผ่าท้องทำคลอดโดยยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป จากกรณีศึกษาผู้ศึกษาได้วินิจฉัยการพยาบาลเป็น 3 ระยะ คือ ในระยะก่อนการผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัด และระยะหลังการผ่าตัด หลังผ่าตัดผู้ป่วยได้พักรักษาอาการที่หอผู้ป่วยสูติกรรม ผลจากการพยาบาลพบว่า ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยสามารถดำรงชีวิตที่บ้านได้ตามปกติ ส่วนทารกเป็นทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัว 1,410 กรัม มีปัญหาเรื่องต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ หลังให้การรักษาพยาบาล อาการไม่ดีขึ้นเสียชีวิต จากการให้ข้อมูลการพยากรณ์โรคก่อนผ่าตัด และขณะรับการรักษาจากวิสัญญีพยาบาล สูติแพทย์ และกุมารแพทย์ ได้โทรศัพท์แจ้งญาติทุกครั้งที่มีอาการเปลี่ยนแปลง บิดา-มารดา และญาติ รับรู้ เข้าใจ และพึงพอใจต่อการักษาพยาบาล
คำสำคัญ : การให้ยาระงับความรู้สึก, ช็อค, ผ่าตัดคลอด, รกเกาะต่ำ
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว