พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สายสวาท เผ่าพงษ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • อุไรรักษ์ คัมภิรานนท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • สิริเพ็ญโสภา จันทรสถาพร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล, health behavior, nursing student

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยบรมราชชนนี นครราชสีมา  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่  1 2  3 และ  4  ในภาคการศึกษาที่  1  และภาคการศึกษาที่  2  ปีการศึกษา  2552  จำนวน  638  คน  ซึ่งพักอยู่ในหอพักของวิทยาลัย  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ แบบประเมินสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  และแบบประเมินระบบดูแลสุขภาพ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่น .56  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 3B 3C และ 4 มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี แต่นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 และ 3A มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ สภาพแวดล้อมทางกายภาพของวิทยาลัยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพแวดล้อมทางจิต/สังคมอยู่ในระดับดี สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพแวดล้อมทางจิตหรือสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .74, r = .83, p <.01) ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปพัฒนาให้นักศึกษามีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้นและพัฒนาสภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : พฤติกรรมสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล

Abstract

This research aimed to study the healthy behaviors of nursing students at Boromarajonani  College of Nursing Nakhonratchasima. The sample was 638 students from the first, the second, the third and the fourth level class. In addition they studied in the first and the second semester in the academic year of 2009. Data were collected by a questionnaire which was developed by the researcher and the total reliability was. The results revealed as follow: the average scores of healthy behaviors of the first level, the section B and the section C in the third level and the fourth level class were good, but the second level and the section A in the third level class were fair. The average scores of physical environment of all students were good. It was found that there was positive statistically significant correlation between physical environment and healthy behaviors (r = .744, p <.01). Likewise there was positive statistically significant correlation between psychosocial environment and healthy behaviors. (r = .83, p < .01) The results of this study can be used as a guideline improve nursing students’ health behavior and develop environment of dormitory.

Keywords : health behavior, nursing student

Downloads